Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25356
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณนิภา รอดวรรณะ
dc.contributor.authorสิริมา โพธิ์ทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned2012-11-22T09:22:58Z
dc.date.available2012-11-22T09:22:58Z
dc.date.issued2547
dc.identifier.isbn9741764251
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25356
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนการบัญชีภาครัฐในระบบบัญชีส่วนราชการจากเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์คงค้าง และปัญหาในการปฏิบัติงานเมื่อนำระบบบัญชีมาใช้ โดยจะทำการศึกษาในลักษณะของการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ปฏิบัติงานบัญชี ผู้ใช้รายงานการเงิน และผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี ซึ่งแบบสอบถามได้แบ่งออกเป็น 3 ชุดที่แตกต่างกัน สำหรับแต่ละกลุ่มตัวอย่างโดยสถิติที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้คือ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบความเป็นอิสระ และการทดสอบผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสองประชากร ผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน ในส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงความเข้าใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานบัญชี พบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คงค้างอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่อง การจัดจำแนกประเภทรายการ การรับรู้รายการ และความไม่สอดคล้องกันของการบัญชี เกณฑ์คงค้างกับพระราชบัญญติงบประมาณ สำหรับส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์คงค้างที่มีต่อผู้ใช้รายงานการเงิน พบว่า การนำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างมาใช้ส่งผลกระทบในทางที่ดีขึ้นต่อผู้ใช้รายงานการเงินในเรื่อง การตัดสินใจ การวางแผนงาน การบริหารงาน การประเมินผลการดำเนินงาน ความถูกต้องและสะท้อนถึงความเป็นจริงของข้อมูล และได้ส่งผลกระทบในระดับปานกลางในเรื่อง เวลาที่ใช้ในการอ่าน และการทำความเข้าใจรายงานการเงิน และการจัดทำงบประมาณ สำหรับในส่วนที่สามเป็นการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์คงค้างที่มีต่อผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี พบว่า การนำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างมาใช้ได้ส่งผลกระทบในระดับปานกลาง การปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีของผู้ตรวจสอบบัญชี ในส่วนของ การวางแผนการตรวจสอบ การจัดทำแนวการกระดาษทำการ และอื่นๆ รวมทั้งการศึกษาและประเมินผลการควบคุมภายใน แต่มีผลกระทบอย่างมากในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ ซึ่งมีจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณรายการบัญชี อย่างไรก็ตามทั้งผู้ปฏิบัติงานบัญชี ผู้ใช้รายงานการเงิน และผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี เห็นด้วย และรับทราบถึงประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงระบบบัญชี
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the effects of the governmental accounting system changes from cash basis to accrual basis and problems of implementation by way of a survey research method. The questionnaires are designed for collecting data from 3 groups of samples: (1) accounting officers, (2) management users and (3) auditors. The data were analyzed by using descriptive statistics, test of independence and paired-sample test. The results of the research are divided into three parts. Part one includes the study of the understanding of accounting officers on implementation. The results indicate that most of the accounting officers understand the implementation of an accrual basis at a medium to high level. However, major problems they encounter are classification and realization of transaction and an unconformity of an accrual accounting system and the Budget Act. Part two focuses on the study of the impact of governmental accounting system changes upon the users. The results indicate that the implementation of an accrual basis highly impact the users in terms of decision making, planning, managing, performance assessment, accuracy of data and reflection of facts. Besides, it has a medium impact on time spent in reading and understanding the financial statements, and budget preparation. Part three focuses on the study of the effects of governmental accounting system changes to auditor. It was found that the implementation of an accrual basis has an impact at a medium level to an audit planning, preparation of audit program and the rest of working papers which includes studying and assessment of internal control. But it impacts at a high level on time spent in performing an audit work which is very limited compared to volume of transactions. Anyway, accounting officer, management user and auditor realized the benefits of changing the accounting system.
dc.format.extent3091160 bytes
dc.format.extent1893064 bytes
dc.format.extent5163229 bytes
dc.format.extent2132870 bytes
dc.format.extent26011571 bytes
dc.format.extent2011197 bytes
dc.format.extent29523530 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลกระทบจากการเปลี่ยนการบัญชีภาครัฐในระบบบัญชีส่วนราชการจากเกณฑ์เงินสดเป็นเกณฑ์คงค้างen
dc.title.alternativeThe effect of changing governmental accounting from cash basis to accrual basisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirimar_po_front.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Sirimar_po_ch1.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Sirimar_po_ch2.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open
Sirimar_po_ch3.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Sirimar_po_ch4.pdf25.4 MBAdobe PDFView/Open
Sirimar_po_ch5.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Sirimar_po_back.pdf28.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.