Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24214
Title: ตลาดท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจ : บทบาทพ่อค้าคนกลางในการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
Other Titles: Local market and economic development : a case study of the role of middleman in agricultural market in Wang Saiphun District, Phichit Province
Authors: วันเพ็ญ ปัณราช
Advisors: ปรีชา คุวินทร์พันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งกานผลิตและการจำหน่ายผลผลิต 2. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าระดับต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าและเกษตรกร ตลอดจนเงื่อนไขและเหตุจูงใจที่เกษตรกรติดต่อค้าขายกับพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งการมีสินเชื่อกับพ่อค้าคนกลาง 3. เพื่อศึกษาถึงการจัดระเบียบของตลาดผลผลิตทางการเกษตรในระดับท้องถิ่นซึ่งจะทำให้ทราบถึงโครงสร้างการตลาด วิถีการตลาดและวิธีปฏิบัติการตลาด ความเคลื่อนไหวของราคา ลักษณะระบบข่าวสารการตลาด และลักษณะการขนส่งสินค้าเกษตรกรรม วิธีดำเนินการวิจัย โดยที่การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีและเลือกอำเภอที่ทำการศึกษาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัย มี 1. ข้อมูลที่ได้จากเอกสาร ซึ่งส่วนมากเป็นเอกสารของทางราชการ เอกสารงานวิจัยนักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรและพ่อค้าคนกลาง 2. ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยสนาม ใช้เป็นข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษา สัมภาษณ์และสังเกตการณ์โดยเข้าไปมีส่วนร่วมโดยผู้ศึกษาได้ออกไปศึกษาภาคสนามด้วยตนเอง ในระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน-10กันยายน 2525 ผู้ที่อยู่ในข่ายที่ถูกสัมภาษณ์ประกอบด้วย ก. ชาวนาหรือเกษตรกรทั้งหมด 150 ครัวเรือน ใน 7 หมู่บ้าน โดยสัมภาษณ์ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ข. ผู้ที่ซื้อข้าวจากชาวนา คือพ่อค้าในระดับต่างๆ เจ้าของโรงสี นายหน้า จำนวนทั้งหมด 25 คน ค. ผู้ให้ข่าวสำคัญ เช่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ เพื่อให้ทราบถึงสภาพทั่วๆไปและการดำเนินชีวิตของชาวนา การวิเคราะห์และแปลความข้อมูล ใช้การพรรณนาเชิงสถิติ ส่วนข้อมูลที่เป็นตัวเลขจะแสดงเป็นร้อยละ ผลการวิจัย ผลการศึกษาปรากฏว่า ชาวนาในเขตอำเภอเมืองวังทรายพูนยังมีฐานะความเป็นอยู่ยากจน มีปัญหาในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินและมีหนี้สิน คือจะเป็นผู้เช่านาถึงร้อยละ 56.67 และเจ้าของที่นาที่ชาวนาเช่าทำอยู่ในส่วนใหญ่เป็นของพ่อค้าถึงร้อยละ 43.01 นอกจากนี้ชาวนายังมีปัญหาในเรื่องหนี้สิน คือมีหนี้สินร้อยละ 71.33 โดยกู้มาจากสถาบันการเงินของรัฐบาลร้อยละ 56.08 และกู้จากเอกชน 43.93 ส่วนทางด้านการศึกษาของชาวนาส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ป.4 มีผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ถึงร้อยละ 15.34 ลักษณะการผลิต เป็นการทำนาดำที่ต้องอาศัยน้ำฝนสำหรับทำนา เทคนิคการผลิตมีทั้งแบบเก่า เช่นการไถ่นาด้วยควาย และใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ เช่น การไถนาด้วยแทรกเตอร์ การใส่ปุ๋ย เป็นต้น ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 30-45 ถัง/ไร่ สำหรับแรงงานที่ใช้ในการผลิต ใช้ทั้งแรงงานในครัวเรือนและการ จ้างแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นแรงงานที่รับจ้างอยู่ในหมู่บ้าน การขายผลผลิต ในหมู่ชาวนาไม่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อขยายผลผลิตจะเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างขาย ซึ่งการขายจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1. การค้าขายด้วยข้อผูกพันทางหนี้สิน การขายในลักษณะนี้จะเป็นเงื่อนไขที่ชาวนาที่เป็น “ลูกนา” หรือ “ลูกหนี้” ของพ่อค้าอยู่ โดยชาวนาจะขายผลผลิตส่วนที่เหลือของตนหลังจากที่จ่ายเป็นค่าเช่านาและดอกเบี้ยแล้วให้ทันพ่อค้าที่เป็นเจ้าของนาทั้งนี้ก็เพราะชาวนาหวังผลที่จะได้รับความช่วยเหลือจากพ่อค้าในฤดูการทำนาปีต่อไปสำหรับราคาที่ซื้อขายกันส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นราคาตลาด จากข้อมูลผูกพันทางหนี้สินนี้ชาวนาอาจจะเสียเปรียบพ่อค้าในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่พ่อค้าคิดสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินของรัฐบาล และจากการที่เป็นหนี้สินนี้ทำให้ชาวนาต้องรีบขายข้าวตั้งแต่เก็บเกี่ยวเสร็จใหม่ๆ ทั้งๆ ที่ราคาในช่วงนี้ต่ำ เพื่อที่จะนำเงินมาใช้หนี้และใช้จ่ายในครอบครัว 2. การค้าขายด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย ซึ่งเป็นลักษณะที่ชาวนามีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพ่อค้าเป็นอย่างดี เป็นการค้าขายที่ติดต่อค้าขายกันมานาน จนทำให้เกิดความไว้วางใจและจะขายผลผลิตให้เป็นประจำทุกปี 3. การค้าขายด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาที่ฐานะทางเศรษฐกิจดี ดังนั้นจึงทำให้ชาวนามีโอกาสที่จะเลือกขายผลผลิตของตนให้กับพ่อค้าคนใดก็ได้ที่ราคาสูงสุด ส่วนในด้านของทัศนคติของชาวนาที่มีต่อพ่อค้าทั้งด้านการดำเนินการค้า ความสัมพันธ์ส่วนตัวและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน โดยทั่วไปชาวนาจะมีทัศนคติในทางดีต่อการดำเนินการค้าและความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพ่อค้า ส่วนทัศนคติด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางลบ ในด้านของพ่อค้าคนกลาง มีลักษณะที่เอื้ออำนวยที่ทำให้เกิดการแข่งขันกันในตลาด ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ถึงชาวนาโดยตรง โดยที่ในเขตชุมชนตลาดวังทรายพูนมีพ่อค้าที่ดำเนินกิจการซื้อขายผลผลิตทางการเกษตร ถึง 15 ราย ทำให้เกิดมีการแข่งขันกันสูงในการดำเนินธุรกิจ ส่วนความสัมพันธ์ในหมู่พ่อค้าจะเป็นสัมพันธ์ทางเครือญาติมากกว่าความสัมพันธ์ทางการค้า ลักษณะการทำการค้าจะเป็นแบบต่างคนต่างค้าไม่มีการร่วมมือประสานผลประโยชน์ทางการค้า ทำให้การตลาดในเขตวังทรายพูนมีการแข่งขันกันสูงและจะส่งผลถึงชาวนาทำให้ได้รับประโยชน์ในด้านของราคาและการเลือกผู้ซื้อเป็นต้น
Other Abstract: Objectives of the Research 1. To study general economic and social conditions of fanners including production and marketing. 2. To study general conditions of middleman and farmer’s motivation in dealing with selling and getting credit from middleman. 3. To study the organization of local agricultural market in order to understand its structure, marketing channel, price fluctuation, communication and transportation system. Methodology This research is a case study carried out in a specific district. Data are composed of 1. Documents from both government and individual research reports compiled ty variance scholars concerning farmers and middleman. 2. Data obtained from field observations and interviews conducted by the researcher are main information for the analysis. The field study was carried out from June 15 to September 10, 1982. The interviewees consisted of the following group of people. A. 150 household heads who are farmers in 7 village in wang Sai Pnun District. B. Middlemen at all levels of the local market, such as middlemen in the-district market, ricemill owner and brokers. The total number of middlemen is 25. C. Tambon and village headman, civil servants are those who gave general information about the farmer’s living conditions and their way of life. They contributed important information for this study. The analysis is descriptive statistics and figures are presented in percentage Finding The result showed that farmers in Wang Sai Fnun Destrict were economically poor, landless and in debted 56.67% were tenant farmers and 43.01% of the landlords were traders. Out of these farmers 71.33% were in debted.4 They borrowed money from government financial institution (56.68%) and private sector (43.93%). Their educational level was generally not higher than Prothom 4, and 15.34% them were illiterate. The method of cultivation was transpanting method (Na Dam Method) depending a great deal on rain. Rice production technique included both traditional technique, such as using buffulors to plough the land and mode in technology such as using tractors and fertilizers. The everage yield per rai was about 300-450 kgs. There were two kind of labourers employed in the field. The first kind was household labour. The other was hired-labourers who mostly came from within the village itself. The farmers didn’t generally organize as a selling cooperatives.1 Each sold individually of selling crops can be classified. 1. Debt-related selling. After the payment of rental fees and interest with rice, the farmers who were “look na” or debtors gernerally sold the rest of the produce to the money - lenders or landlords in order that they right recieve help from them in the next cultivation season. The crop was usually sola at the market price .However, because of the debt obligation, farmers were at a disadvatage. They had to pay higher rate of interest than the rate of the government. Moreover they had to sell their produce immdiately after harvesting so that they could obtain money to pay for their debt and for household expenditure. 2. selling with intimation. That is, there was a close relationship between farmers and middlemen who had been dealing with each other for sometime until a trust was created. Farmers sold their produces to that trader every year. 3. Maximum profit selling. This method was praticed only by well to do fanners. Therefore farmers had the chance to sell their produces to anyone who offered the highest price. Fanners had a positives attitude towards traders and their activities and enjoyed such personal relationship. On the controry, their attitude toward traders participation in village activities was negatives. As for middlemen, they competed other fierely in marketing and this gave farmer in Wang Sai Phun District an advantage. There were about 15 middlemen who will involed in marketing. Cooperation among middlemen was on kinship base rather than on business relation. There was no known business co-operation among middlemen as they did business individually. They did compete each other which inturn enabled fanners of Wang Sai Prrun District to increase their shares in selling their crop.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24214
ISBN: 9745626929
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_Pu_front.pdf620.28 kBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_ch1.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_ch2.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_ch3.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_ch4.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_ch6.pdf727.13 kBAdobe PDFView/Open
wanpen_pu_back.pdf935.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.