Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/236
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | ความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัย ในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ A study of relations between generations in the Northern and Northeastern families |
Authors: | สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์ วิพรรณ ประจวบเหมาะ รูฟโฟโล เกื้อ วงศ์บุญสิน |
Email: | Vipan.P@chula.ac.th Kua.w@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ |
Subjects: | ครอบครัว -- ไทย (ภาคเหนือ) ครอบครัว -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เด็ก -- การดูแล--ไทย (ภาคเหนือ) เด็ก -- การดูแล -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของประชากรต่างวัยในครอบครัวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ได้ใช้ข้อมูลจากประชาชนและข้าราชการ โดยมีจำนวนตัวอย่างจากประชาชนภาคเหนือ 369 คน และ 364 คน จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนข้าราชการในภาคเหนือมีจำนวน 268 คน และจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ 345 คน มีวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยคือ ต้องการทราบถึงระดับของความสัมพันธ์ระหว่างประชากรต่างวัยในครอบครัวคือ ระหว่างบิดามารดาของผู้ตอบและผู้ตอบ และระหว่างผู้ตอบกับบุตร รวมทั้งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ฯ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ของผู้ตอบไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือข้าราชการทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสนิทสนมกับบิดามารดาเป็นอย่างดี ประมาณ 1 ใน 2 ของประชาชนในภาคเหนือ และร้อยละ 47.8 ของผู้ตอบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดว่าไม่มีช่องว่างระหว่างบิดามารดา สำหรับกลุ่มข้าราชการสัดส่วนที่ตอบว่าไม่มีช่องว่างนั้นจะมีน้อยกว่าประชาชน คือ เพียง 1 ใน 3 ทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตอบกับบิดามารดานั้น ได้แก่ อายุ เพศ และระดับการศึกษาของผู้ตอบ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกับบุตรนั้นพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92 ของประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้ากันได้ดีมากกับบุตร สำหรับกลุ่มข้าราชการมีสัดส่วนที่น้อยกว่าคือ ร้อยละ 89.3 และ 86.8 ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ตอบในทำนองดังกล่าว สำหรับช่องว่างระหว่างผู้ตอบกับบุตร พบว่า ร้อยละ 71.5 และ 61.1 ของประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้สึกว่าไม่มีช่องว่างระหว่างตนกับบุตร ในส่วนของข้าราชการมีประมาณ 1 ใน 2 ของทั้งสองภาคตอบว่า ไม่มีช่องว่างเลยกับบุตร ส่วนช่องว่างระหว่างบิดามารดาของผู้ตอบนั้น พบว่า 3 ใน 4 ของผู้ตอบฝนภาคเหนือ และ 61.6 ของผู้ตอบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรายงานพบว่าไม่มีช่องว่าง เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตอบกับบุตรนั้น ได้แก่ อายุ เพศ และระดับการศึกษาของผู้ตอบ |
Other Abstract: | The study of relations between generations in the northern and northeastern families was carried out by interviewing people in the rural areas and distributing questionnaires to civil servants in the same selected provinces. There were 369 villages in the north and 364 respondents from the northeastern families. We also got 268 and 345 completed questionnaires from government officers in the north and northeastern region respectively. The objectives of this study are to obtain the relationship between generations and to analyze factors that affect the relationship. The results of the study indicate that a majority of both villagers and civil servants in the north and northeastern region felt very close to their parents. About one-half of the northern villages and 47.8 percent of the northeastern respondents thought that there was no generation gap between them and their parents. However, only one-third of civil servants in the north and northeastern region felt the same as the villagers. It is also found that age, sex and educational level of the respondents have an effect on the relationship between their parents and them. With regards to relationship between respondents and their children, we found that 92 percent of villages in both northern and northeastern region got along very well with their children. For government officers, there were 89.3 percent inn the north and 86.8 percent in the northeast reported the same feeling. Concerned with the gap between respondents and their children, there were 71.5 and61.1 percent of villages in the north and northeastern region said that there was no gap. However, about half of the north and northeastern officers replied that there was no generation gap with their children. In respect of generation gap between their parents and their children, about three-fourths of the respondents of the north and 61.6 percent of the northeast reported there was no gap. Age, sex and educational level of the respondents have an effect on the relationship between them and their children. |
Description: | ภูมิหลังของผู้ตอบและข้อมูลเกี่ยวกับญาติ -- การเลี้ยงดูบุตรและการใช้เวลาของสมาชิกในครอบครัว -- การติดต่อกับสมาชิกในครอบครัว -- ความช่วยเหลือและการสนับสนุน -- ทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัว |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/236 |
ISBN: | 9746332309 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suvathana_relations.pdf | 14.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.