Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23641
Title: ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่ โรงเรียนรัฐบาล ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Knowledge of and attitudes towards population education of mathayom suksa four students in government schools in Bangkok
Authors: เยาวภา เวคะวากยานนท์
Advisors: ภัสสร ลิมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเพื่อให้ทราบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สี่มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาเป็นอย่างไร และมีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน ผลการวิจัยจะนำไปใช้ในการประเมินหลักสูตรเกี่ยวกับประชากรศึกษา ที่ไปใช้ว่าได้ผลอย่างไร ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบทามและเก็บข้อมูลจากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 823 คนของ 10 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาประชากรศึกษา (ส 061)ในชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2524 มีโรงเรียนชาย 1 โรงเรียน โรงเรียนสตรี 3 โรงเรียน และโรงเรียนสหศึกษา 6 โรงเรียน แบบสอบถามสมบูรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 758 ชุด ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ดังนี้ จากการศึกษาปัจจัยด้านประชากรคือ เพศของนักเรียน สถานภาพสมรสของบิดามารดาของนักเรียน พบว่า เพศของนักเรียนมีผลทำให้เกิดความแตกต่างในความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่สถานภาพสมรสของบิดามารดาของนักเรียนไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจคือ อาชีพบิดาและมารดา รายได้ของบิดาและมาดาของนักเรียน พบว่า ทั้งอาชีพบิดาและมารดากับรายได้ของบิดาและมารดาของนักเรียน ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาปัจจัยทางด้านสังคมคือ ระดับการศึกษาของบิดาและมารดาของนักเรียน ประเภทของที่พักอาศัยของนักเรียนขณะที่กำลังศึกษาอยู่ พบว่า ระดับการศึกษาของบิดาและมารดาของนักเรียน มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน แต่ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนในด้านประเภทที่พักอาศัยของนักเรียนขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการศึกษาปัจจัยอื่นๆ คือ ประสบการณ์เกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน ความถี่ในการรับข่าวจากสื่อมวลชนต่อสัปดาห์ และประเภทของกลุ่มโรงเรียนพบว่า ประสบการณ์เกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน และความถี่ในการรับข่าวจากสื่อมวลชน ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประเภทของกลุ่มโรงเรียนที่นักเรียนศึกษาอยู่ มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากการคำนวณค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียน 758 คน ผลปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียนแต่ละคนเท่ากับ 21.0 คะแนนจากคะแนนเต็ม 38 คะแนน (55.3%) คะแนนเฉลี่ยของทัศนคติของนักเรียนแต่ละคนเกี่ยวกับประชากรศึกษาของนักเรียนแต่ละคนเท่ากับ 162.6 คะแนนจากคะแนนเต็ม 225 คะแนน (72.3%) ดูจากคะแนนเฉลี่ยแล้วสรุปได้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับประชากรศึกษาปานกลาง และมีทัศนคติค่อนไปในทางบวก และหลักสูตรเกี่ยวกับประชากรศึกษาที่สอดแทรกเข้าไปในวิชาต่างๆ ได้ผลพอสมควร ส่วนหลักสูตรประชากรศึกษา (ส 061) นั้นน่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจน และเน้นการตัดสินใจของนักเรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ควรที่จะมีการจัดอบรมครูที่สอนประชากรศึกษา (ส 061) เพิ่มขึ้น เพี่อให้ครูที่สอนทุกคนเข้าใจจุดมุ่งหมายและวิธีการสอนประชากรศึกษาตรงกัน
Other Abstract: To study about knowledge of and attitude towards population education of Mathayom Suksa Four students in government schools in Bangkok, and to examine factors affecting knowledge and attitude toward population education of these sampled students. The findings obtained from this study were also used to evaluate the curriculum on population education that has been used in schools. Data were collected through 823 students selected from 10 government schools which offered population education course in Mathayom Suksa 3. The 758 completed questionnaires were used for the analysis. The findings can be summarized as follows) With respect to demographic variables; sex of students had significant effect on the difference in knowledge and attitude toward population education while parents' marital status showed no effect on such differences. For economic variables: parents' occupation, and income were found to be non-significant factors affecting differences in knowledge and attitude toward population education of these students. For social variables: parents' education showed stronger effect on students’ knowledge than did on students' attitude toward population education. Types of present residence of students did not have any effect on differences in knowledge and attitudes of these students. For other variables such as students' experience on population education and frequencies of exposure to mass media did not bring about the differences in knowledge and attitudes toward population education. On the other hand, types of school such as boy-school, girl-school and co-education school caused the differences in knowledge and attitude toward population education. From this study, it was evident that mean scores of knowledge and attitudes were 21 (from 38 which was equivalent to 55.3%) and 162.6 (from 225 which was equivalent to 72.3%) respectively. Based on these mean scores, it could be concluded that the sampled students had moderate knowledge and positive attitude toward population education. This, in a way, suggested the moderately success of the program introduced into the curriculum. However, the subject on population education (S 061) should emphasize more on decision making of students on the subject. In addition, more training on population education which emphasizes on objectives and methodology should be given to teachers in these schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23641
ISBN: 9745634875
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaovapa_Ve_front.pdf633.11 kBAdobe PDFView/Open
Yaovapa_Ve_ch1.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Yaovapa_Ve_ch2.pdf360.27 kBAdobe PDFView/Open
Yaovapa_Ve_ch3.pdf833.47 kBAdobe PDFView/Open
Yaovapa_Ve_ch4.pdf713.03 kBAdobe PDFView/Open
Yaovapa_Ve_ch5.pdf504.25 kBAdobe PDFView/Open
Yaovapa_Ve_back.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.