Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2298
Title: การลดอุณหภูมิวัสดุปูพื้นภายนอกอาคารโดยวิธีการระเหย
Other Titles: Exterior surfae temperature reduction through evaporation process
Authors: เลิศลักษณ์ วุฒิสุวรรณ, 2517-
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Soontorn.B@Chula.ac.th, soontorn@asia.com
Subjects: วัสดุปูพื้น
อุณหภูมิ
ความร้อน -- การถ่ายเท
สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความร้อนจากสิ่งแวดล้อมรอบอาคาร เกิดจากรังสีของดวงอาทิตย์สะสมที่วัสดุปูพื้นภายนอกอาคาร ส่งผลทําให้อากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น การใช้นํ้ ามาระเหยผ่านวัสดุ เพื่อให้นํ้าทําหน้าที่เป็นตัวกลางดึงความร้อนจากผิววัสดุมาระเหยกลายเป็นไอ จะเป็นผลทํ าให้ผิววัสดุที่สัมผัสกับโมเลกุลของนํ้ามีอุณหภูมิตํ่าลง และเมื่อพิจารณาจากแผนภูมิไซโครเมตริก (Phychromatric Chart) ซึ่งเป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาวะอากาศ สามารถอธิบายได้ว่า เมื่อเกิดการระเหยนํ้า อุณหภูมิที่นํ้าระเหยจะเท่ากับอุณหภูมิกระเปาะเปียก ดังนั้นอุณหภูมิผิววัสดุที่มีการระเหยของนํ้า จะมีอุณหภูมิลดลงวัตถุประสงค์ของการทดลอง คือ ศึกษาหาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการลดอุณหภูมิของวัสดุปูพื้นภายนอกอาคาร เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่อการลดความร้อนวัสดุปูพื้นภายนอกอาคาร และนําเสนอวิธีการลดการสะสมความร้อนของวัสดุปูพื้นภายนอกอาคาร สําหรับประยุกต์ใช้กับงานจริง วิธีการวิจัย โดยศึกษาทดสอบอิทธิพลรังสีดวงอาทิตย์ อิทธิพลของลม และอิทธิพลของชนิดวัสดุปูพื้นในเรื่องของมวลสาร(Mass)การนํ าความร้อน(Conductivity) การดูดซึมนํ้า(Water Absorption) การดูดซับรังสีความร้อน(Thermal Absorption) การคายรังสีความร้อน(Emissivity) การทดสอบทั้งหมดประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1 เพื่อหาสาเหตุของความร้อนที่สะสมที่ผิววัสดุปูพื้น ทดสอบอิทธิพลของดวงอาทิตย์ อิทธิพลของลม และชนิดของวัสดุ การเลือกวัสดุทดสอบ พิจารณาที่ค่าการนําความร้อน และค่าการดูดซึมนํ้าซึ่งแตกต่างกัน 3 ระดับคือ มาก ปานกลาง น้อย ดังนั้นจึงได้เลือกใช้ หิน อิฐ และคอนกรีตมวลเบา เพื่อทดสอบในการวิจัยครั้งนี้ ผลจากขั้นตอนที่1 พบว่า กลางแจ้ง รังสีดวงอาทิตย์เป็นตัวแปรที่เพิ่มอุณหภูมิ ส่วนลมเป็นตัวแปรที่ช่วยลดอุณหภูมิ จากนั้นจึงทดสอบในขั้นตอนที่2 การทดสอบในขั้นตอนนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่1 เพื่อลดสาเหตุของความร้อน ทดสอบลดอิทธิพลรังสีดวงอาทิตย์ และเพิ่มอิทธิพลของลม วางวัสดุในร่ม ซึ่งมีลมพัดผ่านและศึกษาการนําความร้อน โดยเปรียบเทียบอุณหภูมิผิวหินทรายและคอนกรีตมวลเบา ศึกษาการคายรังสีความร้อนในเรื่องลักษณะพื้นผิว โดยเปรียบเทียบคอนกรีตบล็อกปูพื้นผิวเรียบกับคอนกรีตบล็อกผิวกรวด และศึกษาการดูดซับรังสีความร้อนในเรื่องสีผิว โดยเปรียบเทียบคอนกรีตมวลเบาผิวสีขาวกับคอนกรีตมวลเบาผิวสีดํ า ส่วนที่2 เพื่อเพิ่มอิทธิพลความเย็นให้กับผิววัสดุปูพื้น ทดลองใช้วิธีการระเหยของนํ้ าผิววัสดุด้านบนและศึกษาเปรียบเทียบวัสดุต่างๆเหมือนกับการทดสอบส่วนที่1 การทดสอบส่วนที่3 เพื่อเพิ่มอิทธิพลความเย็นเหมือนกับการทดสอบส่วนที่2 แต่ทดลองใช้ทั้งวิธีการระเหยและใช้ลมพัดผ่าน ศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลกระแสลม จากนั้นจึงทําการทดสอบขั้นตอนที่3 เป็นการประยุกต์นํ ามาใช้งาน ทําการทดลองใช้งานกับงานภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เพื่อนําความเย็นที่ได้ มาใช้ลดอุณหภูมิสภาพแวดล้อมนอกอาคารผลการวิจัยพบว่า เมื่อวางวัสดุกลางแจ้ง และใช้วิธีการระเหยนํ้าผ่านผิววัสดุ วัสดุที่มีการดูดซึมนํ้าขึ้นมาที่ผิวด้านบนมาก จะมีอุณหภูมิผิวที่ตํ่าว่าวัสดุที่มีการดูดซึมนํ้าขึ้นมาที่ผิวบนน้อย วัสดุทั้งหมดมีอุณหภูมิผิวสูงกว่าอุณหภูมิอากาศ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุที่อยู่ในร่ม และใช้วิธีการระเหยนํ้า วัสดุกลุ่มนี้จะมีอุณหภูมิผิวตํ่ ากว่าอุณหภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อวางวัสดุในร่ม และไม่ใช่วิธีการระเหยนํ้าคุณสมบัติการนําความร้อนของวัสดุจะมีอิทธิพลต่อการลดอุณหภูมิผิววัสดุมากกว่าคุณสมบัติการดูดซึมนํ้า ส่วนในกรณีที่วางวัสดุในร่ม และใช้วิธีการระเหยนํ้ า คุณสมบัติการดูดซึมนํ้าของวัสดุจะมีอิทธิพลต่อการลดอุณหภูมิผิววัสดุมากกว่าคุณสมบัติการนําความร้อน จึงสามารถสรุปได้ว่า วัสดุที่อยู่ในร่ม และใช้วิธีการระเหยนํ้าผ่านผิววัสดุ อุณหภูมิผิววัสดุจะตํ่ากว่าอุณหภูมิอากาศโดยเฉลี่ย 5 องศาเซลเซียส ในช่วง8.00-17.00น.วัสดุที่เหมาะสมต่อการใช้งานปูพื้นภายนอกอาคาร ในที่ร่ม และใช้วิธีการระเหยนํ้าผ่านผิววัสดุ ควรมีความหนาแน่นน้อย มีคุณสมบัติการดูดซับนํ้าที่ดี และมีค่าการคายความร้อนสูงซึ่งหมายถึงมีพื้นที่ผิวสัมผัสอากาศมาก ส่วนลักษณะสีผิวของวัสดุที่มีการระเหยนํ้า ในที่ร่ม พบว่า วัสดุที่มีสีเข็มจะมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับวัสดุสีอ่อน สีผิวจึงเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยมากต่ออุณหภูมิผิววัสดุสําหรับการทดลองครั้งนี้
Other Abstract: This thesis, being the one part of group research about non-air conditioned elementary school of northeastern Thailand, has an aim to reduce the heat on paving surface. Heat storage on paving surface influence thermal comfort of outdoor environment. Using evaporation process could increase comfort conditions.The objectives of this research are to find the different factors that help to reduce the hot surface temperature of paving materials, then to study about their influence and then to recommend a method that can successfully achieve the temperature reduction. Considering conductivity, water absorption and mass, sample materials were selected. Therefore, the sample materials are stones, bricks and low-density concretes. The experiment consists of three phases. The first phase is to determine what factors would increase temperature on the paving surface. The result of this phase found that the cause is the solar radiation, collected by the material surface and it is the factor that has much influence effected the surface temperature. The second phase is the experiment in order to reduce the solar radiation and to increase the wind speed, as it has no evaporation. It found that sandstone has the lowest surface temperature. To compare the surface temperature of the selected materials with the air temperature between 8.00 a.m. and 5.00 p.m. Its surface temperature is lower than the air temperature 2 ํC in average but the experiments with having evaporation through paving material also reveal that brick has the lowest surface temperature which was lower than outside-air temperature 6 ํC in average. All the selected materials, Sandstone has the highest surface temperature that differs from outside-air temperature 1 ํC in average. Colors have less influence to surface temperature. For the third phase, the experiment was applied to use in the landscape. The temperature above the evaporative surface is lower than air temperature about 4 ํC in average between 12.00 p.m. and 3.00 p.m.In summary, it can be concludedthat temperature of shaded surface evaporation can be 5 ํC lower than air temperature between 8.00 a.m. and 5.00 p.m. The best paving material should have low mass, or low density, have good water absorption, and rough surface. Therefore, the surface evaporation can bring ambient temperature to the comfort conditions.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2298
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.303
ISBN: 9741706456
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.303
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lertlux.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.