Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23373
Title: ภารกิจของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูตามทัศนะของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาในวิทยาลัยครูภาคใต้
Other Titles: Student affairs administrator's tasks in teachers colleges as viewed by administrators, faculty members, and students in the Southern teachers colleges
Authors: ชูศักดิ์ เอกเพชร
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับภารกิจที่ปฏิบัติจริงและภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริการกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับภารกิจที่ปฏิบัติจริง และภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหาร กิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู 3) เพื่อเปรียบเทียบภารกิจที่ปฏิบัติจริงกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษา ในวิทยาลัยครูตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา สมมติฐานของการวิจัย 1) ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับภารกิจที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูแตกต่างกัน 2) ความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูแตกต่างกัน 3)ภารกิจที่ปฏิบัติจริงกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูมีความแตกต่างกันตามความคิดเห็นของผู้บริหาร 4) ภารกิจที่ปฏิบัติจริงกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูมีความแตกต่างกันตามความคิดเห็นของอาจารย์ 5)ภารกิจที่ปฏิบัติจริงกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูมีความแตกต่างกันตามความคิดเห็นของนักศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหาร อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆในฝ่ายกิจการนักศึกษา และนักศึกษาที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านกิจกรรมนักศึกษาในวิทยาลัยครูภาคใต้ 5 แห่งคือ วิทยาลัยครูสงขลา วิทายาลัยครูยะลา วิทยาลัยครูภูเก็ต วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช และวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 513 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 441 ฉบับ หรือคิดเป็นร้อยละ 85.96 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้จัดทำเป็น 3 ฉบับ คือ สำหรับผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาในแต่ละฉบับแบ่งเป็น 2 ตอนคือ ตอนแรกเป็นสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบสอบถาม ตอนที่สอง เป็นแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับภารกิจที่ปฏิบัติจริง และภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้วิธี S-method ของเชฟเฟ่ และทีเทสต์ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า เกี่ยวกับภารกิจที่ปฏิบัติจริง ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษามีความเห็นว่าผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูได้ปฏิบัติงานนี้ โดยรวมๆ อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่มีบางข้อในแต่ละด้านที่ทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นตรงกันว่าได้มีการปฏิบัติงานนี้อยู่ในเกณฑ์น้อย คือ ด้านการบริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน ได้แก่ การส่งเสริมให้อาจารย์ในฝ่ายกิจการนักศึกษาได้เข้าร่วมประชุม อบรม เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และการศึกษาปัญหาทางสังคมของสถาบันซึ่งมีผลต่อการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดกิจกรรมนักศึกษา ได้แก่ การสนับสนุนในการจัดหาเงินมาช่วยเหลือในการจัดกิจกรรม การประเมินผลการจัดกิจกรรมนักศึกษา และการจัดสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม ด้านการปกครองและวินัยนักศึกษา ได้แก่ การจัดให้มีการประชุม อบรมนักศึกษาในเรื่องจริยธรรมและการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ด้านการจัดสวัสดิการและบริหารนักศึกษา ได้แก่ การจัดให้มีการประกันสุขภาพนักศึกษา การช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่นักศึกษา การสำรวจสภาพของหอพักเอกชนที่นักศึกษาอาศัยอยู่ และการสำรวจความต้องการด้านการจัดสวัสดิการและบริการนักศึกษา เกี่ยวกับภารกิจที่ควรปฏิบัติ ผู้บริหาร อาจารย์และนักศึกษามีความเห็นว่า ผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครูควรปฏิบัติภารกิจต่างๆโดยส่วนรวมอยู่ในเกณฑ์มาก แต่มีข้อย่อยในแต่ละด้านที่ผู้บริหารและอาจารย์ มีความเห็นตรงกันว่า ควรปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการบริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน ได้แก่ การศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของฝ่ายกิจการนักศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมนักศึกษา ได้แก่ การจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการนักศึกษา ให้นักศึกษามีสิทธิออกเสียงโดยตรง ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับภารกิจที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู ปรากฏว่า ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P< .01) ด้านเดียวคือ การจัดกิจกรรมนักศึกษา ส่วนด้านกรบริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน ด้านการปกครองและวินัยนักศึกษา และด้านการจัดสวัสดิการและบริการนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน (P> .01) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่าง ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู ปรากฏว่า ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P< .01) 2 ด้านคือ ด้านการบริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน และด้านการจัดสวัสดิการและบริการนักศึกษา นอกนั้นทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน (P <.01) ผลการเปรียบเทียบภารกิจที่ปฏิบัติจริงกับภารกิจที่ควรปฏิบัติ ปรากฏว่า ภารกิจที่ปฏิบัติจริงกับภารกิจที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารกิจการนักศึกษาในวิทยาลัยครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<.01) โดยมีค่าเฉลี่ยภารกิจที่ควรปฏิบัติสูงกว่าภารกิจที่ปฏิบัติจริงทุกด้าน ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารกิจการนักศึกษาควรจะได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของการปฏิบัติงานตามภารกิจให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กรมการฝึกหัดครูและผู้เกี่ยวข้อง ควรจะได้มีการพัฒนาผู้บริหารกิจการนักศึกษา โดยจัดเป็นโปรแกรมฝึกอบรมผู้บริหารกิจการนักศึกษาก่อนเข้ารับตำแหน่ง และจัดให้มีการประชุมสัมมนาร่วมกันระหว่างผู้บริหารกิจการนักศึกษาของแต่ละสถาบันอยู่เสมอ
Other Abstract: Purposes of the Study The purpose of this research was to study and compare the opinions of college administrators, faculty members and students on actual and desirable student affairs administrator’s tasks in Teachers Colleges and to compare the differences between actual and desirable student affairs administrators tasks. Hypotheses The opinions of college administrators, faculty members and students on actual and desirable tasks of student affairs administrator in Teacher Colleges are different. Actual and desirable tasks of student affairs administrators are different. Procedures The sample included college administrators, Faculty members responsible for student affairs and students taking part in student activities in 5 Teachers Colleges in the South; Songkhla, Yala, Phuket, Nakorn Sri Thammarat and Suratthani. Questionnaires were sent to a total of 513 participants in this survey; 441 (85.96 percent) questionnaires were returned. The research instrument for this study was a questionnaire constructed by the researcher. There were three different forms: one for administrators, one for faculty members and one for students. Each form included two parts: The first part was concerned with personal data about the respondents. The second part asked for opinions of the respondents on actual and desirable student affairs administrator’s tasks in Teachers Colleges. Data were analyzed by computing percentages, means, standard deviations, and one-way analysis of variance. Differences between the various groups were tasked by the Scheffe’s-Method. Differences between actual and desirable tasks were analyzed through the t-test. Research Findings The research producted the following findings: college administrators, faculty numbers and students thought that, in general, actual student affairs administrator tasks were performed at a rated as average. However some tasks were rated by all three groups at a low level: these tasks were as follow: 1. Concerning administrators in their capacity or heads of services faculty members responsible for student affairs administration should have the opportunity to participate as much as possible in seminars or training courses to widen their experience and to student the social problems of the institution which affect the development of students. 2. Concerning students affairs, administrators are to make efforts to raise funds for student activities, to evaluate the setting of student activities and to organize seminars for the advisors to students' clubs. 3. Concerning student discipline and supervision, administrators are to organize seminars for student on moral values and how to live in today's society. 4. Concerning student welfare and services, administrators to private student residence halls and to survey the needs of students for services and welfare. As far on desirable task are concerned, administrators, faculty members and teachers agree that administrators should give much importance to student activities. However, administrators and faculty members feel that some point should be given the greatest importance: those responsible for student activities should study the problems encountered in implementing student activities; there should be elections to select student committees, student being given the right to vote directly. Comparisons of the opinions of the three groups administrators, faculty members and students, on the actual tasks of student affairs administrators in Teacher Colleges showed significant difference of opinion on a single point. i.e. on the organization of student activities As for the aspects, i.e. on the tasks of those responsible for student activities, student dicipline and supervision and student welfare and services, there was no significant difference. Comparisons of administrators, faculty members and students on desirable of student affairs administrators showed significant differences of opinions on two aspects: the tasks of those responsible for student activities and the organization of student activities. As for student discipline and supervision, student welfare and services, the three groups showed no significant differences of opinion. A comparision of actual and desirable tasks of student affairs administrators showed significant differences: desirable tasks were given a higher rating than actual tasks on all aspects. Recommendations. Student affairs administrators should improve the structure of implementation. The Department of teacher training and other relevant personnel should develop student activities by setting training programs student affairs personnel before assuming their duties and by regularly organizing meetings and seminars for those responsible for student activities of the various teachers colleges.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23373
ISBN: 9745608041
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chusak_Ek_front.pdf761.8 kBAdobe PDFView/Open
Chusak_Ek_ch1.pdf929.19 kBAdobe PDFView/Open
Chusak_Ek_ch2.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Chusak_Ek_ch3.pdf413.96 kBAdobe PDFView/Open
Chusak_Ek_ch4.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Chusak_Ek_ch5.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Chusak_Ek_back.pdf992.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.