Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24062
Title: การเมืองเรื่องเขื่อน : ศึกษากรณีโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล
Other Titles: The politics of dam construction policy : a case study of Pakmoon Dam
Authors: สรพงค์ ศรียานงค์
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะทำความเข้าใจสาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากนโยบายโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูล และสามารถชี้ให้เห็นถึงผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดและนำนโยบายไปปฏิบัติรวมถึงใครเป็นผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ในความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งผู้ที่เสียประโยชน์มีวิธีการต่อสู้ทางการเมืองอย่างไร จากการศึกษาพบว่ากระแสความขัดแย้งทางการเมืองนี้มีรากฐานอยู่บนความขัดแย้งทาง[อุดมการณ์]และผลประโยชน์ ระหว่างกลุ่มบุคคล 2 ฝ่ายในสังคม นั่นคือ กลุ่มที่ได้ประโยชน์กับกลุ่มที่เสียประโยชน์จากนโยบาย ในเชิง[อุดมการณ์] กลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนนโยบายการสร้างเขื่อน เชื่อว่า การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามีความจำเป็น เนื่องจากเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระบบอุตสาหกรรมในทางกลับกันกลุ่มบุคคลที่คัดค้านการสร้างเขื่อนได้จัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาไว้ที่การดำรงสภาพธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด โดยเปรียบนโยบายการสร้างเขื่อนเป็นเสมือนความล้มเหลวของรัฐในการจัดการเรื่องความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของประชาชน และการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สมดุล ในเชิงผลประโยชน์ ภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์การระหว่างประเทศ จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์อันสืบเนื่องจากเป็นผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบาย และได้รับมอบอำนาจในการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยสามารถกีดกันและละเลยต่อความต้องการของประชาขนในท้องถิ่น รวมไปถึงการใช้ความรุนแรงยับยั้งกลุ่มที่คัดค้านนโยบายได้โดยชอบธรรม สำหรับกลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรนักศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนในท้องถิ่น ได้รวมตัวกันเพื่อนโยบายดังกล่าวทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสากล
Other Abstract: This study is aimed at understanding the causes of conflict over Pakmoon Dam Project and identifying not only the participants in formulating and implementing the project but also those who gained and lost in dispute. It is discovered that the political conflict stemed from the ideological and interest-led disputes between gainers and loser. Ideologically those who[ supported ]the dam construction policy believed in the industrialization-based growth and the necessity to build more electricity-generating dam. But those who opposed the project put their first priority on the environment-friendly development and considered the dam-construction policy as an indicator of the state failure in managing electricity demands. In terms of interests, those who gained from the project were the public and private [sectors] in Thai society and an international economic organization. Through their cooperation in the formulation and implementation of the project, they could prevent other groups from taking any part, ignore the demands and sometimes even suppress their protests violently. Those who lost were non-governmental organizations student organizations and rural people. They collectively participated in the campaign against the policy at local, national and international levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24062
ISBN: 9746344145
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorapong_sri_front.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_ch1.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_ch2.pdf12.47 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_ch3.pdf10.9 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_ch4.pdf29.87 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_ch5.pdf29.48 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_ch6.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Sorapong_sri_back.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.