Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23627
Title: การเปรียบเทียบความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของประชากรไทย ในปี พ.ศ.2536 และ พ.ศ. 2541
Other Titles: A comparative study of interest in environmental problems among Thai people in the year 1993 and 1998
Authors: ภาสกร สุภาพงษ์
Advisors: สุนันทา สุวรรโณดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาิวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนของความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและประเภทต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชากรไทยสนใจมากที่สุด รวมทั้งเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และ สิ่งแวดล้อม กับความสนใจดังกล่าวระหว่างปี พ.ศ. 2536 และพ.ศ. 2541 โดยใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจสถิติสังคม การสำรวจทัศนคติของประชากรทางสังคม พ.ศ. 2536 และพ.ศ. 2541 ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี มีประชากรที่ตกเป็นตัวอย่างในปี พ.ศ.2536 จำนวน 22,899 ราย และในปี พ.ศ. 2541 จำนวน 20,843 ราย ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2541 ประชากรไทยให้ความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2536 คือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.6 และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของประเภทปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สนใจที่สุด ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนของความสนใจต่อปัญหาการทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า การพังทลายและการเสื่อมโทรมของดินลดลงจากร้อยละ 67.0 เหลือเพียงร้อยละ 44.0 ในขณะที่ความสนใจต่อปัญหามลพิษจากกากของเสีย สารอันตรายและมลพิษทางน้ำ ปัญหามลพิษทางอากาศ เสียงและอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.0 เป็นร้อยละ 23.2 และจากร้อยละ 19.0 เป็นร้อยละ 32.8 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์แบบตารางไขว้และทดสอบด้วยค่าไคสแควร์ พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพ รายได้ของครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย ภาคที่อยู่อาศัย การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และการได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและประเภทปัญหาสิ่งแวดล้อมของประชากรไทยสนใจมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันในระหว่างข้อมูลปี พ.ศ. 2536 และพ.ศ. 2541 การวิเคราะห์ในระดับหลายตัวแปรในสมการถดถอยลอจิต พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย ภาคที่อยู่อาศัย การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และการได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและประชากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันในระหว่างข้อมูลปี พ.ศ. 2536 และพ.ศ. 2541 เช่นกัน สำหรับวิเคราะห์ในแบบจำลองถดถอยลอจิตระหว่างตัวแปรอิสระทั้งหมดกับประเภทปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุด พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจต่อปัญหามลพิษจากกากของเสีย สารอันตรายและมลพิษทางน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในปี พ.ศ. 2536 ได้แก่ ภาคที่อยู่อาศัย การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และการได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และในปี พ.ศ. 2541 ได้แก่ เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพ เขตที่อยู่อาศัย ภาคที่อยู่อาศัย การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่ผลต่อความสนใจต่อปัญหามลพิษทางอากาศ เสียงและอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในปี พ.ศ. 2536 ได้แก่ รายได้ของครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย ภาคที่อยู่อาศัย การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และการได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน และในปี พ.ศ. 2541 ได้แก่ เพศ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพ รายได้ของครัวเรือน เขตที่อยู่อาศัย ภาคที่อยู่อาศัย และการได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน
Other Abstract: This study was designed to identify the difference in proportion of environmental interests and types of environmental problems, additionally the relationship of various factors with such interests among Thai people. This study was also designed to present in comparison between two sets of data, which have 5 years of time difference (1993-1998). These two sets of data were taken from the project entitled “The Social Attitude of People Survey 1993 and 1998” conducted by the National Statistical Office. The sampled includes 22,899 people in 1993 and 20,843 people in 1998 in total. Proportion of people who reported of interest in environmental problems rose from 54.7% in the year 1993 to 60.6% in the year 1998. The proportions of interest in types of environmental problems, forest devastation and soil erosion dropped from 67.0% to 44.0%. While solid waste, toxic and water pollution rose from 14.0% to 23.2% , and air and noise pollution rose from 19.0% to 32.8%. Bivariate analysis confirmed that factors including sex, age, marital status, education, number of household members, occupation, household income, area of residence, region of residence, sources of environmental information and experience with environmental problems had significant relationship with the reporting of interest in as well as types of environmental problems. Logit Regression indicated that the independent variables related interest in environmental problems including sex, age, marital status, education, occupation, household income, area of residence, region of residence, sources of environmental information and experience with environmental problems had significant relationship with the reporting of interest in as well as types of environmental problems. Multinomial Logit Regression indicated that factors which had significant relationship with interest in solid waste, toxic and water pollution in 1993 were region of residence, sources of environmental information and experience with environmental problems, and in 1998 were sex, age, number of household members, occupation, area of residence, region of residence and sources of environmental information. Factors which had significant relationship with interest in air and noise pollution in 1993 were occupation, household income, area of residence, region of residence, sources of environmental information and experience with environmental problems, and in 1998 were sex, number of household members, occupation, household income, area of residence, region of residence and experience with environmental problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23627
ISBN: 97406090907
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bhassakorn_su_front.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Bhassakorn_su_ch1.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open
Bhassakorn_su_ch2.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open
Bhassakorn_su_ch3.pdf25.17 MBAdobe PDFView/Open
Bhassakorn_su_ch4.pdf12.79 MBAdobe PDFView/Open
Bhassakorn_su_ch5.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open
Bhassakorn_su_back.pdf4.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.