Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24367
Title: รายงานการศึกษาองค์ประกอบในน้ำนมกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบในโครงการวิจัยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โครงการวิจัยพัฒนาแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์นม ประจำปีงบประมาณ 2546
Other Titles: The studies of milk compositions for milk quality and development
การศึกษาองค์ประกอบในน้ำนมกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบ
Authors: ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร
สมชาย จันทร์ผ่องแสง
ศิริเพ็ญ โกมลวานิช
Email: Narongsak.C@Chula.ac.th
Somchai.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: น้ำนม
ฟาร์มโคนม
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาส่วนประกอบในน้ำนมทั้งองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำนมดิบของโคนมที่เลี้ยงในประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างของน้ำนมในโคนมลูกผสมจากฟาร์มโคนมของกลุ่มสหกรณ์โคนมที่เลี้ยงในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของน้ำนมในระยะต่าง ๆ ของการให้นมโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำนมจากฟาร์มโคนมของเกษตรกรในกลุ่มสหกรณ์โคนม 3 แห่ง คือ สหกรณ์โคนมหนองโพ จ.ราชบุรี สหกรณ์โคนม อสค. มวกเหล็ก จ.สระบุรี สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จ.สระแก้ว คัดแยกโคนมลูกผสม Holstein ที่มีสายเลือด 87.5% โดยจัดกลุ่มโคนมที่กำลังให้นมในระยะต่าง ๆ ของการให้นมภายหลังคลอด 8-12 สัปดาห์ (ระยะต้นของการให้นม) โคนมที่กำลังให้นมภายหลังคลอด 18-22 สัปดาห์ (ระยะกลางของการให้นม) และโคนมที่กำลังให้นมภายหลังคลอด 28-32 สัปดาห์ (ระยะท้ายของการให้นม) ผลการศึกษาอัตราการหลั่งน้ำนมในระยะต้นของการให้นมภายหลังคลอด 8-12สัปดาห์ มีค่ำเฉลี่ยของการให้นมที่มีค่ำใกล้เคียงกัน อัตราการหลั่งน้ำนมในระยะต้นของการให้นมอยู่ระหว่าง 13.6-14.2 กก./ตัว/วัน เมื่อรวมข้อมูลเป็นค่ำเฉลี่ยของอัตราการหลั่งน้ำนมรวมในระยะต้นของการให้นมจากฟาร์มโคนมทั้ง 3 แห่ง มีค่ำ 13.98 กก./ตัว/วัน อัตราการหลั่งน้ำนมจะลดลงเมื่อโคนมให้นมเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของกำไรให้นม ทำให้ค่ำเฉลี่ยอัตราการให้นมรวมตลอดระยะการให้นมมีค่ำ 11.95 กก./ตัว/วัน อัตราการหลั่งน้ำนมตลอดระยะการให้นมในโคนมจำกกลุ่มสหกรณ์โคนม อ.ส.ค. จะมีค่ำเฉลี่ยต่ำสุดเมื่อเทียบกับโคนมในกลุ่ม สหกรณ์โคนมอีก 2 แห่ง การศึกษาองค์ประกอบในน้ำนมในส่วนประกอบหลัก พบว่าความเข้มข้นของไขมันนม ในระยะต้นของการให้นมจะมีค่ำแตกต่างกันระหว่างโคนมที่เลี้ยงในกลุ่มสหกรณ์โคนมทั้ง 3แห่ง ความเข้มข้นของไขมันนมในกลุ่มโคนมสหกรณ์โคนมหนองโพจะมีค่ำเฉลี่ยต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งอื่น ๆ ส่วนประกอบหลักอื่น ๆ ได้แก่ ความเข้มข้นของโปรตีนและแลคโตสในน้ำนม ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโคนมของกลุ่มสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่ง ในระยะต้นของการให้นมความเข้มข้นของไขมันนมที่มีค่ำต่ำของตัวอย่างนมจำกกลุ่มสหกรณ์โคนมหนองโพจะสอดคล้องกับระดับความเข้มข้นของซิเตรทและแคลเซียมไอออนในน้ำนมซึ่งจะมีค่ำต่ำเช่นกันเมื่อเทียบกับตัวอย่างน้ำนมอีก 2 แห่ง ระดับความเข้มข้นของยูเรียในน้ำนมในระยะต้นของการให้นมจากตัวอย่างโคนมของสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่งมีค่ำความเข้มข้นของยูเรียในน้ำนมสูงในช่วง 8-12 สัปดาห์ภายหลังคลอด และจะค่อยลดลงเมื่อโคนมเข้าสู่ระยะกลางและระยะท้ายของการให้นม ผลของการศึกษาความเข้มข้นของโปรตีนในน้ำนมดิบของโคนมจำกกลุ่มสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่งพบว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของการให้นม ในทางตรงข้ามอัตราการหลั่งน้ำนมในระยะท้ายจะลดลง ปริมาณการขับโปรตีนทั้งหมดลดลงในช่วงระยะท้ายของการให้นม ความเข้มข้นของระดับซิเตรทในน้ำนมจะลดลงเมื่อระยะการหลั่งน้ำนมเข้าสู่ระยะท้าย ๆ โดยในระยะต้นของการหลั่งน้ำนมความเข้มข้นของซิเตรทในน้ำนมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับความเข้มข้นของแคลเซียมไอออนในระยะต้นที่พบว่ามีปริมาณสูงในกลุ่มโคนมจากสหกรณ์โคนมทั้ง 3 แห่ง จากการศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงโคนมในภูมิภาคต่าง ๆ จะมีความแตกต่างทั้งปริมาณและส่วนประกอบของน้ำนมดิบทั้งองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบรองโดยเฉพาะน้ำนมดิบที่ได้จากโคนมในกลุ่มสหกรณ์โคนม อ.ส.ค. ที่มีองค์ประกอบรองได้แก่ ความเข้มข้นของยูเรีย ซิเตรท และแคลเซียมไอออน จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน เมื่อระยะการให้นมเข้าสู่ระยะกลางและท้ายของการให้นม ผลของการเปลี่ยนแปลงอาหารที่แตกต่างกันและระยะการให้นมที่แตกต่างกันจะมีผลต่อองค์ประกอบรอง ซึ่งจะมีผลต่อกระบวนการทำ ผลิตภัณฑ์นม น้ำนมดิบที่มีส่วนประกอบที่เหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่น่าจะมีการศึกษาคุณภาพน้ำนมและปริมาณน้ำนมในช่วงระยะเวลาการให้นมที่ต่างกัน ตลอดจนด้านโภชนาการของโคนมให้ได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The objective of the present study was to investigate the milk compositions both major and minor constituents in milk of crossbred Holstein dairy cattle from dairy farms in different parts of Thailand. Milk samples for measurements were randomly collected from the Dairy Corporative in Saraburee province, the Dairy Corporative in Srakaew province and the Dairy Corporative in Rachburee province. Three sets of milk samples were used for studies in each province collecting from early lactating animals (8 to12 weeks post partum), mid-lactating animals (18 to22 weeks post partum) and late lactating animals (28 to32 weeks post partum). In early stage of lactation, similar values of milk yields among different provinces were not significantly different, by average 13.98 kg/day/animal. The decline of milk yields were occurred as lactation advanced to late lactation by average 11.95 kg/day/ animal. The lower values of milk yield of the late lactation were observed from the Dairy Corporative in Saraburee. The concentration of milk fat from the Dairy Corporative in Rachburee were lower than those of other Dairy Corporative, which coincided with low values of concentrations of both citrate and calcium ion in milk. There were no differences for concentrations of milk lactose and protein among milk samples from different parts of Dairy Corporative. The concentrations of milk urea were high during early stage of lactation and it decreased as lactation advances in all groups. Milk protein concentrations increased, while protein yield decreased as lactation advanced to late lactation in all groups. The results in this study suggest that the differences in milk production and it compositions especially concentrations of milk urea, milk citrate and calcium ion occurring among the Dairy Corporatives, would be attributed to monitoring of different diets in feeding to animals among dairy farms in different parts of Thailand.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24367
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongsak_chai 3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.