Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23005
Title: การสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และทำออปติไมเซชันของหอกลั่นหลัก ที่มีอยู่ในโรงกลั่นน้ำมัน
Other Titles: Computer modelling and optimization of an existing oil refinery topping column
Authors: พลชม จันทร์อุไร
Advisors: วิวัฒน์ ตันฑะพานิชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ปิโตรเลียม -- การกลั่น
ต้นทุน -- การควบคุม
โรงกลั่นน้ำมัน -- การควบคุมต้นทุน
แบบจำลอง
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบบจำลองของหอกลั่นน้ำมันดิบที่มีอยู่จริงแห่งหนึ่งได้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้แนวความคิดของการกลั่นสารผสมเทียมแฝงหลายชนิด (pseudomulticomponent) น้ำมันดิบจะถูกแบ่งเป็นส่วนประกอบ (fractions) ที่มีคุณสมบัติต่างกันชัดเจนจำนวน 39 ส่วน ในขั้นตอนแรกได้ทำการกำหนดหออุปมานเชิงทฤษฏี (theoretical analogue) ของหอกลั่นจริง ปรากฏว่าผลการคำนวณของหอกลั่นของอุปมานั้น สอดคล้องอย่างเดียวพอควรกับข้อมูลที่ได้จากหอกลั่นจริงรวมทั้งอุณหภูมิของแต่ละชั้นและเส้นแสดงจุดเดือดจริงของการกลั่นของทุกๆ ผลิตภัณฑ์ที่แยกได้ วิธีที่ใช้แก้แบบจำลองได้ปรับปรุงมาจากวิธีของนิวตัน-ราฟสัน ต่อไป ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำลองผลการกลั่นน้ำมันดิบที่สภาวะอัตราส่วนการป้อนกลับและอุณหภูมิการแฟลชต่างๆ และเปรียบเทียบเงื่อนไขการทำงานทั้งหมดที่ไม่ได้ให้ผลิตภัณฑ์ที่ผิดรายละเอียดคุณภาพ เพื่อให้เงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมที่สุดในแง่การเพิ่มกำไรรวม
Other Abstract: An actual topping column has been modeled using the concept of pseudomulticomponent distillation. The crude oil is divided into 39 fractions of distinct properties. A theoretical analogue of the actual column is first determined. The simulated results of the analogue column are found to agree reasonably well with the actual data, including the plate temperatures and the TBP distillation curves of the fractionated products. The modified 2N-Newton-Raphson method is used in the simulation. Next the present computer program was used to simulate the crude distillation at various reflux ratio and flash temperatures. Then all operating conditions that did not yield off-specification products were compared to find an optimum condition that most improved the overall profit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23005
ISBN: 9745668818
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Polshom_Ch_front.pdf437.42 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch1.pdf259.91 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch2.pdf424.65 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch3.pdf838.37 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch4.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch5.pdf433.17 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch6.pdf575.98 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch7.pdf541.7 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_ch8.pdf229 kBAdobe PDFView/Open
Polshom_Ch_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.