Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23540
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ | |
dc.contributor.author | ปิยนุช จันทสุบรรณ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-09T05:32:43Z | |
dc.date.available | 2012-11-09T05:32:43Z | |
dc.date.issued | 2544 | |
dc.identifier.isbn | 9741704194 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23540 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การแยกแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนและละลายฟอสเฟตจากแหล่งต่างๆ ตามธรรมชาติสามารถแยกได้ทั้งหมด 18 สายพันธุ์ เมื่อวิเคราะห์การตรึงไนโตรเจนด้วยวิธีอะเซธิลีนรีดักชัน และการละลายฟอสเฟตด้วยวิธีคัลเลอริเมตริก ดีเทอร์มิเนชัน พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M2 มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนได้สูงที่สุด คือ มีปริมาณเอธิลีนที่สร้าง 113.51 nmole/mg cell dry wt./hr. แบคทีเรียสายพันธุ์ N1 ที่มีประสิทธิภาพในการละลายฟอสเฟตได้สูงสุด คือ มีฟอสเฟตในรูปสารละลายในวันที่ 14 ของการเลี้ยงเชื้อ 7.57 µg/ml และแบคทีเรียสายพันธุ์ S54 มีประสิทธิภาพระดับปานกลางทั้งในการตรึงไนโตรเจนและละลายฟอสเฟต คือ มีปริมาณเอธิลีนที่สร้าง 50.05 nmole/mg cell dry wt./hr. และมีฟอสเฟตในรูปแบบสารละลาย 5.90 µg/ml แบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ได้คัดเลือกไว้ศึกษาในขั้นต่อไป การศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ แหล่งคาร์บอน แหล่งไนโตรเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และอุณหภูมิที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนและละลายฟอสเฟตของแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ 3 สายพันธุ์คือ แบคทีเรียสายพันธุ์ N1 M2 และ S54 พบว่าแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์สามารถตรึงไนโตรเจนได้ดีในอาหารเหลวปราศจากไนโตรเจนที่มีกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอน ที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเป็น 7 และอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 30 องศาเซลาเซียส และพบว่าแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์สามารถละลายฟอสเฟตได้ดีที่สุดในสภาวะที่คล้ายกันคือ ในอาหารเหลวที่มีกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอน มีแอมโมเนียมคลอไรด์เป็นแหล่งไนโตรเจน ที่ค่าความเป็นกรด-ด่างเป็น 5 ส่วนสภาวะที่เหมาะสมของแบคทีเรียที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการละลายฟอสเฟตของแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 และ S54 คือ 30 องศาเซลเซียส และ 40 องศาเซลเซียสของแบคทีเรียสายพันธุ์ M2 จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตรึงไนโตรเจนและละลายฟอสเฟตทั้งหมดพบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 สามารถตรึงไนโตรเจนและละลายฟอสเฟตได้ดีที่สุด ซึ่งแสดงว่ามีความสามารถในการเจริญได้ในสภาวะที่ค่อนข้างกว้าง คือ ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีแหล่งไนโตรเจนและแหล่งฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ และสามารถทดแทนกรดได้ดี ส่วนแบคทีเรียสายพันธุ์ M2 มีการสูญเสียความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้สูงไปซึ่งอาจมีสาเหตุจากการกลายพันธุ์ของแบคทีเรีย | |
dc.description.abstractalternative | Totally eighteen strains of bacterial with capable fix nitrogen and phosphate solubilize were isolated from various sources in nature. When analized nitrogen fixation by acethylene reduction technique and phosphate solubilization by colorimetric determination found that bacterial isolate M2 show the highest nitrogen fixing activity at 113.51 nmole/mg cell dry wt./hr. , N1 show highest phosphate solubilizing activity at 7.57 µg/ml and S54 show moderate both nitrogen fixing activity (50.05 nmole/mg cell dry wt./hr.) and phosphate solubilizing activity (5.90 µg/ml). These three bacterial strains were selected for further study. The effect of carbon sources, nitrogen sources, pH of media and incubation temperature on the efficiency of nitrogen fixation and phosphate solubilization of selected three of bacterial strains were study. The results revealed that all 3 bacterial isolates showed best efficiency of nitrogen fixing activity when cultured in nitrogen free medium supplemented with glucose as the carbon source with pH of media at 7 and incubated temperature at 30℃. And all 3 isolates showed best efficiency of phosphate solubilization when using ammoniumchloride as the nitrogen source and glucose as carbon source with pH of media at 5. The optimal temperature for phosphate solubilization of bacterial isolates N1 and S54 were at 30℃ while bacterial isolate M2 was at 40℃. From these studies we concluded that bacterial isolate N1 were the highest in both nitrogen fixing and phosphate solubilizing efficiency, due to that it grew well at broad conditions and had acid tolerance property. Bacterial isolate M2 later lost high efficiency at nitrogen fixing which might caused by mutation. | |
dc.format.extent | 3886489 bytes | |
dc.format.extent | 852860 bytes | |
dc.format.extent | 11251035 bytes | |
dc.format.extent | 4858493 bytes | |
dc.format.extent | 13748206 bytes | |
dc.format.extent | 3056459 bytes | |
dc.format.extent | 37076084 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | คัดเลือกแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนและละลายฟอสเฟต | en |
dc.title.alternative | Selection of nitrogen fixing anb phosphate solubilizing bacteria | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyanuch_ch_front.pdf | 3.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyanuch_ch_ch1.pdf | 832.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyanuch_ch_ch2.pdf | 10.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyanuch_ch_ch3.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyanuch_ch_ch4.pdf | 13.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyanuch_ch_ch5.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyanuch_ch_back.pdf | 36.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.