Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24892
Title: ทฤษฎีอำนาจซื้อระหว่างประเทศกับการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ของประเทศไทย
Other Titles: The purchasing power party theory and the determination of the exchange rates
Authors: วรรณี จิตสร้างบุญ
Advisors: อัฐฌาน พัฒนจิตวิไล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทดสอบการใช้ทฤษฏี Purchasing Power Parity (PPP) ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศไทย โดยเริ่มจากการหาค่าดัชนีราคาเปรียบเทียบ และค่าถ่วงน้ำหนักที่เหมาะสมในการใช้คำนวณหาค่า PPP เพื่อเป็นแนวทางในการคำนวณหาค่าเงินบาทของไทย ตัวแปรดัชนีราคาเปรียบเทียบ สร้างขึ้นจาก ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาขายส่ง (WPI) ใช้ข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี 2516 ถึงปี 2530 เลือกข้อมูลจากตัวแทนการค้ากับไทยสูงสุด 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย สหราชอาณาจักร และฮ่องกง นำมาถ่วงน้ำหนักด้วย Import weight และ Total trade Weight แล้วนำค่าดัชนีราคาเปรียบเทียบมาหาความสัมพันธ์กับดุลการชำระเงิน (ดุลการค้า) โดยแบ่งกรณีศึกษา เป็น 16 กรณีศึกษา จากการศึกษาสรุปได้ว่า การใช้ทฤษฏี PPP ในการคำนวณหาค่าเงินบาทของไทย องค์ประกอบที่ควรนำมาใช้ได้แก่ ดัชนีราคาขายส่งของไทย (WPI) เทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) นำมาถ่วงน้ำหนักด้วยวิธี และ Total trade weight ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ค่า PPP ให้ความสัมพันธ์กับดุลการค่าดีกว่าดุลการชำระเงิน
Other Abstract: The Objective of this study, is to test the Theory of Purchasing , Power Parity (PPP) for settling the exchange rate in Thailand. This study attempts to find the appropriate price index and weight average that will tend to find the equilibrium of Baht in terms of unit of major foreign currencies of Thai's trading partners. The study utilizes the quarterly data covering the period 1973-1986 It is found that for computed RPI of Thailand, the ratio of domestic wholesale price index to foreign consumer price index, weighted by the total trade weight, is the most appropriate ratio for settling the exchange rate for Baht. The result of study also shows that the RPI has stronger relations with the Balance of Trade than the Balance of Payments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24892
ISBN: 9745779679
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_ji_front.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_ch1.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_ch2.pdf9.17 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_ch3.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_ch4.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_ch5.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_ch6.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_ji_back.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.