Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยณรงค์ โลหชิต-
dc.contributor.advisorปราจีน วีรกุล-
dc.contributor.advisorวิจิตร บรรลุนารา-
dc.contributor.authorปัทมา ฤทธิ์ฤาชัย, 2514--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-18T02:26:48Z-
dc.date.available2006-09-18T02:26:48Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740310796-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2553-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการสุ่มตรวจซีรั่มด้วยวิธี ELISA ชนิดจำเพาะต่อ glycoprotein Gs (gGs) ของเชื้อ EHV-1 และ EHV-4 เพื่อค้นหาแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อเชื้อ EHV-1 และ EHV-4 จากแม่ม้าจำนวน 500 ตัว จำแนกเป็นพันธุ์โทโรเบรด 53 ตัว และพันธุ์ผสม 447 ตัว จากจังหวัด นครราชสีมา กาญจนบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ร้อยเอ็ดและอุดรธานี รวมทั้งหมด 8 จังหวัด พบว่ามีแม่ม้าให้ผลบวกจำนวน 96 ตัว หรือคิดเป็น 19.2% (96/500) จำแนกผลการทดสอบที่ให้ผลบวกต่อเชื้อ EHV-1 ตามลักษณะอาการทางคลินิกพบว่า แม่ม้าที่มีประวัติการแท้งลูกให้ผลทดสอบบวก 19 ตัว หรือคิดเป็น 19.79% (19/96) แม่ม้าที่มีประวัติเดินขากะเผลกให้ผลทดสอบบวก 10 ตัว หรือคิดเป็น 10.41% (10/96) แม่ม้าที่มีประวัติแสดงอาการทั้งสองอย่างให้ผลทดสอบบวก 1 ตัว หรือคิดเป็น 1.04% (1/96) และแม่ม้าที่ไม่มีประวัติหรือไม่มีอาการแสดงให้ผลทดสอบบวก 66 ตัว หรือคิดเป็น 68.75% (66/96) จากตัวอย่างซีรั่มแม่ม้าจำนวน 500 ตัวที่สุ่มตรวจ มีประวัติแท้งลูก จำนวน 40 ตัว เดินขากะเผลก จำนวน 15 ตัว มีอาการแสดงทั้งสองอย่าง จำนวน 2 ตัว และไม่มีอาการแสดง จำนวน 413 ตัว และพบว่ามีแม่ม้าแท้ง จำนวน 19 ตัว ให้ผลบวกต่อเชื้อ EHV-1 คิดเป็น 47.5% (19/40) แม่ม้าเดินขากะเผลกให้ผลบวก จำนวน 10 ตัว คิดเป็น 66.7% (10/15) แม่ม้าแสดงอาการทั้งสองอย่างให้ผลบวก จำนวน 1 ตัว คิดเป็น 50% (1/2) และแม่ม้าไม่มีอาการแสดงให้ผลบวก จำนวน 66 ตัว คิดเป็น 14.9% (66/443) ขณะเดียวกันแม่ม้าทุกตัวให้ผลบวก 100% ต่อเชื้อ EHV-4 ทำการเก็บตัวอย่างซากลูกม้าแท้ง 3 ราย ศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาและเพาะแยกเชื้อไวรัส พบว่ามีลูกม้าแท้งเพียง 1 รายที่พบลักษณะรอยโรค eosinophilic intranuclear inclusion bodies ในเซลล์เยื่อบุผิวหลอดลมและเซลล์ตับ และสามารถแยกเชื้อไวรัสได้จากลูกม้าแท้งในเซลล์เพาะเลี้ยงทั้ง 3 ราย รวมทั้งการยืนยันด้วยการตรวจพบแอนติเจนของเชื้อ EHV-1 โดยวิธีอิมมูนโนฮีสโตเคมี อย่างไรก็ตามการที่มีเชื้อ EHV-1 แฝงตัวอยู่แม่ม้าสามารถกลับมาติดเชื้อใหม่ได้ หากเกิดภาวะเครียด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ EHV-1 จากการสำรวจซีรั่มวิทยาแสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อ EHV-1 วนเวียนอยู่ในหมู่ประชากรแม่ม้าหรือมีโรค EHV-1 ในประเทศไทยและก่อให้เกิดปัญหาการแท้งลูกในการเพาะพันธุ์ม้า แม้ว่าจะพบตัวที่ติดเชื้อและเกิดการแท้งเพียงเล็กน้อยen
dc.description.abstractalternativeA type-specific enzyme-linked immunosorbant assay (ELISA), using EHV-1 and EHV-4 glycoprotein Gs(gGs) was developed to distinguish between antibodies against EHV-4 and EHV-1. The sera of 500 mares, of which 53 were thoroughbred and 447 were non-thoroughbred bred, from 8 Thailand provinces, Nakhonrachasema, Kanjanaburi, Khon Kaen, Chaing Mai, Bangkok, Chonburi, Royed and Udon Thanee, were tested using the ELISA for the presence of EHV-1 specific antibodies. 19.2% (96/500) of mares were EHV-1 seropositive and were related to clinical signs of abortion (19.79%, 19/96), ataxia (10.41%, 10/96), both clinical signs (1.04%, 1/96) and those with no clinical signs (68.75%, 66/96). Among the 500 mares there were 19/40 that aborted (47.5%), 10/15 showed ataxia (66.7%), 1/2 that both aborted and showed ataxia (50%) and 66/443 mares that had no clinical signs (14.9%), that were seropositive for EHV-1. All mares were strongly seropositive to EHV-4. Three aborted foetuses were collected for histopathology and virus isolation. Eosinophilic intranuclear inclusion bodies was found in the bronchial epithelial cells and hepatocytes in one foetus. All cases showed cytopathic effects by virus isolation and were positive for EHV-1 antigen using immunohistochemistry. They were diagnosed as having an EHV-1 infection. EHV-1 can establish latent infections which reactivate in stress situations which is an important factor in EHV-1 epidemiology. The serological survey showed that EHV-1 infection was circulating in the mare population providing evidence of the presence of EHV-1 in Thailand and causing economic losses from abortion, although few of the infected mares actually aborted.en
dc.format.extent5817855 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไวรัสเฮอร์ปีสen
dc.subjectการแท้งen
dc.subjectม้าen
dc.titleการศึกษาการแท้งลูกจากเชื้อเฮอร์ปีสไวรัสในแม่ม้า และการสำรวจความชุกของโรค EHV-1 ในฟาร์มเพาะพันธุ์ม้าen
dc.title.alternativeA study of equine herpesvirus abortion and a serological survey of EHV-1 in stud farmen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChainarong.L@Chula.ac.th-
dc.email.authorPrachin.V@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattama.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.