Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25554
Title: | ความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หกที่มีต่อลักษณะหนังสือนิทานที่สำนักการศึกษาจัดหาให้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Interest of prathom suksa six students in the story books format provided by the department of education in schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan administration |
Authors: | ดาณาวดี สมบูรณวณิชย์ |
Advisors: | ปานดา ใช้เทียมวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หก ที่มีต่อลักษณะหนังสือนิทานที่สำนักการศึกษาจัดหาให้ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่หก ปีการศึกษา 2527 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 โรงเรียน ใน 24 เขตการศึกษา รวมเป็นตัวอย่างประชากรทั้งหมด 480 คน มีนักเรียนชาย 240 คน และนักเรียนหญิง 240 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หนังสือนิทานจำนวน 20 เล่ม ซึ่งคัดเลือกมาจากหนังสือนิทานที่สำนักการศึกษาจัดส่งไปตามโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2522-2527 โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นโดยสรุปจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการจัดทำหนังสือเด็กดังนี้ 1. ขนาดของหนังสือ 2. ลักษณะรูปเล่ม 3.ภาพประกอบเรื่อง 4. ลักษณะของคำบรรยายภาพ 5. ขนาดตัวอักษร จากนั้นให้นักเรียนวัดหัวลำโพงจำนวน 1 ห้องเรียนคัดเลือกหนังสือนิทานที่มีลักษณะของหนังสือนิทานตรงกับความสนใจของตนเองจำนวน 10 เล่ม หนังสือนิทานทั้ง 10 เล่มนี้จะเป็นหนังสือนิทานที่ใช้ในการวิจัย โดยให้ตัวอย่างประชากรจำนวน 480 คน อ่านและตอบแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีคำนวณเป็นค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางและอภิปรายผลที่ได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความสนใจในลักษณะหนังสือนิทานที่สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครจัดหาให้ดังนี้ 1.1 ขนาดของหนังสือ ขนาดเล็กประมาณ 5 นิ้ว x 7¼ นิ้ว 1.2 ลักษณะรูปเล่มเป็นแนวตั้ง 1.3 ภาพประกอบเรื่องเป็นภาพการ์ตูนมีคำบรรยายอยู่คนละหน้ากับภาพ 1.4 ขนาดตัวอักษรเป็นตัวกลางประมาณ 24 พอยท์ 1.5 การบรรยายเรื่องเป็นร้อยแก้ว และมีตัวละครเป็นคน 2. ในการเลือกซื้อหรืออ่านหนังสือนิทาน นักเรียนจะพิจารณาจากเนื้อเรื่องภาพประกอบและขนาดของหนังสือนิทาน 3. ประเภทของหนังสือนิทานที่นักเรียนสนใจมากที่สุด คือนิทานผจญภัย และประเภทของหนังสือนิทานที่นักเรียนสนใจน้อยที่สุด คือนิทานเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี 4. รายละเอียดอื่น ๆ ในการอ่านหนังสือนิทานมีดังนี้ 4.1 นักเรียนเลือกอ่านหนังสือนิทานตามความสนใจของตนเอง 4.2 นักเรียนอ่านหนังสือนิทานที่ห้องสมุดของโรงเรียน 4.3 นักเรียนอ่านหนังสือนิทานในเวลาว่าง 4.4 นักเรียนใช้วิธีคั่นหนังสือนิทานที่อ่านค้างอยู่ เมื่อนักเรียนอ่านหนังสือนิทานยังไม่จบเล่ม 4.5 นักเรียนเก็บหนังสือนิทานไว้บนชั้นหนังสือ เมื่อนักเรียนอ่านจบแล้ว 4.6 นักเรียนชอบอ่านเรื่องสั้นจบในเล่มและมีคำถามท้ายเล่ม 4.7 นักเรียนมีความเห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือนิทานคือความสนุกสนานเพลิดเพลิน |
Other Abstract: | The purpose of the research was to study the interest of Prathom Suksa six students for the story books format which the Department of Education sent to schools under the Jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration. The samples selected by stratified random sampling techniques were 480 students studying in Prathom Suksa six in the academic year 1984 in schools under the Jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration for 24 schools in 24 parts. The criteria were set by the researcher in order to choose 20 storybooks from those which were sent to schools by the Department of Education. The criteria used formilized from the opinions of the experts in children book. They were: 1. The Size of the story books. - Small Size 5 x 7 ¼ inches - Medium Size 6 x 8 ½ inches - Large Size 7½ x 10 ¼ inches 2. The Style of the story books - upright design - oblong design 3.The Illustration of the story books - cartoon - nature like 4. The Type of the story books - full page story - half page story with picture 5. The Size of Letterpress - 24 points - 16 points The 20 story books choosen by the above criteria were their rechoosen by preference of Prathom Suksa six students in Wat Hua Lum Pong School. Ten story books were used as an instrument for the research. After the samples had read through the ten books. They were asked to answer the [questionnaires]. The data obtained were analized by means of percentage. Conclusions were presented in tables with explaination. Finding 1. The preferable format of the story books were: 1.1 small size of 5 x 7¼ inches 1.2 upright design 1.3 24 points letterpress 1.4 full page cartoon illustration 1.5 prose styles and children character 2. The consideration in buying story books were content of the story books, illustration and format. 3. The most preferable type of story books was adventurous story and the less preferable was custom and traditional story. 4. The other reading characteristics were: 4.1 most samples read their own choice of books. 4.2 the place to get books were school libraries. 4.3 they usually read during the recess. 4.4 they use book mark with unfinished reading book. 4.5 they returned the books to the shelves after finished reading.4.6 they prefer to read [short] story followed by questions. 4.7they thought of books as a way of enjoying themselves. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25554 |
ISBN: | 9745662712 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Danavadee_Sa_front.pdf | 478.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Danavadee_Sa_ch1.pdf | 787.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Danavadee_Sa_ch2.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Danavadee_Sa_ch3.pdf | 389.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Danavadee_Sa_ch4.pdf | 613.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Danavadee_Sa_ch5.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Danavadee_Sa_back.pdf | 649.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.