Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิจิตร เกิดวิสิษฐ์-
dc.contributor.authorภัทราภรณ์ มูลสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-05T09:38:16Z-
dc.date.available2012-11-05T09:38:16Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745624713-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23128-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงลักษณะความคิดที่สำคัญอย่างหนึ่งของพุทธปรัชญาคือ ลักษณะธรรมชาตินิยม ความคิดแบบธรรมชาตินิยม มีลักษณะเป็นอเทวนิยมในแง่ที่ว่า ไม่เชื่อว่ามีสิ่งที่เหนือธรรมชาติเป็นปฐมเหตุของธรรมชาติ แต่เชื่อว่าทุกสิ่งในธรรมชาติทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังเชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการและทฤษฎีความเป็นสาเหตุของสิ่งทั้งหลายและมนุษยนิยมอีกด้วย ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้พบว่า พุทธปรัชญามีหลักความคิดหลายประการ ซึ่งเข้ากับลักษณะธรรมชาตินิยมได้ คือ พุทธปรัชญาเป็นอเทวนิยมและมีหลักการบางอย่างที่อาจอธิบายได้ตามทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ ซึ่งจะเห็นได้จากทรรศนะเรื่องกำเนิดของโลกและสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งตัวมนุษย์เอง พุทธปรัชญาไม่ได้กล่าวเน้นถึงปฐมเหตุหรืออำนาจจากสิ่งเหนือธรรมชาติใดๆ ที่จะมีส่วนในการเป็นต้นกำเนิดของสิ่งต่างๆ แต่พุทธปรัชญาจะอธิบายการเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายในรูปของทฤษฎีวิวัฒนาการตามความเป็นไปภายใต้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความคิดเรื่องเทวดานั้น แม้จะมีปรากฏในคำสอนอยู่บ้างบางส่วน แต่พุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าใดนัก เพียงแต่เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดีตอบแทนตามสมควรแก่การกระทำ เทวดาก็เหมือนกับมนษุย์คือยังเป็นผู้ที่คงมีกิเลส ไม่ใช่ผู้บรรลุธรรมสูงสุด เช่น พระอรหันต์ จึงไม่ใช่ผู้ประเสริฐสุด และไม่ได้ถือเป็นสิ่งสัมบูรณ์สูงสุดแต่อย่างใด พุทธปรัชญามีทรรศนะว่า สิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติและทฤษฎีความเป็นสาเหตุ ดังจะเห็นได้จากหลักคำสอนสำคัญๆ เช่น เรื่อง สังขตธรรม ซึ่งอธิบายว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นไปตามอำนาจของเหตุปัจจัยในธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ดำรงอยู่และมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จนกระทั่งเสื่อมสลายไปในที่สุด ก็ล้วนเป็นไปตามกฎแห่งเหตุปัจจัย หรือกฎแห่งเหตุและผลทั้งสิ้นและกฎนี้ก็คือ กฎธรรมชาติซึ่งจัดเข้าอยู่ในหลักธรรมนิยาม หรือ หลักไตรลักษณ์ของพุทธปรัชญา แม้หลักปฏิจจสมุปบาทก็สนับสนุนทั้งสองหลักนี้ โดยอธิบายความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันของเหตุปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องตัวมนุษย์ พุทธปรัชญามีทรรศนะเป็นมนุษยนิยม กล่าวคือ มีความเชื่อว่า มนุษย์เป็นผลิตผลหนึ่งของธรรมชาติ เช่นเดียวกับธรรมชาติที่มีชีวิตอื่นๆ ดังจะเห็นได้จากการอธิบายการเกิดขึ้นของโลกและมนุษย์ในรูปของทฤษฎีวิวัฒนาการตามที่ปรากฎในอัคคัญญสูตร ซึ่งอธิบายกำเนิดของมนุษย์และความเท่าเทียมกันในกำเนิดของมนุษย์ แก้ความคิดในเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะ เน้นให้เห็นถึงคุณธรรมที่ปฏิบัติแทนชาติกำเนิดตามวรรณะ ลักษณะธรรมชาตินิยมอีกประการหนึ่ง ซึ่งพุทธปรัชญาแสดงไว้ในแง่ที่เป็นธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ จะเห็นได้จากหลัก เรื่อง อริยสัจ 4 ชีวิตมนุษย์มีธรรมชาติที่แท้จริง คือ ทุกข์ และเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ต้องเผชิญอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ พุทธปรัชญาได้แสดงหลักความจริงข้อนี้ และได้เปิดเผยสาเหตุที่ทำให้เกิด (ทุกข์สมุทัย) ความดับทุกข์ (ทุกข์นิโรธ) และทางที่จะเข้าถึงความดับทุกข์ (มรรค) ตามหลักดังกล่าวนี้ มนุษย์จะต้องใช้ปัญญาพิจารณาและปฏิบัติให้เข้าใจถึงสภาพอันแท้จริงนี้ให้ถ่องแท้ด้วยตัวของตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจจากสิ่งเหนือธรรมชาติใดๆ มาเกี่ยวข้อง หลักคำสอนที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งของพุทธปรัชญา คือ เรื่องกรรม ซึ่งอธิบายเรื่องการกระทำของมนุษย์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ และผลของการกระทำ ซึ่งหมายความว่ามนุษย์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตน กรรมไม่ใช่ตัวบังคับชีวิตมนุษย์ให้ไม่เป็นอิสระ มนุษย์เองยังเป็นผู้มีอิสระในการเลือกวิถีชีวิตของตนด้วยการตัดสินใจกระทำกรรมทั้งหลายด้วยตัวเอง ดังนั้นในแง่หนึ่งๆ มนุษย์ไม่เป็นอิสระเพราะกรรมในอดีต และมนุษย์ยังคงตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติและสภาพแวดล้อมซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วย เช่นกัน และในอีกแง่หนึ่งมนุษย์ก็เป็นอิสระ เพราะสามารถเลือกกระทำกรรมใหม่เพื่อแก้ไขกรรมเก่าได้ ลักษณะที่เป็นธรรมชาตินิยมในพุทธปรัชญาดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าหลักคำสอนของพุทธปรัชญานั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หากแต่พระองค์ทรงนำความจริงใจในธรรมชาติที่ทรงค้นพบมาเปิดเผย หลักคำสอนต่างๆ ในพุทธปรัชญาจึงเป็นวิธีที่บุคคลจะปฏิบัติเพื่อบรรลุผลได้ตามความสามารถตามแนวทางของธรรมชาติ จึงพอจะกล่าวได้ในที่นี้ว่า ลักษณะที่สำคัญยิ่งของพุทธปรัชญานั้น คือ ธรรมชาตินิยม
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to present one of the prominent characteristics of Buddhism, that is, Naturalism. Naturalism is atheistic in that it does not believe in the Supernatural as the First Cause of nature, but it believes that all living compounded or created things and non-living compounded or non-created things are under the natural law. Besides this, it does believe in the possibility of the evolution theory, the law of causation and also humanism. As a result of this research, it is found that Buddhist philosophy is in various aspects in harmony with Naturalism, that is to say, Buddhist philosophy may be explained in terms of Atheism, Naturalism and also in the light of the Modern Theory of Evolution. This can be seen from the concept of cosmogony and the origin of all things together with human beings. Buddhist philosophy does not lay emphasis on the First Cause or the Supernatural Power in regard to the origination of all things. On the contrary, it explains this in terms of natural evolution under the natural law. As far as-the idea of gods is concerned, though partly exists in the teachings, it is only to show that those who behave rightly will receive proper results in return. The gods are just like human beings, that is to say, they may yield to their defilements. This is diametrically opposite to the Perfect One or the Arahant. According to Buddhist philosophy, all things are under natural law, the law of causation. This may be seen in the case of Sangkhatadhamma which means all things are created in the beginning, exist and then decay in the end. The characteristic as such is nothing but the manifestation of the law of causation, the natural law which is predicated by principle of Dhammaniyama (The Order of the Norm) or Tilakkhana (The Three Signs of Beings). Even Paticcasamuppada or the Law of Dependent Origination confirms this principle by explaining things in terms of relative factors. As for human beings, Buddhist philosophy advocates Humanism, that is, man is the natural product just like the other natural things. The fact may be cleared in Agganna Sutta, which exposes the origin of human beings as well as the equality among them in nature and rectify the idea of castes by emphasizing on the practical level of virtues instead of castes by birth. The other view of Naturalism in human life according to Buddhist philosophy may be seen in the Four Noble Truths. Human life is really Dukkha or suffering in its nature and the condition to be faced inevitably. .Buddhist philosophy, besides pointing this fact, exposes its origin (Dukkasmuddaya) and its extinction (Dukkhanirodha) together with the way leading to this state. According to this truths, man can utilize his thoughts and practise by himself, to penetrate and understand these truths without depending on any supernatural power. Another important doctrine in the Buddhist philosophy is the doctrine of Karma, according to which human actions are related to their results, that is, man must assume full responsibility for the results of- his actions. Karmas do not predominate his life always. Man himself is free to choose the way of life through his own dicision in all actions. So, in one aspect, man is determined by his past Karmas and in other aspect he is free because he can choose to act in order to rectify his past Karmas The characteristic of Naturalism in Buddhist philosophy as mentioned above shows that Buddhist teaching' is not something new invented by the Buddha, but it is the natural truths discovered and exposed by him. The principle of practice in Buddhist philosophy is possible for man to follow and whatever the results will be depending upon his natural ability. Suffice it to say now that one of the very important aspects of Buddhist philosophy is Naturalism.
dc.format.extent444321 bytes-
dc.format.extent292548 bytes-
dc.format.extent1079069 bytes-
dc.format.extent867577 bytes-
dc.format.extent1187230 bytes-
dc.format.extent1129057 bytes-
dc.format.extent364198 bytes-
dc.format.extent277655 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectธรรมชาตินิยม
dc.subjectพุทธปรัชญา
dc.titleความคิดแบบธรรมชาตินิยมในพุทธปรัชญาen
dc.title.alternativeThe concept of naturalism in buddhist philosophyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patraporn_Mo_front.pdf433.91 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_ch1.pdf285.69 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_ch3.pdf847.24 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_ch6.pdf355.66 kBAdobe PDFView/Open
Patraporn_Mo_back.pdf271.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.