Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22723
Title: | ผลของการใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก และทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Effects of using four-step constructivist teaching model on concepts of earth-shaping processes and manipulating and communicating data skills of lower secondary school students |
Authors: | มาลีรัตน์ กระต่ายทอง |
Advisors: | วัชราภรณ์ แก้วดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Watcharaporn.K@Chula.ac.th |
Subjects: | ทฤษฎีสรรคนิยม วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ Constructivism (Education) Science -- Study and teaching (Secondary) Science process skills |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างก่อนกับหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ กับกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนกับหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ 4) เปรียบเทียบทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ กับกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้อง โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ และกลุ่มเปรียบเทียบ 1 ห้อง เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.49-0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.23-0.67 และ 2) แบบวัดทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.26-0.68 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.39-0.63 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังเรียน สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลหลังเรียน สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ |
Other Abstract: | This study was a quasi-experimental research. The purposes of this research were to1) compare concepts of earth-shaping processes of lower secondary school students before and after learning by using four-step constructivist teaching model, 2) compare concepts of earth-shaping processes of lower secondary school students after learning between group learning by using four-step constructivist teaching model and conventional teaching method 3) compare manipulating and communicating data skills of lower secondary school students before and after learning by using four-step constructivist teaching model 4) compare manipulating and communicating data skills of lower secondary school students after learning between group learning by using four-step constructivist teaching model and conventional teaching method. The samples were 2 classes of eighth grade student in academic year 2011 in Huahin Vithayalia School. These samples were divided into two groups; one was an experimental group, and another was a comparative group. The research instruments were 1) earth-shaping processes concepts test with the level of reliability at 0.92, the level of difficulty between 0.49-0.77, and the level of discrimination between 0.23-0.67, 2) manipulating and communicating data skills test with the level of reliability at 0.85, the level of difficulty between 0.26-0.68, and the level of discrimination between 0.39-0.63. The collected data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The experimental group’s average scores of posttest in concepts of earth-shaping processes were higher than pretest scores. 2. The experimental group’s average scores of posttest in concepts of earth-shaping processes were higher than the comparative group. 3. The experimental group’s average scores of posttest in manipulating and communicating data skills were higher than pretest scores. 4. The experimental group’s average scores of posttest in manipulating and communicating data skills were higher than the comparative group. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22723 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.961 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.961 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
maleerat_kr.pdf | 8.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.