Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24300
Title: แนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ โดยใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์
Other Titles: The linguistic borderline between Central Thai and Southern Thai : a lexical study
Authors: วรรณพร ทองมาก
Advisors: กัลยา ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้คือ การศึกษาการใช้ศัพท์ในบริเวณตั้งแต่อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนถึงกิ่งอำเภอท่าตะโก จังหวัดชุมพร เพื่อนำมาหาแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้สร้างรายการคำ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยอรรถ จำนวน 120 หน่วยอรรถและผู้วิจัยได้ทดสอบว่าหน่วยอรรถเหล่านี้แต่ละหน่วยอรรถแทนด้วยศัพท์ไทยถิ่นกลาง 1 ศัพท์ และศัพท์ไทยถิ่นใต้อีก 1 ศัพท์ ผู้บอกภาษาที่ใช้ในการศึกษานี้มีจำนวน 15 คนซึ่ง เลือกมาโดยมีการควบคุมตัวแปรเชิงสังคม ผู้บอกภาษาเหล่านี้เป็นตัวแทนของจุดเก็บข้อมูล 19 จุดซึ่งได้กำหนดลงในพื้นที่ที่ทำการศึกษาโดยการคัดเลือกอย่างมีหลักเกณฑ์ ผลของการวิจัยแสดงว่าศัพท์ที่ใช้ในบริเวณที่ทำการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.ศัพท์ไทยถิ่นกลาง 2.ศัพท์ไทยถิ่นใต้ 3.ศัพท์เฉพาะถิ่นและการหาแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้โดยใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์สามารถหาได้ 2 วิธีคือ 1.การหาแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ โดยดูการกระจายของศัพท์ 2.การหาแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ โดยการใช้สัดส่วนของการใช้ศัพท์ในภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ในแต่ละจุดเป็นเกณฑ์ และเมื่อนำผลของการหาแนวแบ่งเขตภาษาทั้งสองวิธีมาพิจารณาร่วมกันแล้วพบว่าแนวแบ่งเขตภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้โดยใช้ศัพท์เป็นเกณฑ์ นั้นอยู่ระหว่าง บ้านน้ำตก ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก กับ บ้านกรูด ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Abstract: The main purpose of this study is to investigate the use of lexical items in the area between Amphoe Kuiburi Prachubkhirikhandh Province and King Amphoe Thatako Chumphon Province in order to draw a borderline between Central Thai and Southern Thai. A wordlist was constructed especially for this study. It consists of 120 semantic units, each of which manifests one Central Thai lexical item and one Southern Thai lexical item. Nineteen informants with specific socio-economic background were chosen to represent nineteen points in the area. These points wore selected systematically. The study shows that the lexical items used in this area may be divided into three groups l. Central Thai 2, Southern Thai and 3.1ocal.Two methods were used in locating the borderline between the two dialects. The first is based on the distribution of Central Thai and Southern Thai lexical items. The second is based on the proportion of Central Thai and Central Thai lexical items used by each informant. The results obtained from the two methods show that the lexical borderline between Central Thai and Southern Thai spans the area between Ban Namtok Tambon Huoy Yang Amphoe Thapsakae and Ban Krut Tambon Chaikasem Amphoe Bangsphan,Prachuabkhirikhandh province.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24300
ISBN: 9745617989
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannaporn_th_front.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_ch1.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_ch2.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_ch3.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_ch4.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_ch5.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_ch6.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open
Wannaporn_th_back.pdf8.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.