Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24885
Title: ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากแมลงทอดที่รับประทานได้บางชนิด หลังทำปฏิกิริยากับไนไตรท โดยใช้การทดสอบเอมส์
Other Titles: The mutagenicity of nitrite treated extracts from some edible fried insects, using ames test
Authors: รุจิเรข ชนาวิรัตน์
Advisors: ลินนา ทองยงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดจากสัตว์
ไนไตรท์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารสกัดจากแมลงทอด 10 ชนิด ได้แก่ แมลงตับเต่า แมลงจิโปม ดักแด้ไหม จิ้งหรีด แมลงกินูน ตั๊กแตนปาทังก้า แมลงมัน แม่แป้ง แมลงดานา และแมลงกระชอน ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทำการประเมินศักยภาพการก่อกลายพันธุ์ด้วยวิธีเอมส์ โดยใช้เชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhimurium สายพันธุ์ TA98 (การเลื่อนของเบส) และ TA100 (การแทนที่ของเบส) อย่างไรก็ตามสารสกัดจากแมลงทอดทั้ง 10 ชนิด มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์หลังทำปฏิกิริยากับไนไตรท ในสภาวะที่เป็นกรด (พีเอช 3 - 3.5) โดยไม่ต้องมีระบบเอนไซม์กระตุ้นสารพิษ เมื่อทดสอบด้วยเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และเมื่อทดสอบด้วยเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA100 พบว่าสารสกัดจากแมลงทอด 2 ชนิดเท่านั้นที่แสดงฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ คือ แมลงจิโปม และแมลงกระชอน การศึกษาผลของเส้นใยที่สกัดจากใบตำลึงต่อฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ (เติมเส้นใยใบตำลึงเมื่อปฏิกิริยาไนโตรเซชันดำเนินไปแล้ว 2 ชั่วโมง) และการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ (เติมเส้นใยใบตำลึงตั้งแต่เริ่มต้นปฏิกิริยาไนโตรเซชัน) ของสารสกัดจากแมลงทอด 3 ชนิด ทำ ปฏิกิริยากับไนไตรท ซึ่งคัดเลือกจากสารสกัดแมลงทอดที่ให้ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์สูงสุด 2 ชนิด ต่อเชื้อแบคทีเรีย S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 หรือ/และ TA100 คือแมลงจิโปม แมลงกระชอน (ทำการทดสอบสายพันธุ์ TA98 และ TA100 ) และแมลงตับเต่า (ทำการทดสอบเฉพาะสายพันธุ์ TA98 )พบว่า เส้นใยใบตำลึงไม่สามารถลดฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดแมลงจิโปมทอด และแมลงกระชอนทอด เมื่อทดสอบด้วยเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 และแมลงตับเต่าทอด เมื่อทดสอบด้วยเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 แต่พบแนวโน้มว่าเมื่อปริมาณเส้นใยใบตำลึงมากขึ้น ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ลดลง และพบว่าเส้นใยใบตำลึงไม่สามารถลดการเกิดสารก่อกลายพันธ์ของสารสกัดแมลงจิโปมทอดและแมลงกระชอนทอด เมื่อทดสอบด้วยเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 และ TA100 และสารสกัดแมลงตับเต่าทอด เมื่อทดสอบด้วยเชื้อ S. typhimurium สายพันธุ์ TA98 ซึ่งจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลของเส้นใยใบตำลึงที่มีต่อฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และการเกิดสารก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดจากแมลงทอด 3 ชนิด ทำปฏิกิริยากับไนไตรทไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้น สภาวะที่ใช้ในการศึกษาและชนิดของเส้นใยอาหาร
Other Abstract: The extracts from giant water bug, true water beetle, mole cricket, short tailed cricket, scarab beetle, house cricket, bombay locust, long-horned grasshopper, red ant, and silk worm pupae did not have mutagenicity when they were tested by using Salmonella typhimurium strain TA98 (detects frameshift mutagens) and TA100 (detects base-pair substitute mutagens) of the Ames test. However, they were mutagenic after being reacted with nitrite in an acidic condition (pH3 – 3.5) without activating system, toward S. typhimurium strain TA98 and only 2 extracts from short tailed cricket and mole cricket showed direct mutagenicity toward S. typhimurium strain TA100. Antimutagenicity (added fiber 2 hour after nitrosation reaction) and antimutagen formation (added fiber before nitrosation reaction) of ivygourd fiber on the 3 nitrite treated extracts, short tailed cricket, mole cricket and true water beetle, selected from the samples that exhibited the two highest mutagenicity no S. typhimurium strain TA98 or/and TA100 were investigated. It was found that ivygourd fiber could not diminish the mutagenicity of nitrite treated sample extracts from short tailed cricket, and mole cricket on S. typhimurium TA98 and TA100 and that from true water beetle on S. typhimurium TA98. However, higher amount of fiber trended to reduce the mutagenicity of those sample extracts. Antimutagen formation of ivygourd fiber was not revealed from the reaction between nitrite and extract from short tailed cricket or mole cricket on S. typhimurium TA98 or TA100 and extract from true water beetle on S. typhimurium TA98. The results of this study indicate that antimutagenicity and antimutagen formation of ivygourd fiber is not clear, depending on type of mutagens, conditions of study and type of dietary fiber.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24885
ISBN: 9741710976
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rujirek_ch_front.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_ch2.pdf9.96 MBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_ch3.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_ch4.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_ch5.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_ch6.pdf467.1 kBAdobe PDFView/Open
Rujirek_ch_back.pdf10.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.