Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24872
Title: การใช้สิทธิของประชาชนในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยองค์กรตุลาการ
Other Titles: The exercise of people's rights in the case of violation of rights and liberties under the constitution by judicial organization
Authors: วัลยา จิวานุพันธ์
Advisors: มานิตย์ จุมปา
บรรเจิด สิงคะเนติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชนจึงได้วางหลักความผูกพันขององค์กรของรัฐต่อสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 27 โดยบัญญัติให้ รัฐสภาคณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐต้องผูกพันโดยตรงต่อสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ และมาตรา 233 บัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย ดังนั้นสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญจึงผูกพันต่อองค์กรตุลาการ โดยองค์กรตุลาการมีหน้าที่ตรวจสอบว่าองค์กรนิติบัญญัติและองค์การบริหารดำเนินการขัดกับสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ ซึ่งองค์กรตุลาการเองก็ต้องผูกพันกับสิทธิและเสรีภาพด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการใช้อำนาจทางตุลาการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลต้องตรวจสอบว่าในคดีที่พิจารณามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ ศาลต้องไม่ใช้หรือตีความรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในแนวทางที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ หากในคดีที่ศาลพิจารณาเป็นกรณีที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพแต่ศาลกลับพิจารณาว่าไม่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ หรือศาลใช้หรือตีความตามกฎหมายขัดกับสิทธิและเสรีภาพ ก็ถือว่าศาลละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากศาลล่างละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ศาลสูงพิจารณาแก้ไขได้ แต่หากคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ ประชาชนจะไม่สามารถยกบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ต่อศาลใดได้อีก ทั้งที่มาตรา 28 วรรคสองบัญญัติให้ประชนสามารถใช้สิทธิทางศาลได้กรณีถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญจากการใช้อำนาจขององค์กรตุลาการ โดยให้มีอำนาจวินิจฉัยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรมและศาลปกครองซึ่งถือที่สุดเฉพาะกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรอง เพื่อทำให้บทบัญญัติเรื่องสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติและได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง นอกจากนี้ในการใช้อำนาจทางปกครองของหน่วยงานภายในองค์กรตุลาการ ก็จะต้องผูกพันต่อสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้เช่นกัน เช่น ในการใช้อำนาจทางปกครองของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมและคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองจะต้องไม่ใช้อำนาจในแนวทางที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพ กรณีจึงมีปัญหาว่าหากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมใช้อำนาจการปกครองละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญจะให้องค์กรใดเป็นผู้ตรวจสอบ ในเมื่อพระราชบัญญัติตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติยกเว้นให้การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และหากคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองใช้อำนาจละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ ก็มีปัญหาว่ามีความเหมาะสมเพียงใดให้อำนาจศาลปกครองเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจ ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าให้ศาลปกครองเป็นผู้พิจารณาคดีที่มีปัญหาว่าคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมใช้อำนาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณากรณีที่มีปัญหาว่าคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีมีความเป็นกลาง และสามารถคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมิให้ถูกละเมิดโดยองค์กรตุลาการ
Other Abstract: Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 provides on section 27 the binding principle that Rights and Liberties recognized by the Constitution shall be protected and directly binding on the National Assembly, the Council of Ministers, Courts and other State organs. In addition, section 233 further states that Courts must proceed the trial and adjudication of cases in accordance with the Constitution and the law. As a result, the Judicial Organization has the duty to inspect whether or not the Legislative and the Executive Organizations perform their functions in a way that might conflict with Rights and Liberties. Furthermore, the Judicial Organization itself must be bound to the protection of Rights and Liberties also. That is, in exercising its power in the trial and adjudication of cases, it must inspect whether there is a matter of violation of Rights and Liberties and must not interpret the Constitution or the law in a way that would conflict with the Protection. Moreover, it deemed to be violation of the Rights and Liberties by Courts if, while trying cases , they choose to ignore the issue of the Violation or interpret the law in a way that conflicts with the Protection. In such cases, if the violation is caused by the lower court, a person may appeal to the higher court. But it leads to the problem if such violation is caused by the Supreme Court whereas section 28 of the Constitution states that a person whose Rights and Liberties are violated could bring the lawsuit or to defend oneself in the court. Therefore, the author suggests that the Constitutional Court shall have power to inspect the final judgment by Courts of Justice and Administrative Courts on the issue involved the violation of Rights and Liberties so that the Protection recognized by the Constitution shall be real and effective in practice. In addition, the exercise of administrative power by organs under the Judicial Organization shall be bound to the Protection of Rights and Liberties recognized by the Constitution also That is, the exercise of administrative power by the Judicial Commission of the Courts of Justice and the Judicial Commission of the Administrative Courts must not violate Rights and Liberties. The problem is whether who should be the inspector if the Judicial Commission of the Courts of Justice violates the Protection since the Administrative Court Act B.E. 2542 section 9 paragraph 2 provides the exception that the Act shall not apply to the execution of this Commission. Furthermore, if the Judicial Commission of the Administrative Court violates the Protection, it leads to the problem whether should it be appropriate to let Administrative Courts to be the inspector. Therefore, the author suggests that the Administrative Courts should be the inspector in the case that the violation is caused by the Judicial Commission of the Courts of Justice. And at the same time the Courts of Justice should be the inspector in the case that the violation is caused by the Judicial Commission of the Administrative Court. This will lead to the neutrality in the trial and adjudication and will result in the effective protection of Rights arid Liberties of the People from being violated by the Judicial Organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24872
ISBN: 9741751028
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanlaya_ji_front.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_ch1.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_ch2.pdf13.79 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_ch3.pdf15.92 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_ch4.pdf28.24 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_ch5.pdf22.24 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_ch6.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ji_back.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.