Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24007
Title: ภาพพจน์และความคาดหวังเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจ
Other Titles: Image and expectation of police performance
Authors: มรกต ไศละบาท
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ตำรวจ
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาภาพพจน์และความคาดหวัง เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ทั้งจากสายตาของประชาชนเองและจากสายตาของตำรวจ ว่าจะมีความแตกต่างกันเพียงไร ประชาชนมีความรู้สึกเกลียดหรือมีภาพพจน์ในทางลบต่อตำรวจอย่างไร ตำรวจเองมีภาพพจน์ต่อตนเองอย่างไร ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นในระดับหนึ่งได้ว่าตำรวจรู้ตัวหรือไม่ว่าทำไมประชาชนจึงเกลียดตำรวจ โดยในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ กำหนดขอบเขตของการศึกษาเฉพาะประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตนครบาล ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างที่ เก็บรวบรวมมีทั้งสิ้น 494 ตัวอย่าง แยกเป็นประชาชนจำนวน 276 ตัวอย่าง และข้าราชการตำรวจ จำนวน 218 ตัวอย่าง จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มองภาพพจน์ของตำรวจ เป็นไปในเชิงลบ แต่ตำรวจมองภาพพจน์ของตำรวจด้วยกันในเชิงบวกค่อนข้างสูง โดยพบว่าในแง่ของประชาชนเห็นว่าตำรวจมีภาพพจน์ที่ดีในแง่การเป็นผู้รักษากฎหมาย การ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ และมีความกล้าหาญเสี่ยงภัย คิดเป็นร้อยละ 56.5, 36.2 และ 26.8 ตามลำดับ สำหรับภาพพจน์ในทางไม่ดีนั้นประชาชน เห็นว่าเป็นไปในด้านการใช้อำนาจหน้าที่ แสวงหาผลประโยชน์ มีการก้าวร้าวข่มขู่หรือใช้วาจาไม่สุภาพ และมีการใช้วิธีการรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 78.3, 55.8 และ 40.2 ตามลำดับ ส่วนในทัศนะของตำรวจมีการมองภาพพจน์ของตำรวจด้วยกันในเชิงบวก นับตั้งแต่ประเด็นที่ว่าตำรวจเป็นผู้รักษากฎหมาย เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีความกล้าหาญ เสี่ยงภัยทุกขณะ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เป็นที่พึ่งในทุกโอกาสและมีความรับผิดชอบสูง คิดเป็นร้อยละ 79.8, 66.5, 61.0, 59.2 และ 50.0 ตามลำดับ ส่วนใน เชิงลบนั้นตำรวจเห็นว่าเป็นไปในเรื่องการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันมากที่สุต รองลงมาคือ การใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน และการที่ไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้ คิดเป็นร้อยละ 31.7, 27.5 และ 17.0 ตาม ลำดับ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทัศนะระหว่างประชาชนกับตำรวจ พบว่าประชาชน ส่วนใหญ่มีความชื่นชมต่อตำรวจในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 52.9 ของทั้งหมด ในขณะที่ตำรวจมีความชื่นชมต่อบุคคลในอาชีพเดียวกันในระดับสูงถึงร้อยละ 68.3 ซึ่งเมื่อวิ เคราะห์ในทางสถิติพบว่า ประชาชนและตำรวจภาพพจน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อแยกพิจารณาตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมพบว่า ประชาชน มีภาพพจน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เฉพาะตัวแปร ด้านอายุและด้านการติดต่อกับตำรวจเท่านั้น ส่วนตัวแปรอื่นๆ ก็มีผลต่อความแตกต่างในประเด็นนี้อยู่บ้าง แต่เป็นความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ ส่วนทัศนะของตำรวจต่อประเด็นเดียวกันนี้ เมื่อแยกพิจารณาตามสถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่ามีตัวแปรด้านสถานภาพสมรส รายได้ อายุราชการ ชั้นยศ และลักษณะงานที่มีผลให้ตำรวจมีภาพพจน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรที่เหลือมีผลต่อประเด็นนี้อยู่บ้าง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เกี่ยวกับ เรื่องความคาดหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ พบว่าทั้งตำรวจและ ประชาชนมีความคาดหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจคล้ายคลึงกันคือ ส่วนใหญ่เห็นว่า หน้าที่สำคัญที่สุตที่ตำรวจควรจะทำคือ การป้องกันอาชญากรรมคิดเป็นร้อยละ 50.4 และ 58.3 ในกลุ่มประชาชนและตำรวจตามลำดับ สำหรับหน้าที่ที่คาดหวังรองๆ ลงมานั้น ตำรวจและประชาชนมีความคาดหวังแตกต่างกันเล็กน้อย ในกลุ่มประชาชนมีความคาดหวังในหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในสัดส่วนรองลงมาคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค การเอาใจใส่ต่อประชาชนและให้ความช่วย เหลือในทุกโอกาส การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน การให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม และการให้บริการแก่ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 13.0, 11.2, 5.4, 5.1 ตามลำดับ ส่วนตำรวจมีความเห็นว่านอกเหนือจากการป้องกันอาชญากรรมแล้ว ตำรวจควรจะให้ความสำคัญแก่การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม การเอาใจใส่ต่อประชาชน การบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการให้บริการแก่ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 10.1, 9.6, 5.0, 5.0 และ 2.3 ตามลำดับ เมื่อแยกพิจารณาตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ตัวแปรทุกตัว ทั้งด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ เขตที่อยู่อาศัย และการติดต่อกับตำรวจมีผลต่อความแตกต่างในความคาดหวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านตำรวจตัวแปรที่มีผลต่อความแตกต่างในความคาดหวังของตำรวจ เกี่ยว กับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจด้วยกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ อายุราชการ ลักษณะงาน และพื้นที่ปฏิบัติงาน ส่วนตัวแปรด้าน เพศ ระดับ การศึกษา และชั้นยศ มีผลที่ใกล้เคียงกันต่อความแตกต่างในความคาดหวังต่อการปฏิบัติ หน้าที่ของตำรวจด้วยกัน
Other Abstract: This thesis deals mainly with the image and expectation of police performance through the eyes of the public and of the police themselves. The two perceptions will then be compared which will show what people think of the police, and, at the same time, what the police think of themselves. This, to a certain extent, would enable the police to know causes of people's ill-feeling towards them. The sampling used are limited to those who reside within the Bangkok area, and the proportion is as follows: 276 people, and 218 policemen (the latter is limited to those who work in stations and closely associate with residents of Bangkok). The results of the research are ะ the majority of the people tend to have a negative attitude towards the police, but the police tend to view themselves positively. In the first instance, the people see that the police are good protectors of law and people, and that they are courageous (rated 56.5, 36.2, and 26.8 percent respectively). Negatively, the public view the police as those who misuse authority for the sake of interest, who are aggressive and abusive, and like violence (rated 78.3, 55.8, and 40.2 percent respectively). .As for the police, they think highly of themselves as Protectors of people, being courageous, having good human relations, on whom people can rely, and depend (rated 79.8, 66.5, 61.0, 59.2 and 50.0 percent respectively). In the negative sense, the police have to struggle among themselves, they misuse their authority, and -Unable to handle emergency (rated 31 .7, 27.5 and 17.0 percent respectively). From the above analysis when the data from both groups are compared, it is found that only 52.0 percent, of the people have a good image of the police, while 68.3 percent of the police have a good image of themselves. When socio-economic variables are added, it is found that there are differences of attitudes among the public. However degree of significance is found in the age and the contacts with police variables. As for other variables, the differences are insignificant. Among the police, degree of significance appears in marital status, income, tenure of service, rank, and nature of duties, other variables do not show any significance. This thesis also studies the expectation of police performance by the public and by the police. It is found that both groups have a similar attitude; that is the majority believes that the most important duty for a policeman is crime prevention (rated 50.4, and percent for people and police respectively). And there is little difference in attitudes for other kinds of duties, such as law enforcement, caring for and providing help to people, upholding rights and freedom for people, educating people on crime prevention, and providing services to people. When socio-economic variables are used, it is found that these variables (sex, age, marital status, and the contact made with police) influence people's expectation of police performance very significantly. As for the police, only those variables- such as age, marital status, income, years of service, nature of duty, and area in charge influence the expectation significantly. But the rest of the variables (sex, education level, and rank) are insignificant.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24007
ISBN: 9745666335
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Moragot_Sa_front.pdf592.68 kBAdobe PDFView/Open
Moragot_Sa_ch1.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Moragot_Sa_ch2.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Moragot_Sa_ch3.pdf767.33 kBAdobe PDFView/Open
Moragot_Sa_ch4.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Moragot_Sa_ch5.pdf889.56 kBAdobe PDFView/Open
Moragot_Sa_back.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.