Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25092
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์และครู เกี่ยวกับโครงการประเมินคุณภาพนักเรียนชั้น ป.6 ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2527 ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: Opinions of administrators, supervisors and teachers on the prathom suksa six student quality assessment project at the national level, academic year 1984, The Office of the National primary education commission
Authors: บุญส่ง สังฆะ
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาขั้นประถม
นักเรียนประถมศึกษา
การบริหารคุณภาพโดยรวมทางการศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู เกี่ยวกับโครงการประเมินคุณภาพนักเรียนชั้น ป.6 ระดับประเทศ ปีการศึกษา 2527 ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเรื่องกระบวนการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพ ผลกระทบจากการดำเนินงานตามโครงการ สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ระหว่างจังหวัดที่มีผลการประเมินอยู่ในกลุ่มลำดับสูง กลุ่มลำดับกลาง และกลุ่มลำดับต่ำ เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพ และผลกระทบจากการดำเนินงานตามโครงการประเมินคุณภาพนักเรียนชั้นป.6 ระดับประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด แบบสอบถามหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และแบบสัมภาษณ์ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ตัวอย่างประชากรได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดที่มีผลการประเมินลำดับที่ 1-10 ลำดับที่ 32-41 ลำดับที่ 64-73 หรือกลุ่มลำดับสูง กลุ่มลำดับกลาง กลุ่มลำดับต่ำ ตามลำดับ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 478 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานตามดครงการ กลุ่มลำดับสูงและกลุ่มลำดับกลางโดยเฉลี่ยเห็นว่ามีปัญหาน้อยเกือบทุกขั้นตอน ส่วนกลุ่มลำดับต่ำโดยเฉลี่ยเห็นว่ามีปัญหาระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของทั้ง 3 กลุ่ม ปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยกลุ่มลำดับสูงและกลุ่มลำดับกลางมีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานน้อยกว่ากลุ่มลำดับต่ำแตกต่างกันเป็นรายคู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตามโครงการ กลุ่มลำดับสูงและกลุ่มลำดับกลางโดยเฉลี่ยเห็นว่า มีปัญหาน้อย ส่วนกลุ่มลำดับต่ำโดยเฉลี่ยเห็นว่า เครื่องมือมีปัญหาระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ระหว่าง 3 กลุ่ม ที่มีต่อเครื่องมือประเมินตามโครงการ ปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยกลุ่มลำดับสูงและกลุ่มลำดับกลางมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือในการประเมินตามโครงการน้อยกว่ากลุ่มลำดับต่ำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 3. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ต่อผลกระทบจากการดำเนินตามโครงการ พบว่า โดยเฉลี่ยทั้งกลุ่มลำดับสูง กลุ่มลำดับกลาง และกลุ่มลำดับต่ำ เห็นว่ามีผลกระทบในทางบวกในระดับปานกลางถึงมาก โดยทุกกลุ่มเห็นว่ามีผลทำให้ครูผู้สอนเร่งรัดการเรียนการสอนมากขึ้น และส่งผลทางบวกต่อการเร่งคุณภาพการศึกษา ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ในระดับมาก ส่วนผลกระทบในทางลบต่อขวัญและกำลังใจของผู้บริหาร และครูผู้สอน ปรากฏว่าโดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ระหว่างกลุ่มลำดับสูง กลุ่มลำดับกลาง และกลุ่มลำดับต่ำ ที่มีต่อผลกระทบ ปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยกลุ่มลำดับกลางเห็นว่ามีผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มลำดับต่ำแตกต่างกันเป็นรายคู่ที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.01 4. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครู ต่อสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับโครงการ ปรากฎว่า 4.1 ด้านกระบวนการดำเนินงานมีสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขคือ นโยบายของโครงการควรให้ชัดเจน และทำความเข้าใจแก่ครูให้ทั่วถึง ผลการประเมินมี่ควรนำไปเปรียบเทียบระหว่างจังหวัด การสุ่มตัวอย่างในการประเมินควรเพิ่มมากขึ้น การเก็บข้อมูลควรมีแบบประเมินให้เพียงพอ และควรตรวจสอบแบบประเมินให้ถูกต้องก่อนนำไปใช้ทุกคร้ง เกณฑ์การให้คะแนนควรให้ละเอียด ชัดเจน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินควรใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพเท่านั้น การอภิปรายผลจากการประเมินควรให้กว้างขวางทุกแง่ทุกมุม และควรแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนทราบอย่างทั่วถึง 4.2 ด้านเครื่องมือในการประเมินตามโครงการ มีสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขคือ การสร้างเครื่องมือควรให้ได้มาตรฐาน เกณฑ์การให้คะแนนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยควรให้ชัดเจน ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินอื่นๆ ควรให้สัมพันธ์กับที่โรงเรียนเคยใช้อยู่ อุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการประเมินควรมีให้พร้อม สมรรถภาพการประเมินควรเน้นภาคปฏิบัติให้มากขึ้น และแบบประเมินควรมีภาพประกอบให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
Other Abstract: The purposes of this research were: 1. To study the opinions of administrators, supervisors and teachers on the Prathom Suksa Six students quality assessment project initiated by the Office of National Primary Education Commission concerning operational process, evaluation methods, effects of the operation and its improvements. 2. To compare opinions of administrators, supervisors, and teachers on the grounds of operational process, evaluation methods and effects of the operation among provinces according to the level of the results of the assessment: high, middle or low. The instruments were 1) questionnaires distributed to the supervisors in the Office of Provincial Primary Education, Primary Education district chiefs, supervisors in Primary Education district, school administrator and teachers, 2) an interviews form for interviewing the directors of the Provincial Education Office. In this study, the 478 samples were administrators, supervisors and Prathom Suksa Six teachers in the provinces, having evaluation results in the following three categories: 1st-10st,32nd-41st and 64th-75th or at the high level, the middle level and the low level respectively. The finding were as follows: 1. The operational process of the project; the samples in the high and the middle levels stated minor problems encountered during each operational step: where as the low level saw that there were some difficulties at the moderate level. Comparing in a pair about opinions of the samples in the three group levels: Their opinions were significantly different at the level of 0.01. The high level group and the middle level group considered less problems than the opinion of the low group. They were different significantly at the level of 0.01 2. The methods used in the evaluation process of the project. The opinions were varied. The high level group and the middle level group considered less problems while the low level group viewed the methods causing a moderate level of problems. Comparing the opinions of three group level. The opinions were significantly different at the level of 0.01. The opinions of the high level group and middle level group about the problems of evaluation methods were less than the opinions of the low level group. They were different significantly at the level of 0.01 3. The effects of the operational process of the project; most opinions of the high, middle and low level groups were positive from highly to moderately satisfactory. Each group agrees to the positive effects of the assessment because they could motivate the teachers in accelerating the teaching-learning methods. In addition, they also highly benefit and spirits of the administrators and teachers, the project was measured at the moderate level. Comparing the opinions of the three level groups their opinions about the effects were significantly different at the level of 0.01. The middle level group considered less effect than the one of the low level group. It was significantly different at the level of 0.01. 4. The opinions of the administrators, supervisors and teachers on the topic of improvement of the project could be categorized as follows: 4.1 Operational process. The improvement should be focused on the teacher’ understanding in the project’s policy. The evaluation result of each province should not be compared. A random sampling in the evaluation process should be increased. The data collecting should have been corrected and be sufficient in number of evaluation forms. The classification and categorization should be done clearly in detail. The result of the analysis and evaluation should be employed toward the quality increment, and the discussion on evaluating result should be broad in scope, the exploring on every possible variations and all parties concerned and participated should be notified of the evaluation. 4.2 On the aspect of the methods of the evaluation of the project, the construction of methods ought to be standardized. The group behavior evaluation has to be clear and accurate, while the other categories should be concurrent with the procedures employed be the school. Instruments and methods in helping the evaluation must be well prepared. The efficiency of the evaluation is to emphasize more on the experimental practices, and the evaluation form ought to have pictures relevant to the local conditions, subjected to the data collecting and sampling.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25092
ISBN: 9745672106
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonsong_Sa_front.pdf499.92 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Sa_ch1.pdf587.52 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Sa_ch2.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Sa_ch3.pdf409.94 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Sa_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Sa_ch5.pdf709.05 kBAdobe PDFView/Open
Boonsong_Sa_back.pdf859.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.