Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24842
Title: ความหลากหลายของชนิดและมวลชีวภาพของสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กบริเวณป่าชายเลนบ้านคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Species diversity and biomass of benthic microalgae In Klong Kone Mangrove, Samut Songkharm Province
Authors: นิรุชา มงคลแสงสุรีย์
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
โสภณา บุญญาภิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาตัวอย่างสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กบริเวณป่าชายเลนคลองแพรกใหญ่ บ้านคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม พบสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กทั้งสิ้น 60 ชนิด จาก 34 สกุล และ 4 กลุ่มใหญ่ คือ ไซยาโนแบคทีเรีย ซิลิโคแฟลกเจลเลต ไดโนแฟลกเจลเลต และไดอะตอม ไซยาโนแบคทีเรียพบ 2 สกุล คือ Oscillatoria และ Lyngbya ส่วนซิลิโคแฟลกเจลเลตและไดโนแฟลกเจลเลตพบกลุ่มละ 1 ชนิดคือ Dictyocha fibula และ Protoperidinium sp. ตามลำดับ กลุ่มไดอะตอมมีความหลากชนิดสูงที่สุดถึง 56 ชนิด เป็นเซนทริคไดอะตอม 25 ชนิด และเพนเนตไดอะตอม 31 ชนิด โดยในฤดูร้อน - แล้งพบความหลากหลาย ของสาร่ายหน้าดินขนาดเล็กสูงที่สุด ประชากรสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ สาหร่ายหน้าดิน ขนาดเล็กที่เกาะติดบนใบไม้ กิ่งไม้และรากไม้ รวมทั้งตาข่ายที่ใช้ล่อ ความหลากชนิดของสาหร่ายหน้าดินใน ประชากรกลุ่มนี้มีค่าต่ำพบไชยาโนแบคทีเรียเป็นกลุ่มเด่น เป็นบริเวณที่มีอิทธิพลจากฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง น้อย แต่มีสภาวะที่จำกัดของพื้นที่ประกอบกับการแข่งขันแย่งชิงพื้นที่ลงเกาะกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นและการถูก ล่าจากกลุ่มผู้ล่า ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ ประชากรสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กบริเวณผิวหน้าดินและบริเวณใกล้พื้นในมวลน้ำ ซึ่งได้รบอิทธิพลจากฤดูกาลมาก โดยสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กที่พบในช่วงความเค็มสูงกว่า 18 psu ในฤดูร้อนแล้งและฤดูฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีค่าความหลากชนิดสูงกว่าช่วงที่ความเค็มต่ำ (6.59 - 11.23 psu) คือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุมจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ แด่ทั้งสองช่วงพบไดอะตอมเป็นกลุ่มเด่น ปริมาณคลอโรฟิลล์_เอทั้งหมดและผลผลิตเบื้องต้นของสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กมีค่าในช่วง 0.018 - 0.165 มิลลิกรัมต่อตารางเมตร และ 0.103 - 0.943 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อตารางเมตรต่อวัน ซึ่งปริมาณ คลอโรฟิลล์-เอของสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กทั้งหมดมีความแตกต่างกันในแต่ละฤดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าปริมาณคลอโรฟิลล์_เอสูงสุดในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุมจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและค่าตํ่าสุดในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมื่อนาไปเปรียบเทียบกับการศึกษาในบริเวณ อื่นพบว่ามีค่าตํ่ากว่ามาก ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาการแย่งชิงพึ้นที่ในการลงเกาะจากสิ่งมีชีวิตชนิตอื่นและการถูก ล่า ความหลากชนิดของสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กในถิ่นที่อยู่อาศัยที่หลากหลายในป่าชายเลนช่วยเน้น ถึงความสำคัญของสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กในบทบาทของผู้ผลิตที่สำคัญโดยเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล หน้าดินและแพลงก์ตอนสัตว์ ซึ่งส่งผลให้สายใยอาหารบริเวณป่าชายเลนบ้านคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม มีความที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Study on specis diversity and biomass of benthic microalgae (BMA) in Klong Kone mangrove swamp, Samut Songkhram province was carried out from June 2003 to April 2004 to cover the seasonal variation in this area. The total of 60 species of BMA from 34 genera were found during this study. Diatom, the most diverse group, comprised of 25 species of centric and 31 species of pinnate diatoms. There were only 2 genera of cyanobacteria (Oscillatona and Lyngbya) and a species of silicoflagellate (Dictyocha fibula) and dinoflagellate (Protoperidinium sp.) presented in this study. Two groups of BMA communities were identified; the community that attached with plant materials as well as artificial substrate and the communities lived on surface sediment as well as those lived in water column above the bottom sediment. The first communities was low diversity index dominant by cyanobacteria due to the competition on space as well as grazing pressure from other fauna. The diatom-dominated communities of the second group, however, exhibited seasonal variation in species diversity of BMA between wet season (salinity 6-11 psu) and dry season (salinity >18 psu) with low Margalef diversity index in the dry season and high index value in the wet season. The amount of Chlorophyll_a and calculated primary production of BMA in this mangrove ranged from 0.018-0.165 mg/m² and 0.103-0.943 mgC/m²/d (27.81-254.61 mgC/m²/Yr.). There was also the temporal variation in chl_a concentration with the maximum concentration during the inter SW-NE monsoon period. The productivity calculated from this study was lower than other mangrove ecosystems which might due to the competition for the artificial substrate used in the study as well as grazing pressure in the mangrove water column. Species diversity and habitat diversity of BMA in the mangrove indicated an important role of BMA as primary producer and food sources for either benthic fauna or zooplankton. This resulted in the complexity of mangrove food web in this area.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24842
ISBN: 9745313041
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nirucha_mo_front.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Nirucha_mo_ch1.pdf10.18 MBAdobe PDFView/Open
Nirucha_mo_ch2.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Nirucha_mo_ch3.pdf25.99 MBAdobe PDFView/Open
Nirucha_mo_ch4.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open
Nirucha_mo_ch5.pdf914.24 kBAdobe PDFView/Open
Nirucha_mo_back.pdf8.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.