Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23363
Title: ผลกระทบการบรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดที่มีต่อการส่งออก
Other Titles: Impacts of fresh vegetable and fruit packaging on exporting
Authors: วนิดา ตวงเจริญทิพย์
Advisors: กุณฑลี เวชสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สินค้าเกษตรเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท โดยมีตลาดหลักได้แก่ประเทศในแถบเอเชีย ญี่ปุ่น ยุโรป ตะวันออกกลาง แคนาดาและสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามปริมาณและมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้สดก็ยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับผลผลิตรวม ทั้งนี้เพราะเกษตรกรยังขาดประสบการณ์ เทคโนโลยีในการผลิต ความรู้เรื่องการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนวิธีการบรรจุภัณฑ์ การศึกษาผลกระทบการบรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้สดที่มีต่อการส่งออก ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากผู้ส่งออกผักและผลไม้สดจำนวน 42 รายในเขตกรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมใช้บรรจุผักและผลไม้สดในปัจจุบันและในอีก 3-4 ปีข้างหน้า คือกล่องกระดาษลูกฟูก เนื่องจากสามารถคุ้มครองสินค้าได้ดีกว่าภาชนะบรรจุชนิดอื่นๆ และสะดวกในการขนย้าย ปัญหาในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ส่งออกให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ราคาของบรรจุภัณฑ์ที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้สืบเนื่องจากเยื่อกระดาษซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษเพื่อทำกล่องกระดาษลูกฟูกต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมผลิตสิ่งบรรจุภัณฑ์และผู้ส่งออกผักผลไม้เป็นลูกโซ่ นอกเหนือจากปัญหาด้านราคาของสิ่งบรรจุภัณฑ์แล้ว ผู้ส่งออกยังมีปัญหาในด้านความแข็งแรงของกล่อง ไม่สามารถป้องกันความชอกช้ำของสินค้าได้ ทำให้สินค้าเสียหายเมื่อถึงปลายทาง การออกแบบกล่องยังล้าสมัย อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกให้ทัศนะว่า ถ้าเลือกขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมก็มีส่วนช่วยลดปริมาณสูญเสียในระหว่างการขนส่งได้ ในปัจจุบันผู้ส่งออกมีบทบาทในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของตนมากยิ่งขึ้น และจะเป็นผู้กำหนดแบบและคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผักและผลไม้สดเอง แต่จะขอคำแนะนำจากผู้ผลิตสิ่งบรรจุภัณฑ์ประกอบกันไปด้วย แทนที่จะให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตสิ่งบรรจุภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียว แนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งออกผักและผลไม้สดควรจะเป็นการร่วมมือจากทั้งฝ่ายรัฐบาลและภาคเอกชน โดยภาคเอกชนเองควรให้ความสนใจในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ การเลือกภาชนะบรรจุที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสินค้า รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือด้านการค้นคว้าพัฒนาพันธุ์ผักและผลไม้สด การวิจัยโรคพืช แมลงและสารพิษตกค้าง วิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เทคนิควิธีการยืดอายุสินค้าผักและผลไม้สดให้สามารถขนส่งไปทางเรือได้ ศึกษาการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้า ความต้องการและรสนิยมของตลาด พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ส่งออกและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการส่งออกผักและผลไม้สดของไทย
Other Abstract: Agricultural products are main outputs which can generate revenue to Thailand several thousand million Baht per year. The principle fresh fruit markets are Japan, Europe, Middle East, Canada and U.S.A.. However, the volumn and the value of the product is relatively low comparing to the aggregate output because of lacking in experience, technology, knowledge of cultivating and packaging producers. The study of the impacts of fresh vegetable and fruit packaging on exporting is conducted by gathering data from 42 fresh vegetable and fruit exporters in Bangkok. The results indicate that the most used packaging material is corrugated fibreboard box and it is expected to be popularly used in the next 3-4 years due to its better protecting products from damages and its convenience in transportation. The problem exporters are facing is high price of package due to high cost of imported raw material especially paper pulp which has impact on packaging manufacturers and exporters. Other problems are low quality of package and its out of date style. In the exporters’ opion, using a suitable package can reduce some damages during the transportation. Nowadays, exporters are more involving in designing the quality and form of the package to make it suitable for their products. Tactic for solving the problem of fresh vegetable and fruit exportation needs more coordination between government and exporters. Exporters must pay attention to a suitable package. Government should support the research of developing variety of fresh fruits and vegetables, preventing plant disease and insect, controlling chemical agent residue, providing knowledge of cultivation and technique to keep products stay longer during sea transportation, packaging, needs and tastes of markets, and providing knowledges to farmers, exporters and those who are involved in order to develop Thai fresh vegetable and fruit exporting.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23363
ISBN: 9745687995
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida_ta_front.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_ch1.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_ch2.pdf11.17 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_ch3.pdf16.7 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_ch4.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_ch5.pdf11.97 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_ch6.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
Wanida_ta_back.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.