Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25067
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
dc.contributor.authorวิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-21T10:11:20Z
dc.date.available2012-11-21T10:11:20Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741715684
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25067
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractบทประพันธ์เพลง “ซิมโฟนิกโพเอ็ม นครวัด” ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างบทประพันธ์เพลงบทใหม่ในแบบดนตรีพรรณนา อีกทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างและกระตุ้นความสนใจสำหรับผู้ฟังโดยทั่วไป การประพันธ์เพลงบทนี้ผู้ประพันธ์ปรารถนาที่จะบรรยายให้ผู้ฟังได้จินตนาการถึงบรรยากาศแห่งนครวัด บนความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งด้านความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนที่มีต่อโบราณสถาน รวมถึงความเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ ที่มีทั้งความรุ่งเรืองและความเร้นลับแฝงอยู่ในตัวโบราณสถานเอง ลักษณะโดยรวมของบทประพันธ์ เป็นบทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตรา ร่วมกับกลุ่มนักร้องประสานเสียง มีความยาวประมาณ 21 นาที ประกอบด้วยโครงสร้างใหญ่จำนวน 3 ท่อนและเป็นบทประพันธ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบนีโอโทนาลิตี องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในบทประพันธ์เพลง ได้แก่ ขั้นคู่ 4-5 คอร์ดเรียงคู่ 4-5 คอร์ดเรียงคู่ 2 หรือกลุ่มเสียงแบบคลัซเตอร์ คอร์ดดิมินิชขั้นคู่เจ็ด โพลีคอร์ด และเสียงประสานที่เป็นแบบโพลี โทนาลิตี เป็นต้น การดำเนินแนวทำนองอีกทั้งแนวเสียงประสาน มีการเคลื่อนที่แบบขนานรวมไปถึงการใช้ลักษณะของทรัยโทน ส่วนพื้นผิวของบทประพันธ์มีทั้ง โมโนโฟนี โพลีโฟนี โฮโมโฟนี และเฮเทโรโฟนี ประกอบกับเทคนิควิธีการประพันธ์อย่างหลากหลาย เช่น ซีเควนซ์ การเลียนแบบ การซ้ำ การพลิกกลับและการปรับ เป็นต้น นอกจากนั้นด้านอัตราจังหวะมีการปรับเปลี่ยนเครื่องหมายกำหนดจังหวะหลายครั้ง โดยมีทั้งอัตราจังหวะธรรมดา อัตราจังหวะผสม และอัตราจังหวะซ้อน สำหรับลักษณะเฉพาะของบทประพันธ์เพลงบทนี้เป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีแบบมินิมอลลิส และอิมเพรสชันนิส
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this composition “Symphonic Poem Angkor Wat” is to create a new piece of program music, and also to encourage and stimulate the general audience’s attention. The composer intends to create the atmosphere of the ancient city “Angkor Wat” to the audience, whose imagination flows on the sense of the ancient mist, and on the realization of the people’s fate toward the holy city, together with the sentiment of the glory and the power of the sacred kingdom. The composition is scored for an orchestra and a chorus. The duration is approximately 21 minutes. The composition, based on Neo-tonality, consists of three movements. An important component in this composition is the use of harmonic language, based on the 4th and 5th intervals, quartal chord, quintal chord, tone cluster, polychord and polytonality. Various melodic figurations move in parallel motion, and the tritone is of significance. This composition is presented in monophony, polyphony, homophony and heterophony. The compositional techniques employed are sequence, imitation, repetition, inversion and transformation, etc. Regarding meter, different time signatures are used: apparently simple time, compound time and complex time, with the combination of minimalistic and impressionistic styles.
dc.format.extent1752802 bytes
dc.format.extent1005104 bytes
dc.format.extent84122143 bytes
dc.format.extent380889 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleซิมโฟนิกโพเอ็ม นครวัดen
dc.title.alternativeSymphonic Poem Angkor Waten
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประพันธ์เพลงes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiboon_tr_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_tr_ch1.pdf981.55 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_tr_ch2.pdf82.15 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_tr_back.pdf371.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.