Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23126
Title: การศึกษาระบบก่อสร้างสำเร็จสำหรับบ้านพักอาศัย
Other Titles: A prefabrication system for housing
Authors: ประทีป อิทธิเมฆินทร์
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความขาดแคลนที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาเรื้อรังที่สืบเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในเขตชุมชน การอพยพเข้าสู่เมืองของชาวชนบท ซึ่งรัฐไม่สามารถจัดสรรงบประมาณด้านเคหะสงเคราะห์อย่างพอเพียง ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ ปัญหาเรื่องเทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ทำให้ราคาค่าก่อสร้างล่าช้า อันเป็นเหตุให้ความขาดแคลนมีแนวโน้มสูงยิ่งขึ้น ในโครงการศึกษาระบบก่อสร้างสำเร็จรูป สำหรับอาคารพักอาศัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการหาแนวทางในการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนในด้านการก่อสร้าง ก่อสร้างได้รวดเร็ว และสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ แรงงาน วัสดุที่ผลิตได้ภายในประเทศ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมอื่น ๆ โดยทั่วไป ในการศึกษาเพื่อหาแนวทางปรับปรุงระบบก่อสร้างอาคารพักอาศัย โดยอาศัยระบบก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม ได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาพื้นฐานของการก่อสร้างซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ คือ – วัสดุก่อสร้างและแรงงาน – อุปกรณ์การก่อสร้าง อุปกรณ์การประกอบติดตั้ง และเครื่องทุ่นแรง – ระบบการก่อสร้าง – ระบบการขนส่ง – การบริหารงานด้านการก่อสร้าง – ปัญหาเรื่องงบประมาณและการลงทุน ผลสรุปจากการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการกำหนดขนาดประสานทางพิกัดสำหรับอาคาร การออกแบบชิ้นส่วนสำเร็จ และระบบการก่อสร้าง เพื่อให้ได้ต้นแบบของอาคารพักอาศัยสำเร็จรูปที่เหมาะสม ในการนี้ได้ออกแบบอาคารพักอาศัยให้มีรูปแบบ ระบบการก่อสร้างและขนาดพิกัดมาตรฐานเพื่อการออกแบบ (Planning Module) ที่สามารถใช้ได้กับการก่อสร้างระบบกึ่งสำเร็จรูปในการพัฒนาระยะแรก และเป็นระบบที่สอดคล้องกับการพัฒนาขั้นสมบูรณ์ในอนาคต การออกแบบได้เน้นถึงความสะดวกในการต่อเติม ขยายอาคาร ตามการขยายตัวของครอบครัวเป็นระยะ ๆ ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำเร็จ 27 ชนิดมีขนาดและรูปทรงต่างกันตามลักษณะการประกอบติดตั้ง และประเภทการใช้สอย ชิ้นส่วน เข็ม ฐานราก เสา คาน พื้นและผนังเป็น ค.ส.ล. บันไดโครงไม้ หลังคาโครงเหล็กประกอบสำเร็จ ชิ้นส่วนทั้งหมดสามารถผลิตจากโรงงานชั่วคราวในที่ก่อสร้างหรือโรงงานผลิตชิ้นส่วนแบบถาวร การยกประกอบติดตั้งใช้กำลังคนและอุปกรณ์ทุ่นแรงขนาดเล็กเป็นสำคัญจุดต่อเสาและคานประกอบโดยการเชื่อมเหล็กเสริมที่โผล่เตรียมไว้ ผนังทั่วไปติดตั้งโดยการวางบนบ่าข้างคาน เทปูนทรายปรับระดับผิด มีประเภทอาคารพักอาศัย ต้นแบบต่อไปนี้ คือ 1. ประเภท ก. บ้านเดี่ยว (Detached House) ประกอบด้วย บ้านเดี่ยวชั้นเดียว (DH₁) ซึ่งแบ่งระยะการก่อสร้างเป็น 5 ระยะ คือ – ระยะที่ (DH₁ Phase 1) ประกอบด้วย ห้องนอน 1 ห้อง และที่ใช้เป็นบริเวณเตรียมอาหาร และห้องน้ำรวมเนื้อที่ 30.24 ตารางเมตร – ระยะที่ (DH₁Phase 2) ขยายจากระยะที่ 1 โดยเพิ่มส่วนห้องนั่งเล่น รับแขก และลานเอนกประสงค์ ซึ่งอาจใช้ในการจอดรถยนต์ เนื้อที่ 51.84 ตารางเมตร (ไม่รวมส่วนจอดรถ) – ระยะที่ 3 (DH₁ Phase 3) เพิ่มส่วนโครงหลังคาโรงรถ รายละเอียด อื่น ๆ เหมือนระยะ 2 เนื้อที่รวม 60.48 ตารางเมตร – ระยะที่ 4 (DH₁ Phase 4) ต่อเติมจากระยะ 3 ประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง พร้อมทั้งส่วนนั่งเล่น พักผ่อน รับแขก และทานอาหารเป็นห้องโล่ง รวมเนื้อที่ทั้งหมด 64.80 ตารางเมตร – ระยะที่ 5 (DH₁ Phase 5) เป็นระยะการขยายเต็มโครงการประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง ส่วนนั่งเล่น รับแขก รับทานอาหาร ส่วนครัวและห้องที่เตรียมไว้สำหรับเป็นที่พักญาติ หรือใช้เป็นที่เก็บของและโรงรถ รวมเนื้อที่ 86.4 ตารางเมตร บ้านเดี่ยว 2 ชั้น (DH₂) แบ่งระยะการก่อสร้างเป็น 5 ระยะ คือ – ระยะที่ 1 (DH₂ Phase 1) ประกอบด้วย ชั้นบน ห้องนอน 1 ห้อง และส่วนนั่งเล่นพักผ่อน และห้องน้ำ ชั้นล่าง ส่วนหนึ่งปล่อยโล่งเป็นลานพักผ่อนเอนกประสงค์ อีกส่วนประกอบด้วย โถงบันไดบริเวณรับทานอาหาร บริเวณเตรียมอาหารและห้องน้ำ รวมเนื้อที่ทั้งสองชั้น 50.22 ตารางเมตร – ระยะที่ 2 (DH₂ Phase 2) เป็นระยะที่ต่อเติมจากโครงเสาคานระยะที่ 1 ในส่วนที่เว้นโล่ง โดยขยายส่วนรับทานอาหารให้กว้างขึ้นและเพิ่มบริเวณนั่งเล่น พักผ่อนและรับแขก ส่วนชั้นบนเหมือนระยะที่ 1 รวมเนื้อที่ทั้ง 2 ชั้น 63.18 ตารางเมตร – ระยะที่ 3 (DH₂ Phase 3) ประกอบด้วย ชั้นบน 2 ห้องนอน 1 ห้องเอนกประสงค์ซึ่งใช้เป็นห้องทำงานหรือห้องนอนได้ ชั้นล่าง ยังคงห้องให้สอยเช่นเดียวกับระยะที่ 2 แต่มีที่จอดรถได้ 1 คัน รวมเนื้อที่ทั้งสองชั้น 93.42 ตารางเมตร – ระยะที่ 4 (DH₂ Phase 4) ประกอบด้วย ชั้นบน ห้องนอน 3 ห้อง ส่วนโถงบันได และห้องน้ำ ชั้นล่าง เพิ่มขยายส่วนพักผ่อนและรับแขก แยกจากบริเวณรับทานอาหาร ส่วนโถงบันได ห้องน้ำและบริเวณปรุงอาหารยังคงเดิม รวมเนื้อที่ทั้งสองชั้น 110.7 ตารางเมตร – ระยะที่ 5 (DH₂ Phase 5) ประกอบด้วย ชั้นบน ส่วนต่าง ๆ เหมือนระยะที่ 4 ชั้นล่าง เพิ่มขยายส่วนนั่งเล่นพักผ่อนให้กว้างขึ้น และขยายส่วนครัวรวมทั้งห้องที่จัดเตรียมไว้สำหรับเป็นที่พักญาติ หรือใช้เป็นที่เก็บของ ส่วนห้องรับทานอาหารและโถงบันไดยังคงเดิม รวมเนื้อที่ใช้สอย 135.54 ตารางเมตร พร้อมกันนี้ได้พิจารณาถึงแนวทางในการออกแบบอาคารชนิดอื่น ๆ โดยอาศัยชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่มีขนาดและรูปแบบอย่างเดียวกัน เพื่อเป็นการลดต้นทุนต่อหน่วยและขนาดที่ดินลง และได้ให้เป็นแนวทางในการก่อสร้างอาคารประเภทอื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้เลือกมากขึ้น คือ 2 ประเภท ข. บ้านแฝด (Semi Detached House) ซึ่งประกอบด้วยบ้านแฝดชั้นเดียว (SDH₁) แบ่งระยะการก่อสร้างออกเป็น 5 ระยะ และบ้านแฝด 2 ชั้น (SDH₂) แบ่งการก่อสร้างเป็น ระยะเช่นเดียวกัน 3. ประเภท ค. บ้านแถว (Row House) ประกอบด้วยบ้านแถวชั้นเดียว (RH₁) และบ้านแถว 2 ชั้น (RH₂) ซึ่งแบ่งระยะการก่อสร้างเป็น 5 ระยะทั้ง 2 แบบ สุดท้ายของการศึกษานี้ ได้ทำการจัดวางผังอาคาร ต้นแบบประเภทต่าง ๆ ในโครงการเคหชุมชนเมืองใหม่หัวหมาก ระยะที่ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของการเคหะแห่งชาติ ในขนาดที่ดิน 824.61 ไร่ สามารถจัดวางอาคาร ทั้ง 3 ประเภทดังนี้ บ้านแถว ทั้งชั้นเดียวและ 2 ชั้น 1,260 หน่วย บ้านแฝด ทั้งชั้นเดียวและ 2 ชั้น 568 หน่วย บ้านเดี่ยว ทั้งชั้นเดียวและ 2 ชั้น 260 หน่วย รวมจำนวนหน่วยในโครงการระยะที่ 1 ± 2,088 หน่วย
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23126
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Brateep_Et_front.pdf884.18 kBAdobe PDFView/Open
Brateep_Et_ch1.pdf814.45 kBAdobe PDFView/Open
Brateep_Et_ch2.pdf654.59 kBAdobe PDFView/Open
Brateep_Et_ch3.pdf6.27 MBAdobe PDFView/Open
Brateep_Et_back.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.