Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24459
Title: ปัจจัยที่ยังผลต่อการมีภาระ : ศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ในจังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Factors effecting dependency : a case study of industrial workers in Pathum Thani province
Authors: เกษณี โชคนำธัมนุกิจ
Advisors: นพวรรณ จงวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ยังผลต่อการมีภาระ โดยศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีภาระซึ่งได้แก่จำนวนผู้เป็นภาระ และลักษณะของการรับภาระเลี้ยงดู ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ การมีภาระโดยสมบูรณ์และบางส่วน ตลอดจนลักษณะทางด้านสังคม เศรษฐกิจและประชากรของลูกจ้าง ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจจากกลุ่มลูกจ้างจำนวน ๔๕๒ คนที่ทำงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๙ แห่ง ที่ตกเป็นตัวอย่างจากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๕๐ แห่ง ลักษณะเบื้องต้นของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาพบว่า ลูกจ้างมีอัตราส่วนระหว่างเพศ ๑๐๓ มีอายุเฉลี่ย ๒๗.๓ ปี และส่วนใหญ่ร้อยละ ๖๒.๖ มีอายุระหว่าง ๒๐-๒๙ ปี สำหรับสถานภาพสมรสปรากฏว่า มีผู้เป็นโสดและสมรสจำนวนใกล้เคียงกัน และผู้เคยสมรสมีจำนวนบุตรมีชีวิตโดยเฉลี่ย ๒.๓ คน เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่อาศัยปรากฏว่า ลูกจ้างประมาณร้อยละ ๔๒ อาศัยอยู่ในหอพักคนงาน ส่วนที่เหลืออาศัยอยู่บ้านของตนเอง บ้านเช่า บ้านบิดา/มารดาและอื่น ๆ โดยร้อยละ ๓๘ มีลักษณะครอบครัวเดียว และร้อยละ ๒๐ มีลักษณะครอบครัวขยาย ทั้งนี้ลูกจ้างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเกิดในภาคกลาง ในแง่ลักษณะทางเศรษฐกิจ-สังคมของลูกจ้างพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ ๔๓ สำเร็จชั้นประถมปีที่ ๔ ส่วนที่เกี่ยวกับอาชีพปรากฏว่า ประมาณร้อยละ ๔๘ เป็นคนงานไร้ฝีมือ ร้อยละ ๓๑ เป็นช่างฝีมือ นอกจากนั้นประกอบอาชีพวิชาชีพ บริหารและงานเสมียน การศึกษาในเรื่องนี้ได้แบ่งลักษณะการมีภาระออกเป็น ๒ แบบ คือการมีภาระโดยสมบูรณ์และการมีภาระบางส่วน จากการศึกษาพบว่า ลูกจ้างที่มีลักษณะครอบครัวเดี่ยว มีจำนวนผู้เป็นภาระโดยสมบูรณ์โดยเฉลี่ย ๒.๗ คน สูงกว่าผู้มีลักษณะครอบครัวขยาย ซึ่งมีจำนวน ๒.๔ คน ทั้งนี้ลูกจ้างที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนสูงกว่า มีแนวโน้มของจำนวนผู้เป็นภาระสูงกว่าผู้ที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนต่ำกว่า สำหรับการศึกษาของลูกจ้างพบว่า มีอิทธิพลทำให้มีภาระเลี้ยงดูแตกต่างกัน โดยลูกจ้างที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงมีภาระโดยสมบูรณ์มากที่สุด ขณะที่ลูกจ้างที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๕ มีภาระบางส่วนมากที่สุด อาชีพมีอิทธิพลต่อความแตกต่างของการมีภาระ โดยลูกจ้างที่ประกอบอาชีพ วิชาชีพ วิชาการ มีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ขณะที่ลูกจ้างที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการขนส่ง คมนาคม และกรรมกร มีภาระบางส่วนมากที่สุด ในแง่รายได้ของลูกจ้างพบว่า ลูกจ้างที่มีรายได้สูงมีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำกว่า แต่ลูกจ้างที่มีรายได้ระดับกลางมีภาระบางส่วนสูงที่สุด นอกจากนี้การทำงานของคู่สมรสยังช่วยแบ่งเบาภาระเลี้ยงดูของลูกจ้างได้ทางหนึ่งฉะนั้นลูกจ้างที่มีคู่สมรสทำงานจึงรับภาระบางส่วนเท่านั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยทางด้านประชากร ในการศึกษานี้พบว่า ลูกจ้างที่มีอายุมากมีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าลูกจ้างที่มีอายุน้อยกว่า แต่มีภาระบางส่วนต่ำกว่า อันเป็นการเปลี่ยนความรับผิดชอบจากเพียงบางส่วนเป็นทั้งหมดเมื่อลูกจ้างอายุเพิ่มขึ้น ในแง่สถานภาพสมรส มีผลทำให้การมีภาระแตกต่างกันด้วย โดยลูกจ้างที่มีสถานภาพสมรส มีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าสถานภาพอื่น ขณะที่ลูกจ้างที่มีสถานภาพโสด มีภาระบางส่วนสูงกว่าสถานภาพอื่นเช่นกัน สำหรับจำนวนบุตรพบว่า ลูกจ้างที่มีจำนวนบุตรมีชีวิตมาก มีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าลูกจ้างที่มีบุตรมีชีวิตน้อยกว่า แต่มีภาระบางส่วนต่ำกว่า ในเรื่องระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในสถานที่อยู่ปัจจุบันและสถานที่เกิด มีอิทธิพลต่อจำนวนผู้เป็นภาระเช่นกัน โดยลูกจ้างที่อาศัยในตำบลที่อยู่ปัจจุบันนานกว่า มีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ภายหลัง นอกจากนี้ ลูกจ้างที่มีบ้านของตนเอง มีภาระโดยสมบูรณ์สูงกว่าผู้อาศัยอยู่ในที่อื่น ๆ
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate some important factors effecting employee’s dependency, and other background characteristics of employee such as demographic and socio-economic variables, number of dependants, type of dependency: perfect or partly dependency and so on. Data used in this study are drawn from the survey “Factors Effecting Dependency: A Case Study of Industrial Workers in Pathum Thani Provine” 452 respondents are systematically random samples from employees in nine plants of approximately 50 industrial factories in Pathum Thani Province. General characteristics of the samples are as follows. Sex ratio is 103, mean age of employees is 27.3 years old and 62.6 percent falls in age group 20-29. According to marital status, percentage of married employees is equal to single employees. Mean number of living children of married employees is 2.3. In terms of place of residence, 42 percent of them live in industries’ dormitories, others live in their own houses, rented houses and relative or parents houses. For type of household, 38 percent live in nuclear families and 20 percent live in extended families. Most of the employees were born in central region. In addition to socio-economic background, most of them, 43 percent have received 4 years of educational attainment. Approximately 48 percent are unskilled labour, 31 percent are skilled labour and the other are professional, administrators and clerical workers. In this study, type of dependency is devided into two categories: perfect dependency and partly dependency. From the study, it was found that employees’ number of perfect dependants from nuclear family is 2.7 higher than from extended family which is 2.4. In addition, number of member of household is also related to number of dependants. Number of dependants are clearly different among employees from different level of education. Those with secondary education and vocational certificate have more perfect dependency whereas those with Mathayom 4-5 have more partly dependency. In term of occupation, those who are professional have more perfect dependency than others, while employees whose occupation is concerning transportation and unskilled workers have more partly dependency. Employees’ income shows considerable impacts on their dependency. That is, average number of perfect dependants vary directly with level of income. Most of them who are in middle income group have partly dependency. Furthermore, the employees with working couple have only partly dependency. Concerning current-age, the older employees have relatively higher average number of perfect dependants and lower average number of partly dependants and vise versa. It can be assumed that the pattern of dependency is relatively changed by age. When looking at marital status, married employees have higher average number of perfect dependant than other status. Meanwhile the single employees have higher average number of partly dependants. When employees’ number of living children is taken into consideration, it was found that average number of perfect dependants vary relatively but average number of partly dependants vary inversely with number of their living children. Employees’ length of staying in the present household and birth place show considerable impacts on their average number of dependant. The average number of perfect dependants vary directly with the number of years staying in present tambon. Then the employees who have their own housings have more perfect dependency than those who live in other type of housings.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24459
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasanee_Ch_front.pdf681.74 kBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_ch2.pdf483.4 kBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_ch3.pdf825.23 kBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_ch4.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_ch5.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_ch6.pdf554.45 kBAdobe PDFView/Open
Kasanee_Ch_back.pdf710.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.