Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24881
Title: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารความเชื่อทางศาสนา และความทันสมัยของชาวไทยมุสลิมในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
Other Titles: An analysis of relationships between communication behavior, religious beliefs and modernization of Thai muslims in amphoe nongich patanee province
Authors: จินตวดี พุ่มศิริ
Advisors: จุมพล รอดคำดี
อาณัติ หมานสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การสื่อสาร -- ไทย -- ปัตตานี -- หนองจิก
สื่อมวลชนกับชนกลุ่มน้อย -- ไทย -- ปัตตานี -- หนองจิก
ศรัทธา (ศาสนาอิสลาม)
มุสลิม -- ไทย -- ปัตตานี -- หนองจิก
ปัตตานี -- ประชากร
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสาร ความเชื่อทางศาสนา และความทันสมัยของชาวไทยมุสลิมในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์รายบุคคล ตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สนใจศึกษาด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ตัวแปร คือ เพศ การศึกษา การสื่อสารระหว่างบุคคล และการติดต่อกับสังคมภายนอกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเปิดรับสื่อมวลชนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรทั้งหมดดังกล่าวนี้สามารถนำมาอธิบาย ถึงระดับความทันสมัยของกลุ่มตัวอย่างได้ถึง 14% (R[superscript 2]=14.04)นั่นคือชายที่มีการศึกษาสูงจะมีการสื่อสารกับบุคคลอื่นและสังคมภายนอก รวมทั้งการเปิดรับสื่อมวลชนมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และยังจะมีผลทำให้บุคคลนั้น เป็นคนที่ทันสมัย ส่วยตัวแปรด้านเพศ รายได้ ตำแหน่งในสังคม การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเปิดรับสื่อมวลชน มีค่าสหสัมพันธ์ในเชิงลบและสามารถนำมาอธิบายถึงความเชื่อทางศาสนาของกลุ่มตัวอย่างได้ถึง 18% (R[superscript 2]= 18.38) กล่าวคือหญิงที่มีรายได้ต่ำจะมีการสื่อสารกับบุคคลอื่น และการเปิดรับสื่อมวลชนน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ จะมีแนวโน้มที่เชื่อทางศาสนาในระดับสูง ตัวแปรด้านอายุ มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับการเปิดรับสื่อมวลชนและความทันสมัย แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเชื่อทางศาสนา แสดงว่าคนที่มีอายุมากจะมีการเปิดรับสื่อมวลชนน้อย และมีความทันสมัยต่ำ แต่มีความเชื่อทางศาสนาในระดับสูง นอกจากนี้ยังพบว่าความเชื่อทางศาสนาไม่มีความสัมพันธ์กับความทันสมัยอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นความแตกต่างด้านความเชื่อทางศาสนาไม่สามารถใช้เป็นตัวชี้ให้เห็นแนวโน้มของระดับความทันสมัยได้
Other Abstract: The purpose of this study is to examine a relationship between communication behavior, religious beliefs and Modernization. Sample were drawn from an interview of 250 Thai Muslims in Amphoe Nongich Patanee Province. The data was analized into two main parts. First, percentage values were reparted. Secondly, six hypothesis were tested with the Pearson correlation method and Multiple Regression. The major findings are as follows: There is a positive relationship between the media exposure and the variables sex, educations, interpersonal communication, cosmo-politeness, and media exposure. It is also found these independent variables can explain the 14% variation in the level modernity and men with higher education, more cosmopolite and Greater interposonal communication or higher media exposure are likely to be modernized. Furthemore, sex income social leadership, interpersonal communication and media exposure are negatively correlated with religious beliefs to explain the 18% level of religious beliefs. Women on lower income, no social position, lower interpersonal communication, lower media exposure tend to have higher religious beliefs. Age is negative correlated with media exposure and modernity and positive with religious beliefs. Persons in higher age group have less media exposure and modernity but higher religious beliefs. It is also found that religious beliefs do not correlated with modernity. Therefore, the difference of religious beliefs can not to the index of modernity degree.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2529
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24881
ISBN: 9745669628
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jintavadee_po_front.pdf535.92 kBAdobe PDFView/Open
jintavadee_po_ch1.pdf629.55 kBAdobe PDFView/Open
jintavadee_po_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
jintavadee_po_ch3.pdf367.81 kBAdobe PDFView/Open
jintavadee_po_ch4.pdf876.54 kBAdobe PDFView/Open
jintavadee_po_ch5.pdf643.65 kBAdobe PDFView/Open
jintavadee_po_back.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.