Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/225
Title: | การศึกษาสารการตกตะกอนแบเรียมโครเมทที่สภาวะสมดุล จากสารละลายที่มีแคทอิออนนิกพอลิอิเล็คโตรไลท์ : รายงานฉบับสมบูรณ์ |
Authors: | จินตนา สายวรรณ์ |
Email: | Chintana.Sa@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี |
Subjects: | ไอออน การตกตะกอน อัลตราฟิลเตรชัน การตกผลึก โลหะหนัก |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาสมดุลของการตกตะกอนแบเรียมโครเมตจากสารละลายที่มีแคทไอออนนิกพอลิอิเล็กโตรไลต์ (หรือคอท) ได้ศึกษาโดยเติมสารละลายแบเรียมคลอไรด์ลงในสารละลายโครเมต-พอลิอิเล็กโตรไลต์ ที่มีคอทเข้มข้น 0.00, 0.20, 0.30, และ 0.40 โมลาร์ โดยใช้อัตราส่วนความเข้มข้นของแบเรียม ต่อโครเมตไอออนเป็น 2:1 การทดลองทำในคริสตัลไลเซอร์คอลัมน์ที่มีการควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซียลเซียส (ยกเว้น การหาเวลาของสมดุลที่ทำในหลอดทดลอง) และใช้ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการกึ่งกะและกระบวนการต่อเนื่อง มีตัวแปรของการทดลอง คือ อัตราการไหล ความสูงของสารละลาย และอัตราส่วนความเข้มข้นของแบเรียมต่อโครเมต พบว่า สมดุลของการตะกอนแบเรียมโครเมตเกิดขึ้นเร็วมาก มีปริมาณโครเมตไอออนที่สมดุลอยู่ในสารละลายโดยเฉลี่ย 0.16 มก. ต่อ ลิตร และ 1.54-1.64 มก. ต่อ ลิตร เมื่อมีคอทอยู่ในสารละลายเข้มข้น 0.00 และ 0.20-0.40 ตามลำดับ อัตราการไหลและความเข้มข้นของคอทในสารละลายเริ่มต้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อการแพร่กระจายของผลึกแบเรียมโครเมตและคอท ความเข้มข้นมีอิทธิพลที่อัตราการไหลต่ำ อัตราการไหลสูง (เกิน 10 มล. ต่อ นาที) ปริมาณผลึกแบเรียมโครเมตและคอทที่ได้จากกระบวนการต่อเนื่องค่อนข้างคงที่ในขณะที่ปริมาณผลึกและคอทจากกระบวนการกึ่งกะมีการเพิ่มอย่างต่อเนื่องตามอัตราการไหล การเพิ่มความสูงของคอลัมน์ลดปริมาณผลึกและคอทลง ปริมาณผลึกแบเรียมโครเมต คอท และโครเมตไอออนจากกระบวนการต่อเนื่องมีค่าคงที่เมื่อเพิ่มความสูงของคอลัมน์ ในขณะที่กระบวนการกึ่งกะแสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลึกและคอทตามการเพิ่มความสูงของคอลัมน์ ณ ที่สภาวะการศึกษาเดียวกัน และสารละลายคอทเริ่มต้นเข้มข้น กระบวนการต่อเนื่องให้ปริมาณผลึกแบเรียมโครเมตต่ำกว่ากระบวนการกึ่งกะเล็กน้อย แต่ให้ปริมาณคอทมีค่าใกล้เคียงกัน |
Other Abstract: | Study of equilibrium precipitation of barium chromate form an aqueous solution containing a cationic polyelectrolyte (or quat) was done by adding barium chloride solution into the solution of chromate-polyelectrolyte, which quat concentrations were 0.00, 0.20, 0.30, and 0.40 M, at the concentration ration of barium to chromate equal 2:1. The experiments were done in a crystallizer column which its temperature was controlled at 30?C, except the study of equilibrium time was done in test tubes. Two processes, semi-batch and continuous were used and the solution flow rate (4-14 ml/min), crystallizer height (33-83 cm.), and the ratio of barium to chromate (1:1 to 2.5:1) were varied. It is found that equilibrium of precipitation occurs very fast, and CrO4 = found in supernatant are 0.16 ppm, and 1.54-1.64 ppm when the starting solutions containing quat 0.00 and 0.20-0.40 M, respectively. The flow rate and quat concentration in the starting solution are important factors for distribution of amount of barium chromate crystal and quat. The quat concentration in the starting solution has strong influence at low flow rate. Increase of the crystallizer height reduces the amount of crystal and quat. The amount of crystal and quat obtained from the continuous process at high flow rate (greater than 10 ml/min) is rather constant, while the semi-batch process in increase continuously as the flow increases. Increase of the crystallizer height generally reduces the amount of crystal and quat. The continuous process gives constant amount of crystal, quat, and chromate ion, while the semi-batch shows continuous change. Furthermore, the continuous process gives lower barium chromate crystal, but similar amount of quat. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/225 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Petro - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jintana(equ).pdf | 9.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.