Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22625
Title: การทำนายและการทำความเข้าใจ เจตนาและพฤติกรรมการให้นมบุตรของมารดา ตามแนวทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล
Other Titles: Predicting and understanding mothers' infant feeding intentions and behaviors according to the theory fo reasoned action
Authors: อัจฉราพร สุวรรณฑล
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเชื่อ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง เจตนาเชิงพฤติกรรมของหญิงมีครรภ์ และพฤติกรรมการให้นมบุตรของมารดาในระยะหลังคลอด โดยนำทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของฟีชไบน์และไอเซนเป็นหลักในการสร้างเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง เจตนาเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมการให้นมบุตร ผลจากการนำแบบสอบถามไปทดลองใช้พบว่า แบบสอบถามนี้มีค่าความเที่ยงตั้งแต่ .63 ถึง .89 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ กลุ่มหญิงมีครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในระยะ 36 สัปดาห์ขึ้นไปที่มาฝากครรภ์ ณ หน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 302 คน และติดตามเก็บข้อมูลพฤติกรรมการให้นมบุตรในระยะ 1 เดือนแรกเกิดได้จำนวน 195 คน สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติต่อชนิดของการให้นมบุตร มีความสัมพันธ์ (r = .33) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 กับผลรวมทั้งหมดของผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับผลของการกระทำ และการประเมินผลกรรมนั้น 2. การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในชนิดของการให้นมบุตร มีความสัมพันธ์ (r = .42) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 กับผลรวมทั้งหมดของผลคูณของความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง และแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงนั้น 3. ทัศนคติต่อชนิดของการให้นมบุตร ร่วมกับการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในชนิดของการให้นมบุตร สามารถทำนายเจตนาเชิงพฤติกรรมในชนิดของการให้นมบุตรได้ย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (R = .34) และพบว่าองค์ประกอบทัศนคติต่อชนิดของการให้นมบุตรมีบทบาทต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมในชนิดของการให้นมบุตรมากกว่าองค์ประกอบการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในชนิดของการให้นมบุตร (W₁ = .28, W₂ = .11) 4. เจตนาในชนิดของการให้นมบุตรสามารถทำนายพฤติกรรมการให้นมบุตรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .12)
Other Abstract: The purpose of this research was to study pregnant women's beliefs, attitude, subjective norms, behavioral intentions and behaviors in mothers' infant feeding according to the Theory of Reasoned Action of Fishbein and Ajzen. The instrument in this research was the questionnaire on attitudes, subjective norms, behavioral intentions and behaviors in infant feeding. The reliability of various parts of the questionnaire were in the range of .63 to .89. The sample included three hundred and tow nine-month pregnant women who attended the antenatal clinic at Siriraj Hospital. From these mothers, one hundred and ninety five reported their infant's feeding practice during the period of one month after delivery. The data were analysed by using Pearson's correlation and the multiple regression. The results indicate that : 1. Mothers' attitudes toward infant feeding behavior significantly (r = .33, P < .001) correlate with the sums of the products between behavioral beliefs and the corresponding evaluation of consequences. 2 Mothers' subjective norms concerning infant feeding behavior significantly (r = .42, P < .001) correlate with the sums of the products between normative beliefs and the corresponding motivations to comply. 3. Mothers' attitudes toward infant feeding behavior and subjective norms concerning infant feeding behavior, together, can significantly (r = .34, P < .001) predict mothers' infant feeding behavioral intentions. Moreover, attitudes influence behavioral intentions more than subjective norms (W₁ = .28, W₂ = .11). 4. Mothers' infant feeding intentions can significantly (r = .12, P < .05) predict mothers' infant feeding behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22625
ISBN: 9745667005
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ajcharaporn_su_front.pdf438.78 kBAdobe PDFView/Open
ajcharaporn_su_ch1.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
ajcharaporn_su_ch2.pdf511.64 kBAdobe PDFView/Open
ajcharaporn_su_ch3.pdf517.91 kBAdobe PDFView/Open
ajcharaporn_su_ch4.pdf488.98 kBAdobe PDFView/Open
ajcharaporn_su_ch5.pdf330.28 kBAdobe PDFView/Open
ajcharaporn_su_back.pdf870.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.