Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/226
Title: | การดูดซับของก๊าซธรรมชาติและน้ำโดยอลูมินาที่เตรียมโดยวิธี Sol-gel |
Authors: | ปราโมช รังสรรค์วิจิตร |
Email: | pramoch.r@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี |
Subjects: | ก๊าซธรรมชาติ การดูดซับ อะลูมินัมออกไซด์ โซล-เจล |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กระบวนการกำจัดน้ำออกจากก๊าซธรรมชาติเป็นกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่งในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในงานวิจัยี้ได้นำสารดูดซับอลูมินาซึ่งสังเคราะห์โดยวิธีโซล-เจล (sol-gel) มาศึกษาสมบัติในการดูดซับน้ำจากก๊าซธรรมชาติ ผลการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพพบว่าสารดูดซัลอลูมินาที่สังเคราะห์ได้มีรูพรุนขนาดเล็กมากและเมื่ออบให้ความร้อนดังกล่าวที่อุณหภูมิสูงทำให้ค่าพื้นผิวภายในรูพรุนของสารนี้ลดลง ในการทดลองการดูดซับน้ำของอลูมินาพบว่าอลูมินามีความสามารถในการดูดซับน้ำได้สูงและใช้อุณหภูมิต่ำในการอบเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ จากผลการทดลองสามารถยืนยันได้ว่าในการดูดซับน้ำของอลูมินานั้นมีการกลั่นตัวของไอน้ำเกิดขึ้นภายในรูพรุนของอลูมินา การกำจัดน้ำที่ถูกดูดซับอยู่ภายในรูพรุนนั้นสามารถกำนัดได้ง่ายด้วยการอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จากการทดลองเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำและก๊าซธรรมชาติพบว่าอลูมินาสามารถดูดซับน้ำได้มากกว่าก๊าซธรรมชาติ ในช่วงแรกของการทดลองอลูมินาสามารถดูดซับก๊าซธรรมชาติไว้ได้ส่วนหนึ่งแต่ต่อมาโมเลกุลของน้ำได้เข้าแทนที่โมเลกุลของก๊าซธรรมชาติทั้งนี้เนื่องจากความสามารถของน้ำในการดึงดูกอิเลคตรอนที่ผิวของอลูมินามีมากกว่า |
Other Abstract: | Crude natural gas dehydration is one of the most important processes in petrochemistry industry. In this work, a sol-gel alumina was used to remobe water from a simulated natural gas stream. Sol-gel alumina achueved its purposed via the hydrolysis of aluminum alkoxide at 86 degree celsius. The results showed that the sol-gel alumina prepared by this technique was a microporous alumina having a high surface area. In addition, calcinationn of this alumina at high temperature yield lower surface area. Interestingly, this sol-gel alumina provided a high water adsorption acpacity and low desorption temperature. It can be postulated that condensation of water, which requires less energy for desorption, must take place in the adsorption step. Desorption of water moleculaes was easy at 100 degree cesius, inceluding that bonding between alumina surface and water molecule was not so strong. For the competitive adsorption between hydrocarbons and water, it was found that the sol-gel alumina prederentially adsorbed water to hydrocarbons. At the beginning pf adsorptionn process, hydrocarbons were adsorbed on the alumina surface, but were later desorbed by the replacement of water molecules, which possess higher affinity to alumina than hydrocarbons. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/226 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Petro - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pramoch(sol).pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.