Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25258
Title: ความเข้าใจความหมายของถ้อยคำและสำนวนภาษาไทยของนักศึกษา
Other Titles: Student apprehension of Thai words and idioms
Authors: บุญเลิศ ครุฑเมือง
Advisors: สวนิต ยมาภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- สำนวนโวหาร
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์รวบยอดสามประการคือ (ก) เพื่อศึกษาระดับความสามารถของนักศึกษาวิทยาลัยครูชั้นปีที่ 2 ในวิทยาลัยครูทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำและสำนวนไทย (ข) เพื่อศึกษาว่า ความสามารถในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำธรรมดากับความสามารถในการเข้าใจถ้อยคำที่เป็นสำนวน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหรือไม่ เพียงไร และ (ค) เพื่อศึกษาว่า ความแตกต่างระหว่างเพศ ระหว่างภูมิลำเนา ระหว่างผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหมวดวิชาภาษาไทย และระหว่างผลสัมฤทธิ์ในการเรียนโดยทั่วไป มีผลต่อความสามารถของนักศึกษาในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำและสำนวนภาษาไทยหรือไม่ เพียงไร วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำไทย 2 แบบ คือ ถ้อยคำธรรมดา และถ้อยคำที่เป็นสำนวน แบบละ 60 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ (Multiple choice) แบบทดสอบได้ทดลองสอบก่อนที่จะนำมาเป็นแบบทดสอบจริง ตัวอย่างประชากรเป็นนักศึกษาชาย 182 คน และนักศึกษาหญิง 198 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2517 ในวิทยาลัยครูส่วนกลาง 2 แห่ง ส่วนภูมิภาค 2 แห่ง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบทั้ง 2 แบบมาหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบค่า z ผลของการวิจัย 1. ระดับความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำทั้งแบบถ้อยคำธรรมดาและถ้อยคำที่เป็นสำนวนของนักศึกษาทั้งหมดได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 57.2342 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.3770 2. คะแนนความสามารถในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำของนักศึกษาจากแบบทดสอบทั้ง 2 แบบ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .6315 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. คะแนนความสามารถในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำของนักศึกษากับคะแนนหมวดวิชาภาษาไทย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิทยาลัยครูธนบุรี เป็น .2926 วิทยาลัยครูจันทรเกษม เป็น .5149 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เป็น .3932 วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ เป็น .4012 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. คะแนนความสามารถในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำของนักศึกษากับคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ วิทยาลัยครูธนบุรี เป็น .2905 วิทยาลัยครูจันทรเกษม เป็น .4962 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เป็น .4007 วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ เป็น .4035 มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 5. กลุ่มนักศึกษาหญิง มีความสามารถในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำ ทั้ง 2 แบบ ดีกว่ากลุ่มนักศึกษาชาย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 6. กลุ่มนักศึกษาในวิทยาลัยครูส่วนกลาง มีความสามารถในการเข้าใจความหมายของถ้อยคำทั้ง 2 แบบ ดีกว่ากลุ่มนักศึกษาในวิทยาลัยครูส่วนภูมิภาค อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: Purpose: Using second year central and regional teachers’ college students, the purpose of this study was threefold: (a) to examine the students levels of apprehension of words and idioms; (b) to find out the correlation between their ability to apprehend selected ordinary words and idioms; and (c) to determine the influence of their sex, geographical setting, and scholastic achievement on their ability to apprehend. Procedure: Two sets of tests were designed by the author: the first one was ordinary word-oriented while the second was idiom-oriented. Both of them were of similar length and pattern, namely sixty multiple choice items. All of the items yielded relevant data after they had been pretested and systematically validated. One hundred eighty-two boys and one hundred ninety-eight girls took the tests. The results were then interpreted in terms of statistical means, standard deviations, Pearson’s product moment correlations and the z-values. Results: 1. The level of apprehension of ordinary words and idioms of the students was 57.2342 of the mean and 13.3770 of the standard deviation. 2. The students’ ability to apprehend the material on the two tests was correlated; the correlation was .6315 at the .01 level of significance. 3. The correlation of the marks form the researcher’s tests and their marks in subjects in the Thai language curriculum were: Thonburi: .2926, Chankasem: .5149, Pibulsongkram: .3932, Uttaradit: .4012, at the .01 level of significance. 4. The correlation of the marks from the researcher’s tests and the marks of the students’ general scholastic achievement were: Thonburi: .2905, Chankasem: .4962, Pibulsongkram: .4007, Uttaradit: .4035, at the .01 level of significance. 5. The group of girls scored higher than boys on these two tests at the .01 level of significance. 6. The group of students from the central region got higher marks than students from regional teachers’ colleges on the tests at the .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25258
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonlert_Cr_front.pdf397.17 kBAdobe PDFView/Open
Boonlert_Cr_ch1.pdf567.31 kBAdobe PDFView/Open
Boonlert_Cr_ch2.pdf397.21 kBAdobe PDFView/Open
Boonlert_Cr_ch3.pdf519.63 kBAdobe PDFView/Open
Boonlert_Cr_ch4.pdf325.79 kBAdobe PDFView/Open
Boonlert_Cr_ch5.pdf513.24 kBAdobe PDFView/Open
Boonlert_Cr_back.pdf934.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.