Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25669
Title: การบริหารงานบุคคลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย
Other Titles: The personnel administration of the applied scientific research corporation of Thailand
Authors: รุ่ง สพสมัย
Advisors: เกษม สุวรรณกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการบริหารงานขององค์การ ไม่ว่าโดยรัฐ หรือเอกชน ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ดำเนินไปตรงตามวัตถุประสงค์ นอกเหนือไปจากที่ดิน เงิน วัสดุสิ่งของ และการจัดการ ก็คือ “คน” กระบวนการบริหารงานสากลก็ได้กำหนดเอาเรื่องการจัดตัวบุคคลเข้าปฏิบัติงานหรือที่เรียกว่า การบริหารงานบุคคลเข้าไว้เป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกเหนือไปจากการกำหนดนโยบาย การจัดองค์การ การงบประมาณ ฯลฯ (ทั้งนี้ เพราะองค์การใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะจัดดำเนินงานโดยรัฐ หรือเอกชน จำเป็นต้องอาศัยบุคคลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) องค์การทุกแห่งต่างก็มีวัตถุประสงค์ของตนเอง บริษัทเอกชนดำเนินกิจการเพื่อหวังผลกำไร ส่วนองค์การรัฐบาลทุกแห่งก็ดำเนินงานราชการเพื่อความผาสุก ความอยู่ดีกินดี ความปลอดภัย และความสงบสุขของประชาชน งานบริการประชาชนทุกรูปแบบที่รัฐบาลจัดทำจึงไม่มีการหวังผลกำไร หรือผลประโยชน์ตอบแทน ในเมื่อประชาชนต้องการสิ่งใด ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้วที่จะต้องพยายามตอบสนอง และบำบัดความต้องการเหล่านี้ รัฐกิจต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ จะเอื้ออำนวยผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนมากน้อยเพียงใด ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการนั้น ๆ เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 นั้น รัฐบาลได้มีมติให้รวมเอาหน่วยงานวิจัยทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งยังกระจัดกระจายอยู่ตามกรม กอง และส่วนราชการต่าง ๆ ของรัฐ เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วจัดตั้งเป็นสถาบันวิจัยอิสระ ไม่ขึ้นกับพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน แต่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นนิติบุคคล (เริ่มเปิดดำเนินงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2507) ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานของสถาบันวิจัย ฯ มีความยืดหยุ่นรวดเร็ว และคล่องตัว ไม่ติดอยู่กับกฎระแบบของข้าราชการพลเรือน แต่การที่จะให้งานวิจัยประยุกต์ของสถาบันฯ บรรลุตรงตามวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วยดี ก็ต้องอาศัยการจัดระบบการบริหารงานบุคคลที่รัดกุม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามหลักสากลนิยมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการที่จะดึงดูดคนดี มีความรู้ ความสามารถ ตลอดจนมีประสบการณ์ในด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์อย่างแท้จริงให้มาปฏิบัติงานกับสถาบันฯ (จำต้องมีวิธีการคัดเลือกบุคคลที่ถูกต้องตามหลักบริหาร และมีสิ่งจูงใจต่าง ๆ เช่น อัตราเงินเดือน บำเหน็จบำนาญ สวัสดิการต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบด้วย) ระบบการบริหารงานบุคคลที่ใช้อยู่ภายในสถาบันวิจัยฯ ตราบเท่าทุกวันนี้มุ่งที่จะดึงบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญทางสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ให้มาทำงานด้วย โดยใช้วิธีตั้งอัตราเงินเดือนของพนักงานสูงกว่าหน่วยราชการอื่น ๆ กำหนดระบบการสอบคัดเลือกบุคคลที่ไม่ยุ่งยาก สลับซับซ้อน และเนิ่นนาน เหมือนการสอบเข้าเป็นข้าราชการพลเรือน มีการปูนบำเหน็จ และการเลื่อนขั้นเงินเดือนเหมือนระบบราชการ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศระดับโลกในรูปของทุนวิจัยตลอดจนเงินทุน เพื่อจัดส่งพนักงานของสถาบันวิจัยฯ ไปดูงาน ฝึกอบรม หรือศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ทุกระดับ ณ ต่างประเทศ นอกจากนี้ สถาบันวิจัยฯ ยังจัดให้พนักงานมีวันลาหยุดประเภทต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนตามปรกติ เช่น ลาพักผ่อน ลากิจส่วนตัว การลาป่วย ลาคลอดบุตร สาอุปสมบท และการลาไปศึกษาต่อต่างประเทศ การให้เงินค่าล่วงเวลาแก่พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากเวลาทำงานตามปรกติ หรือในวันหยุดราชการ การให้เบี้ยเลี้ยงเดินทางแก่พนักงานที่ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่และเบี้ยเลี้ยงประจำสถานี สำหรับพนักงานที่ไปทำงานอยู่ ณ สถานีทดลองต่างจังหวัด พนักงานสถาบันวิจัยฯที่มีอัตราเงินเดือนต่ำยังมีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยถึงกับต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในที่สุดพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยฯ ยังกำหนดให้มีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือพนักงานทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น แต่การบริหารงานบุคคลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย ยังไม่ประสพผลดีเท่าที่ควร ด้วยเหตุที่มีอุปสรรค และปัญหาทางด้านคนขัดขวางอยู่มาก เช่นปัญหาการเสาะแสวงหาแหล่งกำลังคน การก้าวก่าย และซ้อนกันของอำนาจบริหาร รวมทั้งการสั่งงานภายในสถาบันวิจัยฯ ปัญหาอัตราเงินเดือนของพนักงานผู้มีรายได้น้อย ปัญหาภาษีเงินได้ ปัญหาการเงิน และงบประมาณ ปัญหาของสวัสดิการและสิ่งจูงใจ ซึ่งแม้จะมีอยู่แต่ก็ยังไม่เพียงพอ หรือเท่าเทียมกับหน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ สถาบันวิจัยฯ ไม่ได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาบุคคลภายในองค์การอย่างจริงจัง ข้อบกพร่องเกี่ยวกับตัวบุคคลที่กล่าวมานี้ นับว่าเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้การวิจัยประยุกต์ และบริการงานวิจัยต่าง ๆ ของสถาบันฯ ไม่ได้ผลสมตามวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัติเท่าที่ควร การที่ได้ทราบถึงสมุฎฐานของปัญหาดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการค้นหาวิธีการต่าง ๆ ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการบริหารบุคคล เพื่อมาแก้ไขปรับปรุง และเริ่มวางแผนการพัฒนาบุคคลของสถาบันวิจัยฯ อย่างจริงจังต่อไป ด้วยการหาลู่ทางใหม่ที่จะแสวงหาแหล่งกำลังคนที่ดี และมีความรู้ ความสามารถ การปรับปรุง ระบบอัตราเงินเดือนใหม่ เช่น การยกเว้นเกี่ยวกับภาษี การเพิ่มเงินบำเหน็จ ตลอดจนการจัดสวัสดิการต่าง ๆให้แก่พนักงาน และเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น.
Other Abstract: In any form of organization, one of the most important factors for administration, aside from land, money, materials and management, is “man”. Administration process has considered the method of how to put the right man in the right job, or personnel administration, as a part of it whole process, involved making policy, financial program and managing an organization. An organization must have its goal. Private organization works for profit. Public organization works for welfare, without charging profit in return. What the people need are duty of government to response, but the duty of government depends on men in its organization. After the Act of the Applied Scientific Research Corporation of Thailand was enacted, government had a solution to compile all research organization of the government in all departments and then establish a research corporation. This corporation is not under the control of the Civil Service Act. It is under the office of the Prime Minister. This corporation has a status of juristic person. This status is for capability and flexibility of the organization. However, to carry out the job of this corporation the government has to depend on an efficiency of a system of personnel management such as how to persuade men who have knowledge, capability and experience in applied science to work in the corporation. The system of personnel management in the research corporation to-day has tried to put the right man in the right job by setting a high salary rate and a simplified short-term recruitment. The organization has the same promotion as the Civil Service System. It receives aids from foreign countries and international organization in the form of research and education funds. Besides, the corporation has given a lot of fringe-benefits to employees such as holidays or leave of absence due to illness or other private business with full paid salary and extra paid waged for over-time job etc. At last the Corporation Act has set funds for employees’s economic problems. Personnel management of the Applied Scientific Corporation can not succed as much as it should. There are a lot of obstacles and problems about men in the corporation such as how to find out sources of man power, problem of salary rate, income tax, level of fringe-benefits and financial and budgetary problem. etc. The significant problem is that the research corporation has not paid much attention to personnel development in the organization. These are the causes of unsatisfactory jobs. Knowing the causes of those problems should be the key to help us to solve them. Then, by mean of personnel management technique, we would be able to plan for developing the system furthermore.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25669
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Roong_So_front.pdf777.83 kBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch1.pdf571.38 kBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch2.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch5.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch6.pdf475.57 kBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch7.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch8.pdf879.11 kBAdobe PDFView/Open
Roong_So_ch9.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Roong_So_back.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.