Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24325
Title: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ "สุบินคำกาพย์"
Other Titles: An analytical study of Subin Khamkab
Authors: กุลนรี ราชปรีชา
Advisors: อิงอร สุพันธุ์วณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง “สุบินคำกาพย์” ฉบับที่กรมศิลปากรอนุญาตให้พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2509 โดยศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของเรื่องสุบินคำกาพย์ ศึกษาโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร กลวิธีการแต่ง การดำเนินเรื่อง การเลือกใช้กาพย์แต่ละชนิด การใช้ถ้อยคำสำนวนโวหาร รวมทั้งการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบแบบต่าง ๆ ผลของการค้นคว้าวิจัยสรุปได้ว่า วรรณกรรมเรื่องสุบินคำกาพย์ฉบับดังกล่าวนี้น่าจะได้รับอิทธิพลทางด้านเนื้อหาจากสุบินสำนวนใต้ และน่าจะแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สุบินคำกาพย์นับเป็นงานประพันธ์ที่มีคุณค่าด้วยเหตุผลประการต่าง ๆ อันได้แก่ โครงเรื่องมีเอกภาพ การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างรวดเร็ว แนวคิดที่สร้างสรรค์สังคมปรากฏในแก่นเรื่องหลักและแก่นเรื่องรอง อันได้แก่การแสดงถึงอานิสงส์การบวชและมุ่งสอนให้คนประพฤติดี การสร้างตัวละครที่มีทั้งลักษณะแบบฉบับและลักษณะที่ขัดแย้งกันในตนเอง การใช้คำสำนวนโวหารสามารถสะท้อนภาพ อารมณ์ และความรู้สึกของตัวละครได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น ยังมีวรรณกรรมกลอนสวดอีกหลายร้อยเรื่องที่หอสมุดแห่งชาติเก็บรักษาไว้ ดังนั้นผู้ที่สนใจในวรรณกรรมประเภทนี้อาจศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมกลอนสวดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะทำให้วรรณกรรมประเภทนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น
Other Abstract: This thesis is an analytical study of Subin Khamkab, the version permitted to print by the Department of Fine Arts in 1966 A.D. Speculation and analyzation are carried out on its origin, plot, theme, characters, writing techniques, story development, the choice of using various of Kab, idiomatic usage including figures of speech. The results of the research can be concluded that the story of Subin Khamkab mentioned above might have been influenced by the southern version and might have been written during the early Ratanakosin period. Subin Khamkab is considered a valuable piece of literary work for various reasons, for example its unifying plot and fast-moving story. Moreover, the main theme and the minor one demonstrate socially constructive concepts: the merit of ordination and the teaching of doing good. Main characters were created as stereotyped, even so, containing contradicted characteristics at the same time. Its idiomatic use reflect vividly the characters’ moods and feelings. Another remark is that hundreds of pieces of Glawn Suad are still preserved by the National Library. Therefore, anyone interested in this kind of literary works can do a research on any of those pieces which would make this type of literary work so wide-spread.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24325
ISBN: 9745636827
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunnaree_Ra_front.pdf437.69 kBAdobe PDFView/Open
Kunnaree_Ra_ch1.pdf400.99 kBAdobe PDFView/Open
Kunnaree_Ra_ch2.pdf785.47 kBAdobe PDFView/Open
Kunnaree_Ra_ch3.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open
Kunnaree_Ra_ch4.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Kunnaree_Ra_ch5.pdf352.79 kBAdobe PDFView/Open
Kunnaree_Ra_back.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.