Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/227
Title: | การดูแลเด็กในประเทศไทย : ตัวกำหนดและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน : โครงการวิจัย |
Other Titles: | Child care in Thailand : determinants and health consequences for pre-school aged children |
Authors: | เกื้อ วงศ์บุญสิน เมสัน,แคเรน ออฟเพนไฮม์ มินจา, คิม โชว์ |
Email: | kua.w@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ East-West Population Institute East-West Center |
Subjects: | เด็กวัยก่อนเข้าเรียน--การดูแล--ไทย เด็กวัยก่อนเข้าเรียน--ไทย เด็ก--การดูแล--ไทย |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เพื่อศึกษาตัวกำหนดและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน แยกตามวิธีที่เด็กได้รับการดูแล การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลของเด็กที่เกิดจากสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ถูกสุ่มมาอย่างเป็นระบบในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเป็นตัวแทนของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า การดูแลโดยบุคคลอื่นนอกเหนือจากการดูแล โดยมารดามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลจากปัจจัยหลายปัจจัยรวมกันกล่าวคือ การลดลงของภาวะเจริญพันธุ์ การที่สตรีมีการศึกษาสูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของอัตราการมีส่วนร่วมในการทำงานของสตรี อย่างไรก็ตามแม้ว่าแนวโน้มการเลี้ยงดูเด็กโดยบุคคลอื่นมีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การศึกษาครั้งนี้ก็ยังพบว่ามารดาเป็นผู้ดูแลเด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบเอง ในอัตราร้อยละ ที่สูงกว่าการดูแลโดยบุคคลอื่น สำหรับเด็กในช่วงอายุ 3-5 ปี การศึกษาครั้งนี้พบว่า ร้อยละที่มารดาดูแลบุตรเองกับที่เด็กเรียนอยู่ในโรงเรียนอนุบาลมีอัตราร้อยละใกล้เคียงกัน การจัดการเกี่ยวกับผู้ดูแลเด็กโดยทั่วไปจะสัมพันธ์กับอายุของเด็ก การทำงานของมารดา และสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมของมารดา กล่าวคือ มารดาที่มีสถานภาพการทำงานในระดับสูง จะดูแลบุตรเองน้อยกว่ามารดาที่ไม่ได้ทำงานหรือทำงานในสถานภาพที่ต่ำกว่า เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของผู้ดูแลเด็กกับสุขภาพอนามัยของเด็กการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการเจ็บไข้ได้ป่วยกับประเภทของผู้ดูแลเด็ก อย่างไรก็ตาม ผลของการศึกษาดังกล่าวอาจจะเป็นเพราะตัวแปรที่ใช้วัดการเจํบไข้ได้ป่วยอาจจะครอบคลุมไม่เพียงพอ |
Other Abstract: | Data from a probability sample of children of mothers of reproductive age residing in metropolitan Bangkok, Thailand, in 1990 are used to explore the determinants and health consequences of alternative child care arrangements for preschool-aged children. Non-maternal child care arrangements have become more common over time in Bangkok, a change that is attributable to some combination of declining fertility, rising educational attainment of women, and increased female labor force participation rates. Despite the trend over time, the predominant arrangement for children in the first three years of life remains care by the mother. Among older preschool-aged children (aged 3-5), however, attendance at kindergartens and other early schools is as common as is care by the mother. Child care arrangements vary systematically not only by child's age, but also by the mother's employment and socio-economic status, with employed, higher status women generally providing less care themselves than their non-employed or lower status counterparts. There is no evidence that the type of child care currently being used contributed to children's acute illnesses, although the lack of a relationship may the nature of the measures used. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/227 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kua_childc.pdf | 18.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.