Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2430
Title: ผลการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติร่วมกับผู้ป่วยจิตเภทต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
Other Titles: Efeect of combined individual and families psychoeducation to schizophrenic patients on patients' daily function abilities
Authors: สุภาภรณ์ ทองดารา
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
ภิรมย์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
วัลลดา ปุณฑริกวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Buranee.K@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท
ผู้ป่วย -- การดูแล
สุขภาพจิต
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท ระหว่าง กลุ่มที่ญาติและผู้ป่วยได้รับสุขภาพจิตศึกษา กับ กลุ่มที่เฉพาะผู้ป่วยได้รับสุขภาพจิตศึกษากลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษา แบบผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นการให้สุขภาพจิตศึกษาเป็นรายบุคคลที่บ้านแก่ญาติและผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง กับ ให้สุขภาพจิตศึกษาเฉพาะผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการวัดความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติ แบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSSผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติ หลังได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษา สูงกว่า ก่อนได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05ทั้งในกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ระหว่าง กลุ่มทดลอง กับ กลุ่มควบคุม หลังได้รับสุขภาพจิตศึกษาแล้วพบว่า กลุ่มทดลองค่าคะแนนเฉลี่ย สูงกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ส่วนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติและผู้ป่วย สูงกว่า ก่อนได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท ระหว่าง กลุ่มทดลอง กับ กลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 การให้สุขภาพจิตศึกษาทั้ง 2 แบบ เป็นประโยชน์แก่ญาติและผู้ป่วย ทั้งความรู้ของญาติและความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งสองด้าน อย่างไรก็ดีเมื่อเปรียบเทียบ 2 โปรแกรม ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติและผู้ป่วย มีผลดีกว่าการให้สุขภาพจิตศึกษาเฉพาะ ผู้ป่วย ทั้งในแง่เพิ่มความรู้แก่ญาติ และความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
Other Abstract: The main objective of this experimental research was to compare schizophrenic patients' daily function abilities between the experimental group, patient with families psychoeducation and the control group,only patient psychoeducation. The subjects were 40 out patients of psychiatic clinic, Chonburi Hospital. There were 20 inexperimental group and 20 in the control group. The tools were individual and families home psychoeducation program for experimental group,an individual psychoeducation program for control group. Both group were testing by knowledge checked and the patients' daily function. The data were analyzed by using SPSS program. It was found that families' knowledge before and after psychoeducation program of both group was improve significantly at 0.05.Comparing between the experimental group and the control group shown that the experimental group families' knowledge score of the experimental group was significantly higher than the control group at 0.05 after intervertion. Concerning patients' daily mean score of daily function abilities, mean score of difference between before and after intervention is significant at 0.05 in both control and experimental group. Also, Mean of difference of Daily function ability score in experimental group was significantly higher than that in control group.This indicated that both psychoeducation program were useful for schizophrenic patients and families, However the individual and families psychoeducation module was more effective than the individual psychoeducation module both knowledge and Daily function improvement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2430
ISBN: 9741708912
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.