Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23187
Title: การจัดสรรทรัพยากรในการวางแผนครอบครัวของประเทศไทย ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524
Other Titles: Resource allocation for family planning program in Thailand during the fourth national economic and social development plan, 1977-81
Authors: ประพนธ์ ตุวิชรานนท์
Advisors: วีระพล สุวรรณนันต์
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วในระยะที่ผ่านมา อันเนื่องจากการที่อัตราการตายได้ลดลงอย่างรวดเร็วจากผลของความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุขในขณะที่อัตราการเกิด ไม่ได้ลดลงเท่าที่ควรและยังคงอยู่ในระดับสูง อันเป็นลักษณะของการเริ่มเข้าสู่ระยะแรกของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางประชากร (Demographic Transition Theory) อันจะมีผลกระทบกระเทือนต่อภาวการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในลักษณะของปัญหาทางประชากร ทางแก้ที่จะทำได้ทางเดียวก็คือ การชะลอการเพิ่มของประชากรไว้ เพื่อให้การพัฒนาการในด้านต่าง ๆที่จะเป็นฐานรองรับการขยายตัวของประชากรได้เจริญก้าวหน้าไปทันกัน ก็โดยวิธีการจัดส่งเสริมให้มีการวางแผนครอบครัว ซึ่งมีโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยเริ่มมีเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 3 เป็นต้นมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2515) อย่างไรก็ตามแม้ว่าการดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนครอบครัวสามารถทำได้เกินกว่าเป้าหมายในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ผ่านมา แต่ก็มีอุปสรรคและปัญหาในด้านการบริหารโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติอยู่หลายประการอันเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากทั้งพฤติกรรมในการคุมกำเนิดของประชากรซึ่งได้แก่ อัตราการคงใช้ อัตราการเลิกใช้วิธีการคุมกำเนิด เป็นต้น และการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินงานซึ่งได้แก่จำนวนสถานบริการต่าง ๆ งบประมาณ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานในโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติ การศึกษาจึงได้พยายามที่จะสร้างแบบจำลองโปรแกรมจัดสรรทรัพยากรขึ้นมาสำหรับการดำเนินงานวางแผนครอบครัวนี้โดยได้พยายามรวบรวมลักษณะการเคลื่อนไหวทางประชากร ลักษณะการดำเนินการ วางแผนครอบครัวและพฤติกรรมของผู้คุมกำเนิด การวัดความสำเร็จของเป้าหมายของโครงการวางแผนครอบครัว ของการใช้ทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้อยู่ในรูปของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพียงรูปเดียว โดยให้สามารถเป็นทั้งเครื่องมือในการคาดคะเนพยากรณ์ และกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในลักษณะที่ได้ผลเป็นผลสรุปที่ดีที่สุด ซึ่งแบบจำลองฯ นี้จะเป็นเครื่องมือในการวางแผนที่ดีที่สุด ในการศึกษาได้พิจารณาลักษณะการวางแผนครอบครัวหรือการคุมกำเนิดในแบบจำลองฯ ไว้ 4 ลักษณะ คือ การรับบริการชนิดยาเม็ดคุมกำเนิด, ห่วงอนามัย, การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด และการผ่าตัดทำหมันหญิง โดยที่ 2 วิธีหลังนี้ได้พิจารณาไว้เป็นเพียงส่วนประกอบให้แบบจำลองฯ ครอบคลุมลักษณะการส่งเสริมการวางแผนครอบครัวของโครงการวางแผนครอบครัวแห่งชาติให้ครบถ้วนเท่านั้น ผลของการศึกษาจากการประเมินผลการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยแบบจำลองฯ นี้ สรุปได้ว่า นอกจากจำนวนผู้รับบริการคุมกำเนิดโดยวิธีต่าง ๆ รายใหม่ตามที่กำหนดไว้เป็นเป้าหมายในแผนฯ ไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราเกิด (Crude Birth rate) ลดลงได้ตามเป้าหมายของแผนฯ แล้ว ทรัพยากรต่าง ๆ ได้แก่งบประมาณค่าเวชภัณฑ์เป็นต้น ซึ่งได้กำหนดไว้ในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 4 นี้ ก็ไม่พอเพียงที่จะสามารถทำให้การดำเนินงานส่งเสริมให้มีการวางแผนครอบครัวบรรลุถึงจำนวนผู้รับบริการวางแผนครอบครัวรายใหม่ ซึ่งจะทำให้บรรลุเป้าหมายการลดลงของอัตราเกิดได้ ดังนั้นจึงควรที่จะมีการพิจารณาให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการส่งเสริมให้มีการวางแผนครอบครัวนี้ พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบของประเภทผู้รับบริการที่ควรจะส่งเสริมเสียใหม่ให้สอดคล้องกับความสามารถกระทำได้และข้อจำกัดต่าง ๆ
Other Abstract: Population has been increasing very rapidly in the recent years due to sharp decreased in the motallity rates as the result of the development in sanitary and public health while the birth rate still rises at a very high rate has shown the first stage of Demographic Transition Theory. This situation has significant impacts on economic social and political conditions especially in population problems. The only one solution to solve this problem is to lower the rate of population growth through family planning scheme in order to coincide with all economic progress. The National Family Planning Program is responsible for this project which has been in the Third National Economic and Social Development Plan (since 1972). Although the family planning program was achieved over the target in the Third Plan, there are various obstacles and problems in the family planning program administration. Those problems were due to contraceptive events which consisted of continuation rate, termination rate and switching rate. Including the operational resources which composed of the number of health service center, budget, personnel and officials concerning in the implementation of the family planning program. This study thus involves the construction of the resources allocation programming model in order to lubricate the procedure of family planning operation by collecting the population dynamic, the management of the program as well as the behavior of the contraceptor. This study also includes the evaluation of the plan target—the allocation of scarce resource—in the form of [mathematical] model in order to use as an instrument to project and placing conditions which yields the best results in planning. Family planning scheme in this study is devided into 4 categories :- pills, IUD, DMPA and female sterilization. But the last two methods are considered as components in the model in order to cover the complete of national family planning program. The result of the study from the above model shows that the number of the new acceptors which are set in the plan and the budgets are not enough to reduce the crude birth rate to meet the planned target. The contribution of higher budget as well as the structural improvement are significant factors to the developed under various condition constraints.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23187
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapon_Tu_front.pdf640.78 kBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_ch1.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_ch2.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_ch3.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_ch4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_ch5.pdf487.08 kBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_ch6.pdf392.17 kBAdobe PDFView/Open
Prapon_Tu_back.pdf701.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.