Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25351
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีระชัย ปูรณโชติ
dc.contributor.authorชลอ วงศ์แสวง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-22T09:13:46Z
dc.date.available2012-11-22T09:13:46Z
dc.date.issued2522
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25351
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างครูกับนักเรียน และเปรียบเทียบพฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านระดับชั้นเรียนและเพศของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยครู จำนวน 30 คน และนักเรียนจำนวน 30 ห้องเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 4 โรงเรียน ซึ่งแยกเป็นโรงเรียนที่เป็นนักเรียนชายล้วน และโรงเรียนที่เป็นนักเรียนหญิงล้วน อย่างละ 2 โรงเรียน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบวิเคราะห์พฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนของโอเบอร์ (Ober’s Interaction Analysis Techniques) และเพิ่มเติมพฤติกรรมทางวาจาประเภทคำถาม 5 ประเภท การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการหาค่าร้อยละของพฤติกรรมทางวาจาแต่ละประเภทที่ปรากฏในการเรียนการสอน, เปรียบเทียบอัตราส่วนพฤติกรรมระหว่างครูกับนักเรียน ตลอดจนเปรียบเทียบพฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านระดับชั้นเรียนและเพศของนักเรียน โดยการทดสอบค่า t ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมทางวาจาที่ปรากฏในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างครูกับนักเรียน เป็นพฤติกรรมของครูร้อยละ 78.34 และเป็นพฤติกรรมของนักเรียนร้อยละ 17.80 ส่วนพฤติกรรมการเงียบหรือความสับสนวุ่นวายมีร้อยละ 3.85 2. พฤติกรรมทางวาจาที่ปรากฏในการเรียนการสอนมากตามลำดับได้แก่ 2.1 พฤติกรรมทางวาจาประเภทการอธิบาย ซึ่งครูใช้ร้อยละ 54.90 และนักเรียนใช้ร้อยละ 14.60 2.2 พฤติกรรมทางวาจาประเภทคำถามที่นำไปสู่การอธิบาย ซึ่งครูใช้ร้อยละ 9.15 และนักเรียนใช้ร้อยละ 1.34 2.3 พฤติกรรมทางวาจาประเภทการขยายความ ซึ่งครูใช้ร้อยละ 5.45 และนักเรียนใช้ร้อยละ .15 2.4 พฤติกรรมทางวาจาประเภทคำถามที่นำไปสู่การสังเกต ซึ่งครูใช้ร้อยละ 4.22 และนักเรียนใช้ร้อยละ .40 3. พฤติกรรมทางวาจาระหว่างครูกับนักเรียนที่ไม่ปรากฏในการเรียนการสอน คือ พฤติกรรมทางวาจาประเภทคำถามที่นำไปสู่การออกแบบการทดลองและการควบคุมตัวแปร 4. การเปรียบเทียบพฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในด้านระดับชั้นเรียน โดยการทดสอบค่า t ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ปรากฏว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน 5. การเปรียบเทียบพฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในด้านเพศของนักเรียน โดยทดสอบค่า t ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ปรากฏว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study and analyze the verbal interaction in science teaching-learning at the lower secondary education level between teachers and students and compare the students’ verbal interaction interm of class levels and sexes. The samples of this study consisted of thirty teachers and thirty classes of students from two boy schools and two girl schools. The Ober’s Interaction Analysis Teachniques with five additional elicits were used to collect the data which was analyzed by means of percentage and t-test. The results of this study were : 1. The verbal interaction in science teaching-learning at the lower secondary education level between the teachers and the students were 78.34 percent for that of the teachers, 17.80 percent for that of the students and 3.85 percent for that of silence or confusion. 2. The sequence frequently used verbal interaction were : 2.1 The [initiates] which 54.90 percent used by the teachers and 14.60 percent used by the students. 2.2 The elicits for description which 9.15 percent used by the teachers and 1.34 percent used by the students. 2.3 The amplifies which 5.45 percent used by the teachers and .15 percent used by the students. 2.4 The elicits for observation which 4.22 percent used by the teachers and .40 percent used by the students. 3. The verbal interaction between the teachers and the students which did not occur in teaching-learning situation were the elicits for experimental design and variables control. 4. There was no statistical significant differences of the verbal interaction in term of class levels. 5. There was no statistical significant differences of the verbal interaction in term of students’ sexes.
dc.format.extent442562 bytes
dc.format.extent409060 bytes
dc.format.extent951998 bytes
dc.format.extent312823 bytes
dc.format.extent491000 bytes
dc.format.extent429124 bytes
dc.format.extent1038871 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์พฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeAnalysis of verbal interaction in science teaching-learning at the lower secondary education levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalo_Wo_front.pdf432.19 kBAdobe PDFView/Open
Chalo_Wo_ch1.pdf399.47 kBAdobe PDFView/Open
Chalo_Wo_ch2.pdf929.69 kBAdobe PDFView/Open
Chalo_Wo_ch3.pdf305.49 kBAdobe PDFView/Open
Chalo_Wo_ch4.pdf479.49 kBAdobe PDFView/Open
Chalo_Wo_ch5.pdf419.07 kBAdobe PDFView/Open
Chalo_Wo_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.