Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2268
Title: แบบจำลองการพิจารณาค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ถนน เนื่องจากผลกระทบจากการก่อสร้างโดยวิธีการเช่าพื้นที่ถนน และการประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างของราชการ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Evaluation model of road user costs due to the impacts of construction by lane rental method and its application in public construction
Authors: วิศณุ ทรัพย์สมพล
Email: wisanu.s@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
Subjects: ถนน--การก่อสร้าง
ผู้ใช้ถนน--ค่าใช้จ่าย
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในเขตเมืองโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นการขยายระบบเดิม หรือเป็นการปรับปรุงซ่อมแซมระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว จึงมักส่งผลกระทบต่อการจราจรหรือพื้นที่ถนนเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิธีการเช่าพื้นที่ถนน (Lane Rental) เป็นแนวทางหนึ่งในการลดผลกระทบดังกล่าว โดยคิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ถนน เนื่องจากผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง มาเป็นพื้นฐานในการคิดค่าเช่าพื้นที่ถนนจากผู้รับจ้างเมื่อต้องปิดช่องการจราจรในระหว่างการก่อสร้าง ดังนั้นการพัฒนาแบบจำลองในการประเมินค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นของผู้ใช้ถนนจึงมีความสำคัญในการนำแนวทางการเช่าพื้นที่ถนนไปประยุกต์ใช้ได้จริง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ถนนเนื่องจากผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง ในแบบจำลองของงานวิจัยนี้ จะคิดจากค่าใช้จ่ายในการใช้รถ (Vehicle Operating Costs) และความสูญเสียด้านเวลาในการเดินทางของผู้ใช้รถ (Driver Delay Costs) ที่เพิ่มขึ้นจากความแตกต่างของความเร็วก่อนการก่อสร้างและระหว่างการก่อสร้างโครงการ โดยปัจจัยที่มีผลทำให้ความเร็วเปลี่ยนแปลง คือ ปริมาณการจราจร จำนวนช่องทางการจราจร ความกว้างช่องทางการจราจร ชนิดของเกาะกลางถนน ระยะจากขอบถนนถึงไหล่ทาง และระยะจากขอบถนนถึงเกาะกลางถนนที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพถนนเดิม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา โครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 โครงการ พบว่าผลกระทบต่อผู้ใช้ถนนจากการปิดช่องทางจราจร 1 ช่องทางในช่วงเวลากลางวันโดยเฉลี่ยมีมูลค่าเท่ากับ 13,389 บาท/ชม/กม ขณะที่ผละกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนโดยเฉลี่ยมีมูลค่าเท่ากับ 1,200 บาท/ชม./กม. ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนี้สามารถนำมาเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการกำหนดอัตราค่าเช่าพื้นที่ถนนและเป็นแนวทางในการนำวิธีการเช่าพื้นที่ถนนมาประยุกต์ในการทำสัญญาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน วิธีนี้จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับจ้างเลือกใช้เทคนิคและวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม ตลอดจนมีการวางแผนงานก่อสร้างที่ดี เพื่อให้มีการปิดช่องทางจราจรที่จำเป็นเท่านั้น
Other Abstract: There is an increase in the number of infrastructure that need maintenance, repair, rehabilitation, or reconstruction, especially in the urban area. These types of projects cause the major impact to the traffic such as lane closure. The lane rental is an alternative to minimize the impact during the construction. In this method, the contractor would be charged for lane closure as the amount of lane rental fee. The fee is calculated based on the increasing of road user costs due to lane closure during the construction. The model in this research calculates the increasing of road user costs the construction based on the increasing of vehicle operating costs and driver delay costs due to the change in speed before and during the construction. Parameters affecting speed are traffic volume, number of traffic lane, lane width, median type, and lateral clearance. From the analysis of eight of infrastructure projects in Bangkok, the impact to road users due to one lane closure during the daytime by average is 13,389 baht/hr/km., while the impact during the nighttime is 1,200 baht/he./km.. These values of impact can be uses as the basis to define lane rental fee. The lane rental method can be implemented to public construction during the contractor selection by adding a provision to the traditional contract. This method encourages the contractor to use the advance technology and construction method as well as the good construction planning in order to minimizing lane closure.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2268
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisanu(eva).pdf9.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.