Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2423
Title: การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของการเฝ้าระวังด้านจุลชีววิทยาในงานสุขาภิบาลอาหารโดยใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (เอสไอ-2) ณ จังหวัดสิงห์บุรี ปี 2544
Other Titles: Cost-effectiveness of coliform bacteria screening test (SI-2) in food sanitation surveillance, Sing Buri province 2001
Authors: ก่อศักดิ์ จันทรวิจิตร, 2514-
Advisors: ทศพร วิมลเก็จ
บดี ธนะมั่น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Thosporn.V@Chula.ac.th
Subjects: ต้นทุนและประสิทธิผล
ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
จุลชีววิทยาทางอาหาร
สุขาภิบาลอาหาร
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ คำนวณต้นทุนประเมินประสิทธิผลและวิเคราะห์ ต้นทุน-ประสิทธิผล จากการเฝ้าระวังด้านจุลชีววิทยา ในงานสุขาภิบาลอาหาร โดยใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (เอสไอ-2) ของจังหวัดสิงห์บุรี ปี 2544 ในกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแผงลอยจำหน่ายอาหาร และกลุ่มโรงอาหารของโรงเรียน โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา และเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในช่วงที่มีการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 พฤษภาคม 2544 โดยแบ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกเป็น หน่วยงานต้นทุนชั่วคราวและหน่วยงานรับต้นทุน ใช้วิธีการกระจายต้นทุนแบบการกระจายโดยตรง และการกระจายต้นทุนแบบการกระจายตามลำดับขั้น ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดของการดำเนินงานเท่ากับ 118,841.03 บาท โดยเป็นต้นทุนทางอ้อม ร้อยละ 63.4 ต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจในกลุ่มแผงลอยจำหน่ายอาหาร เท่ากับ 91.18 บาท/ตัวอย่าง, กลุ่มร้านอาหาร เท่ากับ 75.66บาท/ตัวอย่าง และกลุ่มโรงอาหารของโรงเรียนเท่ากับ 48.66 บาท/ตัวอย่าง เมื่อพิจารณาตามหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน พบว่าต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจของ สถานีอนามัย เท่ากับ 73.52 บาท/ตัวอย่าง, โรงพยาบาลชุมชน เท่ากับ 45.02 บาท/ตัวอย่างและโรงพยาบาลทั่วไป เท่ากับ 44.70 บาท/ตัวอย่าง สำหรับด้านต้นทุน-ประสิทธิผล พบว่ากลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (ต้นทุน-ประสิทธิผล ต่ำสุด) คือ กลุ่มโรงอาหารของโรงเรียน มีมูลค่าต้นทุน-ประสิทธิผล เท่ากับ 775.47 บาท และกลุ่มที่มีประสิทธิภาพต่ำสุด (ต้นทุน-ประสิทธิผลสูงสุด) คือ กลุ่มแผงลอยจำหน่ายอาหาร มีมูลค่าต้นทุน-ประสิทธิผลเท่ากับ 923.89 บาท และเมื่อวิเคราะห์ความไวของ ต้นทุน-ประสิทธิผล พบว่า ถ้าอัตราการตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในทุกกลุ่มเป้าหมาย ลดลงจากเดิมร้อยละ 3 เป็นต้นไป จะทำให้กลุ่มแผงลอยจำหน่ายอาหารเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และกลุ่มโรงอาหารของโรงเรียนเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพต่ำสุด ผลการวิจัยจากการศึกษานี้ สามารถช่วยให้ผู้บริหารนำไปวางแผนการดำเนินงาน และบริหารการใช้ทรัพยากร ในการดำเนินงานเฝ้าระวังด้านจุลชีววิทยา ในงานสุขาภิบาลอาหาร โดยใช้ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (เอสไอ-2) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
Other Abstract: The main objective of this research was to calculate cost, evaluate effectiveness and analyze cost-effectiveness of coliform bacteria screening test (SI-2) in food sanitation surveillance at Singburi province in 2001. The test was conducted among three target groups: food shops, food stalls and school canteens. This study is a descriptive study. The data were collected by using retrospective survey from 1 February to 31 May 2001. The cost center was classified into two categories: Transient Cost Center and Absorbing Cost Center. This study allocated cost by Direct Distribution Method and Step-Down Method. It was found that full cost of coliform bacteria screening test (SI-2) in food sanitation surveillance at Singburi province in 2001 was 118,841.03 baht, 63.04% of which was indirect cost. The unit cost of target group per sample detected in food stalls, food shops and school canteens was 94.18 baht, 75.66 baht and 48.66 baht respectively. The unit cost of responsibility offices per sample detected in health center, community hospital and general hospital was 73.52 baht, 45.02 baht and 44.70 baht respectively. For the cost-effectiveness analysis, the highest efficiency groups (cost-effectiveness lowest) were school canteens (775.47 baht) and the lowest efficiency groups (cost-effectiveness highest) were food stalls (923.89 baht). For the sensitivity analysis of cost-effectiveness found that if coliform bacteria detected rate decrease 3% from now on, food stalls will be the highest efficiency groups and school canteens will be the lowest efficiency groups. The results of study help administrator planing and resources using of coliform bacteria screening test (SI-2) in food sanitation surveillance at Singburi province effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 254
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2423
ISBN: 9740314473
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Korsak.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.