Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24547
Title: ขนาดและรูปแบบของตัวอักษรที่เหมาะสมสำหรับหนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษา ในประเทศไทย
Other Titles: Sizes and designs of typefaces suitable for elementary education textbooks in Thailand
Authors: พจน์ จินาวรกุล
Advisors: ศุภร สุวรรณาศรัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับขนาดและรูปลักษณะต่าง ๆ ของตัวอักษรที่ใช้พิมพ์หนังสือแบบเรียนในชั้นประถมศึกษาอยู่แล้วพวกหนึ่ง กับอีกพวกหนึ่งเป็นตัวอักษรที่เคยใช้พิมพ์เป็นหนังสือแบบเรียนแต่มีแนวโน้มว่าจะเลิกใช้ หรือเป็นตัวพิมพ์แบบใหม่ซึ่งคาดว่าจะมีการนำมาใช้พิมพ์หนังสือแบบเรียน เพื่อนำไปสู่การสรุปหาข้อยุติว่าตัวอักษรที่มีลักษณะใดบ้าง ที่นักเรียนในชั้นประถมศึกษาชอบทั้งยังส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งมีความเหมาะสมในการจัดพิมพ์และอื่น ๆ เช่น ความประหยัด ความรวดเร็วในการอ่าน เครื่องมือในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ แบบทดสอบทัศนคติและแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่าน โดยที่ผู้ทำการวิจัยสร้างขึ้นเองจากหนังสืออ่านประกอบบทเรียนที่มิได้ใช้กับกลุ่มนักเรียนที่ไปทำการทดสอบ กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นนักเรียนในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะเป็นตัวอย่างของประชากรนักเรียนทั่วประเทศได้ เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยอย่างกว้าง ๆ มิได้ศึกษาเฉพาะเจาะจงหรือเปรียบเทียบในลักษณะที่จำกัด จากแบบทดสอบทัศนคติทำให้ได้ทราบว่า นักเรียนในชั้นที่สูงกว่าจะมีความพิถีพิถันในการเลือกตัวอักษรมากกว่านักเรียนในระดับชั้นที่ต่ำกว่า แม้ว่าการชอบตัวอักษรของนักเรียนจะไม่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็พอทราบได้ว่ามีตัวอักษรบางแบบบางขนาดที่นักเรียนชอบมากกว่าอีกแบบหนึ่ง ส่วนแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านเกือบทั้งหมดนักเรียนสามารถอ่านเข้าใจและมีสัมฤทธิผลไม่แตกต่างกันโดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นที่สูงกว่า แม้ว่าการวิจัยครั้งนี้ยังไม่ชี้ชัดลงไปให้แน่นอนได้ว่าตัวอักษรลักษณะใด แบบใด ดีหรือไม่ดี แต่ก็สามารถทำให้ทราบได้ว่าตัวอักษรที่มีคุณสมบัติดีหลายประการ คือ ตัวพิมพ์แบบกลาง ส่วนตัวอักษรที่ไม่ค่อยเหมาะสม คือ ตัวพิมพ์แบบ UNESCO-T1-BOLD.
Other Abstract: The main purpose of this thesis is to study and research on various sizes and designs of three typeface. The first one is now using in printing of textbooks for primary education while the second and the third is now being considered to abolish and is expected to be use for printing in the near future respectively. The research will help [clarify] about what type of typefaces that the students like, whether these typefaces will help the students for their studying, and what type of typeface will be suitable for printing, economy, and fast reading. The data-gathering instruments were attitude and reading comprehensive tests. The attitude test was written from the extensive books that the student have not read before. The population sample was gathered, in a broad survey, from the students from [various] parts of Thailand. The results indicates that the student in the upper class prefer to choose the typefaces rather than the lower ones. Even though there is not much significance in the typeface choice, it is discocered that the students prefer some types of typeface. For reading comprehensive test, it is discovered that almost students in both upper and lower classes understand in reading. It is also discovered that the Medium typeface is more suitable than a UNESCO-T1-BOLD typeface.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24547
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pote_Ch_front.pdf469.09 kBAdobe PDFView/Open
Pote_Ch_ch1.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Pote_Ch_ch2.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pote_Ch_ch3.pdf645.52 kBAdobe PDFView/Open
Pote_Ch_ch4.pdf344.08 kBAdobe PDFView/Open
Pote_Ch_ch5.pdf622.26 kBAdobe PDFView/Open
Pote_Ch_back.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.