Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25412
Title: การวิเคราะห์การสื่อสารเพื่อพัฒนาความรู้เรื่องเพศศึกษาในรายการ "ชูรัก ชูรส"
Other Titles: Communication analysis for knowledge development on sex education in "Churak Churod" tv program
Authors: สุภาวดี หวังชาลาบวร
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและประเภทของปัญหาเรื่องเพศที่นำเสนอในรายการ“ชูรัก ชูรส” เพื่อวิเคราะห์การสื่อความหมายเรื่องเพศที่ปรากฎในรายการ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาในรายการให้เป็นที่ยอมรับได้ในสังคมไทย โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหารายการด้วยกรอบแนวคิดทฤษฎีสัญญะวิทยา ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นปัญหาเรื่องเพศมี 6 ประเด็น ดังนี้ ด้านสังคม (ร้อยละ 36.52) ด้านจิตใจ (ร้อยละ 15.22) ด้านพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 13.91) ด้านสุขอนามัย (ร้อยละ 12.61) ด้านกายวิภาคและสรีระ (ร้อยละ 10.00) และเป็นประเด็นปัญหาอื่นๆ (ร้อยละ 11.74) ในการสื่อความหายเรื่องเพศพบว่ามีการใช้สัญญะแบบ Icon, Index และ Symbol ในการสื่อความหมายเรื่องเพศผ่านตัวรายการ และการสื่อสารในรายการพบว่ามีการใช้สัญญะสื่อความหมายเรื่องเพศโดยนัยผ่านวัจนภาษา ส่วนอวัจนภาษาที่ปรากฎการสื่อความหายเรื่องเพศพบภาพการ์ตูนสาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และฉากน้ำตกจำลอง สำหรับปัจจัยที่มีผลให้การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาในรายการเป็นที่ยอมรับได้ พบว่ามี 3 ปัจจัยสำคัญด้วยกันได้แก่ คุณลักษณ์ของผู้พูด กลวิธีในการพูด และบรรยายหรือปริบทในการสนทนา
Other Abstract: The aims of this research were threefold: 1. To identify and analyze the categories of sex questions presented in “Churak Churod” TV program. 2. To examine the conveyance of sex meaning discovered in the program. 3. To identify and determine factors which effect communication about sex education in the program. The findings were as follows: 1. There were 6 categories of sex questions: i) Social aspect (36.52%), ii) Psychological aspect (15.22%), iii) Intercoursing aspect (13.91%), iv) Hygienic aspect (12.61%), v) Physical aspect (10.00%) and vi) Miscellaneous aspect (11.74%) 2. As for the conveyance of sex meaning, the results showed that the sex meaning was conveyed by icon, index, and symbol through the program and the communication in the program. 3. There were 3 factors: contributes of speaker, strategies in conversation, and communication environment which effected communication about sex education in the program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25412
ISBN: 9741733445
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_wa_front.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_wa_ch1.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_wa_ch2.pdf19.11 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_wa_ch3.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_wa_ch4.pdf28.28 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_wa_ch5.pdf8 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_wa_back.pdf12.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.