Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24033
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เนตรนภิศ นาควัชระ | |
dc.contributor.author | สมาน ธีระวัฒน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-14T03:25:15Z | |
dc.date.available | 2012-11-14T03:25:15Z | |
dc.date.issued | 2531 | |
dc.identifier.isbn | 9745686468 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24033 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิมทั้งในด้านที่ตั้ง ขนาด การกระจาย ตลอดจนปัจจัยซึ่งมีผลต่อรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำคัญของศาสนาอิสลาม มัสยิด ต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของชุมชนชาวไทยมุสลิมกับพื้นที่อื่น ๆ ในกรุงเทพฯ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ จำแนกตามแหล่งดั้งเดิมของการย้ายถิ่นได้หลายสาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นไทยมุสลิมเชื้อสายจากปัตตานี ทั้งนี้ แต่ละเชื้อสายจะแยกกันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเฉพาะของตน โดยในปัจจุบันได้ขยายตัวอาศัยอยู่ในชุมชนทั้งสิ้น 152 แห่ง ในพื้นที่ 19 เขต ของกรุงเทพฯ ชุมชนคนไทยมุสลิมดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นชุมชนขนาดเล็ก อายุไม่มาก และมีทำเลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ในด้านรูปแบบการกระจายของชุมชนนั้น พบว่า มีการกระจายเป็นแบบสุ่ม (Random Distribution) และส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกรัศมี 10 กิโลเมตร จากศูนย์กลางของกรุงเทพฯ ทั้งนี้ชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพฯ มักตั้งถิ่นฐานรวมตัวกันอาศัยในชุมชนเฉพาะของตนเอง หรือที่เรียกว่าละแวก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตแบบเดียวกัน ทั้งในด้านเชื้อสาย ความเชื่อ และองค์ประกอบด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นศูนย์รวมของจิตใจและสังคมของชาวไทยมุสลิมในชุมชนนั้น ๆ การอาศัยอยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน มีวิถีชีวิตแบบเดียวกัน ทำให้ชาวไทยมุสลิมมักจะคบหาสมาคม และพึ่งพาอาศัยระหว่างคนกลุ่มของตนมากกว่ากับกลุ่มชนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวไทยมุสลิมซึ่งอาศัยในชุมชนแถบชานเมืองชั้นนอกมีโอกาสสัมผัสกับสังคมอื่นน้อยกว่าชาวไทยมุสลิมในเขตชั้นใน ซึ่งมีโอกาสติดต่อกับสังคมภายนอกมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประกอบอาชีพ การศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชาวไทยมุสลิมซึ่งตั้งถิ่นฐานไม่ว่าจะอยู่ในเขตใดของกรุงเทพฯ ยังคงมีระดับของความสัมพันธ์ระหว่างกันเองสูงแม้ในระดับการพบปะขั้นผิวเผิน ทั้งนี้ เนื่องจากบทบัญญัติทางศาสนาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการบริโภคอาหาร | |
dc.description.abstractalternative | It was the objective of this thesis to probe into the Thai-Moslem settlement in Bangkok: location, size and distribution as well as factors effecting the pattern of their community, especially the importance of Islamism and Mosques. Also pertinent in the study was the spatial relationship between the Thai-Moslem communities and other areas in Bangkok. The result of this research revealed that the Thai-Moslem in Bangkok could be classified in compliance with the ethnic origins into several groups. Each group would establish their own community. It was found that the ethnic Pattani Thai-Moslem were the majority in Bangkok. At present, they have found within 19 regions of Bangkok, 152 communities which are mostly small, young and located at the East side of the city. Their pattern of distribution was found to be “Random” situated outside the radius of 10 kms from central Bangkok. Thai-Moslem in Bangkok were inclined to settle down in the Thai-Moslem communities, the so-called neighbourhoods. Each community was formed by such people of the same ethnic, way of living, beliefs and culture that they could perform religions ceremonies together in the Mosque-their spiritual and social centre. The Thai-Moslem within the neighbourhood prefered inter-communication among their own ethnic groups, especially those who lived in suburbs. City dwellers had better chance of communicating with external society through education and occupation. However, disregard of their location of settlement, the Thai-Moslem still kept a close mutual relationship even the superficial level. This situation was actually influenced by the Religious Commandments concerning the way of living and the way of consumption. | |
dc.format.extent | 10828502 bytes | |
dc.format.extent | 6863426 bytes | |
dc.format.extent | 19162659 bytes | |
dc.format.extent | 7749627 bytes | |
dc.format.extent | 42988396 bytes | |
dc.format.extent | 65305159 bytes | |
dc.format.extent | 7786448 bytes | |
dc.format.extent | 20511702 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Thai-Maslim Settlement in the Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภูมิศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samarn_th_front.pdf | 10.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_ch1.pdf | 6.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_ch2.pdf | 18.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_ch3.pdf | 7.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_ch4.pdf | 41.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_ch5.pdf | 63.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_ch6.pdf | 7.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samarn_th_back.pdf | 20.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.