Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24111
Title: การศึกษาความแตกต่างด้านการตายของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
Other Titles: ประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย = A study of differential mortality in the Bangkok - Metropolis 1975
Authors: ประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย
Advisors: สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ที่มีอยู่แล้วมาใช้เป็นประโยชน์ในแง่ของการวิจัย และเพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับการตายของประเทศไทยกว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้วิจัยมีงบประมาณและเวลาจำกัดไม่อาจศึกษาข้อมูลการตายของทั้งประเทศได้ จึงเลือกศึกษาเฉพาะการตายในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่ากรุงเทพมหานครมีลักษณะของความเป็นเอกนครสูง ตลอดจนเป็นที่รวมของประชากรที่มีคุณลักษณะต่าง ๆ กัน ซึ่งน่าจะเป็นผลให้ระดับการตายของประชากรกลุ่มต่าง ๆ แตกต่างกันไปด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ทะเบียนการตาย (ใบมรณบัตร) ทร. 20, ส่วนที่ 3) ของการแจ้งตายในเขตกรุงเทพฯ – ธนบุรี พ.ศ. 2518 ของกองสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเก็บรวบรวมไว้ในลักษณะของบัตรคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้วนั้นมาทำการสุ่มตัวอย่างขึ้นมาร้อยละ 10 ของการตายทั้งหมดได้ จำนวนตัวอย่าง 2352 ตัวอย่าง โดยมีสมมติฐานในการศึกษาครั้งนี้ว่า “อัตราตายของประชากรจะแตกต่างกันไปตามลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากรที่แตกต่างกัน” ผลของการศึกษาพบว่า ผู้ตายเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง กล่าวคือ ร้อยละ 57.7 และ 42.3 เป็นเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ และพบลักษณะทำนองเดียวกันในเกือบทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่มอายุสุดท้าย (70 ปีขึ้นไป) มีเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับการตายของทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ก็พบว่าเป็นทารกเพศชายมากกว่าเพศหญิง คือ ร้อยละ 57.4 และ 42.6 ตามลำดับ ในเรื่องความแตกต่างตามสถานภาพสมรส พบว่า ข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในระดับต่ำมาก กล่าวคือ การไม่ระบุสถานภาพสมรสมีมากถึงร้อยละ 62.8 ของผู้ตายอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งหมด และพบว่าผู้ตายที่มีสถานภาพสมรสมีมากที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิง มีร้อยละ 21.8 และ 21.7 ตามลำดับ รองลงไปในเพศชาย คือ ผู้ตายที่มีสถานภาพ โสด ม่าย แยก-ร้าง และหย่า มีร้อยละ 8.3, 3.2, 0.5 และ 0.3 ตามลำดับ รองลงมาในเพศหญิงคือ ผู้ตายที่เป็นโสด ม่าย และแยก-ร้าง มีร้อยละ 10.9, 9.2 และ 0.3 ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ยังไม่อาจสรุปได้ทันทีว่าแบแผนการตายตามสถานภาพสมรส ในเขตกรุงเทพมหานครนั้นแตกต่างหรือคล้ายคลึงกับแบบแผนการตายของประเทศต่าง ๆ หรือไม่ ทั้งนี้เพราะความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลมีอยู่มากดังกล่าว สำหรับความแตกต่างในเรื่องอาชีพ และระดับการศึกษา พบว่าไม่สามารถศึกษาได้ ทั้งนี้เพราะข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในระดับต่ำมาก กล่าวคือ ในเรื่องอาชีพพบว่า ผู้ไร้อาชีพในกลุ่มอายุ 15-59 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ควรจะอยู่ในระหว่างการทำงานมีมากถึงร้อยละ 90.8 ในเพศชายและ 94.8 ในเพศหญิง ตามลำดับ นอกจากนั้น การไร้อาชีพยังมีความหมายรวมถึงการไม่ระบุอาชีพ และการไร้อาชีพจริง ๆ อีกด้วย ในเรื่องระดับการศึกษาพบว่า การไม่ระบุระดับการศึกษามีมากถึงร้อยละ 76.7 และ 79.7 ในเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ ทำให้ยังไม่อาจหาข้อสรุปในเรื่องทั้งสองนี้ได้ เกี่ยวกับสถานที่อยู่ประจำนั้น พบว่า 1 ใน 2 ของการตายในกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ตายที่มีสถานที่อยู่ประจำในจังหวัดอื่น ๆ นอกกรุงเทพฯ – ธนบุรี ในจำนวนนั้นเป็นผู้ตายที่มาจากภาคกลางมากที่สุด รองลงไป คือ ผู้ตายที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ คือ ร้อยละ 21.2, 3.7, 1.7 และ 1.2 ตามลำดับ สำหรับความแตกต่างตามสาเหตุการตาย พบว่ามีความแตกต่างของสาเหตุการตายตามกลุ่มอายุและเพศ กล่าวคือ ในเรื่องอายุ พบว่า สาเหตุการณ์ตายที่สำคัญของกลุ่มอายุต่ำกว่า 1 ปี คือ กลุ่มสาเหตุที่ 15: สาเหตุบางอย่างทางพยาธิภาพและมฤตภาคตอนใกล้และหลังการคลอดซึ่งพบทั้งในเพศชายและเพศหญิง กลุ่มอายุ 1-14 ปี คือ กลุ่มสาเหตุที่ 17: อุบัติเหตุการถูกพิษ และพลวเหตุต่าง ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง กลุ่มอายุ 15-34 ปี ในเพศชาย คือ กลุ่มสาเหตุที่ 17: ในเพศหญิงคือ กลุ่มสาเหตุที่ 7: โรคระบบไหลเวียนของเลือด กลุ่มอายุ 35-54 ปี ในเพศชาย คือ กลุ่มสาเหตุที่ 7: ในเพศหญิงคือ กลุ่มสาเหตุที่ 2: เนื้องอกที่ต่าง ๆ กลุ่มอายุ 55-74 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงคือ กลุ่มสาเหตุที่ 7: ในเรื่องเพศ พบว่า เกือบทุกกลุ่มสาเหตุการตายจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ยกเว้นกลุ่มสาเหตุที่ 3: โรคเกี่ยวกับต่อมหลั่งภายในโภชนาการและเมตาบอลิซั่ม กลุ่มสาเหตุที่ 12: โรค หนังและเนื้อโต้ผิวหนัง และกลุ่มสาเหตุที่ 16: อาการและภาวะที่กำหนดไม่ชัดแจ้ง ในเรื่องของความแตกต่างของสาเหตุการตายตามอาชีพ และระดับการศึกษานั้น ยังไม่อาจสรุปผลการศึกษาได้ เพราะข้อมูลมีความสมบูรณ์ครบถ้วนในระดับต่ำมาก ในทำนองเดียวกันความแตกต่างของสาเหตุการตายตามสถานที่อยู่ประจำก็ยังไม่อาจสรุปได้ทันทีว่ามีความแตกต่างกันตามภาคหรือไม่ สำหรับสถานที่ตายนั้น พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของการตายทั้งหมดเป็นการตายในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ในเรื่องผู้บำบัด พบว่า ประมาณ 1 ใน 5 ของการตายทั้งหมดตายโดยไม่มีผู้บำบัดและประมาณ 1 ใน 5 เช่นกัน เป็นผู้ตายที่ไม่มีบัตรรับรองเหตุตาย นอกจากนั้นยังพบว่าสาเหตุการตายที่สำคัญของกลุ่มที่ไม่มีบัตรรับรองการตาย คือ การตายด้วยกลุ่มสาเหตุที่ 16:
Other Abstract: The objectives of this study are to utilize registration data for research purpose and to elaborate the analysis of mortality in Thailand. However due to limitation of budget and time, it is intended to study differential mortality only in Bangkok-Metropolis-the primate city of Thailand. Therefore, it is anticipated that different mortality levels would occur among various socio-economic characteristic of the population. Concerned with the data, a total number of 2352 deaths were choosen from a 10 percent sampling of 1975 death certificates collected by Division of Public Health Statistics, Ministry of Public Health. The main hypothesis of this research is “Levels of mortality would vary according to different socio-economics status of the deaths.” It was found that there were more male than female deaths in every age groups except aged 70 years and over. With regard to marital status of the deads, it was found that 62.8 percent of those aged 15 and over were recorded as unknown marital status. [Therefore], further analysis of marital specific death rates could not be done. Thus, we could not conclude that marital specific death pattern of those died in Bangkok-Metropolis would resemble to or differ from those of the other country. With respect to occupation and education attainment of the deceased, the data showed that 90.8 and 94.8 percent of males and females aged 15-59 years were recorded as no occupation. [There] were also 76.6 and 79.7 percent of males and females respectively did not report their educational achievement. So there were no further analysis of differential mortality among various groups of occupation and education. As far as usual residence was concerned. It was found that half of the deads lived in other regions. Besides, most of them (21.2 percent) resided in Central region, while the rest came from North-east, North and South (3.7, 1.7 and 1.2 percent). The data also revealed that causes of death varied with ages. For example, the main cause of death for infant of both sexes was perinatal morbidity and mortality. Accidents, poisonings and violence were found the leading cause of death among those aged 1-14 years in males and females. Furthermore, most of males aged 15-34 years also died of the same cause. While females of the same ages mainly died of disease of circulatory system. Further information showed that disease of circulatory system was the important cause of death among 35-54 age group of males, whereas females of these ages died of neoplasm. It was also found that diseases of circulatory system was the leading cause of death among males and females of 55.-74 years. In addition, the data indicated that there were indicated that ther were axcess number of males over females in every causes of death, except the diseases of endocrine, nutritional and metabolic disease, infection of skin and subcutaneous tissue, and ill-defined condition. Concerned with place of death, it was found that about half of the deaths occurred in either governmental hospitals or private medical establishments. Whereas only one-fifth of the deaths took place at their home. The data also revealed that about one-fifth of both males and females died without any treatment. Furthermore, there were approximate 20 percent of the deaths which did not have certificates for causes of death. Moreover, one-third of those who had no certificates died of ill-defined diseases.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24111
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasertsuk_Pa_front.pdf695.81 kBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch1.pdf436.35 kBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch2.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch3.pdf629.1 kBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch5.pdf896.22 kBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch6.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch7.pdf611.61 kBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_ch8.pdf634.62 kBAdobe PDFView/Open
Prasertsuk_Pa_back.pdf581.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.