Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22792
Title: การพัฒนากระบวนการผลิตเม็ดยูเรเนียมไดออกไซด์ โดยวิธีโลหะวิทยาแบบผงอัด
Other Titles: Development of a production process for uranium dioxide pellets by powder matallurgy method
Authors: อาคม สันติรณนรงค์
Advisors: ชยากริต ศิริอุปถัมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทดลองผลิตเชื้อเพลิงยูเรเนียม ไดออกไซด์ โดยวิธีโลหะวิทยาแบบผงอัด และผลิตผ่านสารประกอบ แอมโมเนียม ไดยูเรเนต พบว่าเงื่อนไขที่ดีที่สุดในการเตรียมตะกอนของแอมโมเนียม ไดยูเรเนต คือใช้สารรละลายยูเรนิลไนเตรดเข้มข้น 120 กรัมยูเรเนียม ต่อลิตร ทำปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่องกับสารละลายแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 27 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 50 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของปฏิกิริยาไว้ที่ 8.0 แล้วนำตะกอนที่ได้ไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส นาน 36 ชั่วโมง นำมาเผาในบรรยากาศที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส นาน 8 ชั่วโมง จะได้ผงยูเรเนียมไตรออกไซด์ นำไปรีดิวช์ที่อุณหภูมิ 630 องศาเซลเซียส นาน 20 ชั่วโมงในบรรยากาศของไฮโดรเจน/อาร์กอน จะได้ผงยูเรเนียมไดออกไซด์ แล้วนำเอาผงยูเรเนียมไดออกไซด์ที่ได้นี้มาอัดเม็ด โดยใช้ ไนโอเบียมออกไซด์ 0.3 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักเป็นตัวประสาน และใช้กรดสเทียริก 0.2 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก เป็นตัวหล่อลื่น โดยอัดด้วยแรง 5 ตันต่อตารางเซนติเมตร จากนั้นทำการเผาประสานที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศของไฮโดรเจน/อาร์กอน/คาร์บอนไดออกไซด์ นาน 20 ชั่วโมง ก็จะได้เม็ดเชื้อเพลิงยูเรเนียม ไดออกไซด์ ที่มีความหนาแน่ 90.05 เปอร์เซ็นต์ของค่าความหนาแน่นทางทฤษฎีและมีค่าอัตราส่วนของออกซิเจน และยูเรเนียม เท่ากับ 2.03
Other Abstract: A production process for uranium dioxide fuel pellets by powder metallurgical method via ammonium diuranate was developed. The optimum conditions to produce ammonium diuranate precipitates were found to be : 120 gU/l uranyl nitrate solution reacted continuously with 27% ammonium hydroxide solution, the final pH was controlled at 8.0 and temperature of 50℃. The precipitates were dried at 110℃ for 36 hrs and then calcined in air to produce UO3 at 350℃. UO3 was then reduced in Hydrogen/Argon for hrs at 630℃ to produce UO2 powder which was subsequently pressed (after thouroughly mixed with 0.3% by weight Nb2O5 as binder and 0.2% by weight stearic acid as lubricant) to compact pellets at 5 ton/cm2. Sintering of the compacted pellets was done at 1200℃ for 20 hrs in Hydrogen/Argon and Carbondioxide atmosphere. The sintered UO2 pellets obtained gave density of 90.05 percent of the theoretical density with O/U ratio of 2.03.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22792
ISBN: 9745667234
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arkom_sa_front.pdf449.26 kBAdobe PDFView/Open
arkom_sa_ch1.pdf359.72 kBAdobe PDFView/Open
arkom_sa_ch2.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
arkom_sa_ch3.pdf703.24 kBAdobe PDFView/Open
arkom_sa_ch4.pdf775.05 kBAdobe PDFView/Open
arkom_sa_ch5.pdf343.89 kBAdobe PDFView/Open
arkom_sa_back.pdf772.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.