Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23184
Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Other Titles: Job satisfaction of faculty members of Prince of Songkhla University
Authors: ประพจน์ นันทรามาศ
Advisors: ประกอบ คุปรัตน์
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กลุ่มที่พึงพอใจและกลุ่มที่ไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ที่มีต่อองค์ประกอบในปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่มีต่อองค์ประกอบในปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบในปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยจูงใจกับกลุ่มปัจจัยค้ำจุน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 227 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้นำแบบสอบถามไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ โดยได้รับคืนมาทั้งสิ้น 220 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.92 4. การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’S Product-Moment Correlation Coefficient) สรุปผลการวิจัย 1. อาจารย์ทุกกลุ่มมีความพึงพอใจในองค์ประกอบปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนสอดคล้องกันเป็นลำดับแรกได้แก่ ความก้าวหน้า และ 3 ลำดับสุดท้าย ได้แก่ ความรับผิดชอบ การบังคับบัญชา นโยบายและการบริหารงาน 2. อาจารย์กลุ่มที่มีความพึงพอใจและกลุ่มที่ไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน มีความพึงพอใจในองค์ประกอบปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนแตกต่างกันทุกองค์ประกอบ 3. อาจารย์กลุ่มที่มีวุฒิปริญญาตรีและกลุ่มที่มีวุฒิปริญญาโทและเอก มีความพึงพอใจในองค์ประกอบปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนแตกต่างกันในองค์ประกอบ นโยบายและการบริหารงาน 4. อาจารย์กลุ่มที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์และกลุ่มที่ดำรงตำแหน่งสูงกว่า มีความพึงพอใจในองค์ประกอบปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนไม่แตกต่างกัน 5. อาจารย์กลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยและกลุ่มที่มีประสบการณ์มาก มีความพึงพอใจในองค์ประกอบปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนแตกต่างกันในองค์ประกอบ การบังคับบัญชา และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 6. อาจารย์กลุ่มที่สังกัดวิทยาเขตหาดใหญ่และกลุ่มที่สังกัดวิทยาเขตปัตตานี มีความพึงพอใจในองค์ประกอบปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนแตกต่างกันในองค์ประกอบ ความสำเร็จของงาน ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ การบังคับบัญชา นโยบายและการบริหารงาน 7. การทดสอบความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบในปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ปรากฏว่าส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในทางบวก 8. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบกลุ่มปัจจัยจูงใจกับกลุ่มปัจจัยค้ำจุน ปรากฏว่าทั้งสองกลุ่มมีความสัมพันธ์กันในทางบวก
Other Abstract: Purpose of the Study: 1. To study opinions of satisfied and dissatisfied faculty members toward motivator factors and hygiene factors of job satisfaction. 2. To compare opinions among various groups of faculty members toward motivator factors and hygiene factors of job satisfaction. 3. To study the correlation among motivator factors and hygiene factors of job satisfaction. 4. To study the correlation between the group of motivator factors and the group of hygiene factors of job satisfaction. Procedure: 1. The sample of the study was compose of the faculty members of Prince of Songkhla University. 2. The questionnaires used as tool for this study were distributed to 227 samples and 220 or 96.92 percent were returned. 3. Computers were utilized in data analysis in order to obtain the percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and Pearson’s product-moment correlation. Conclusion: 1. Each group of faculty members was consistently satisfied with both motivator factors and hygiene factors by noting advancement as the most important, while noting responsibility, supervision, and policy and administration as the three least important ones. 2. Satisfied faculty members and dissatisfied ones were significantly different in all factors of job satisfaction. 3. Faculty members with bachelor degree and those with masters’ degree and doctoral degree were significantly different in factor of policy and administration of job satisfaction. 4. Faculty members with the rank of instructor and those of higher ranks were not significantly different in any factor of job satisfaction. 5. Faculty members with less working experience and those with more working experience were significantly different in factors of supervision and working conditions of job satisfaction. 6. Faculty members at Head Yai Campus and those at Pattani Campus were significantly different in factors of achievement, work itself, responsibility, supervision, and policy and administration of job satisfaction. 7. According to the correlation matrix utilized in comparing each pair of all ten factors, most were found positively correlated. 8. Groups of motivator factors and hygiene factors were positively correlated.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23184
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapot_Nu_front.pdf682.19 kBAdobe PDFView/Open
Prapot_Nu_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Prapot_Nu_ch2.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Prapot_Nu_ch3.pdf525.25 kBAdobe PDFView/Open
Prapot_Nu_ch4.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Prapot_Nu_ch5.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Prapot_Nu_back.pdf823.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.