Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25670
Title: ความเครียด พฤติกรรมการเผชิญความเครียด และการสนับสนุนทางสังคมของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี
Other Titles: Stress, coping behavior and social support in HIV infected pregnant women at King Chulalongkorn Memorial Hospital and Nopparathragathanee Hospital
Authors: ทาริกา หมั่นหาผล
Advisors: เดชา ลลิตอนันต์พงศ์
เอม อินทกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด พฤติกรรมการเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 106 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียด (the stress test of Smith) แบบสอบถามสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญความเครียด (Jalowice Coping Scale-JCS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-square การทดสอบ one-way ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s product moment correlation coefficient) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 79.2 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก ร้อยละ 80.2 หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเคยแท้งบุตรมีคะแนนเฉลี่ยความเครียด น้อยกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมิประวัติแท้งบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 พฤติกรรมการเผชิญ ความเครียดที่หญิงตั้งครรภ์นิยมใช้ได้แก่ แบบการมองโลกในแง่ร้าย แบบการพึ่งตนเอง และ แบบการมองแต่แง่ดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ซึ่งระดับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุน ทางสังคมอย่างมินัยสำคัญทางสถิติ (r= -0.136, p<0.01) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบ กับวิธีการเผชิญหน้าแบบหลีกเลี่ยงหลบหนีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.255, p<0.05)
Other Abstract: The research entailed a time-specific descriptive study to analyze stress, coping behavior, social support and other correlated factors of HIV infected pregnant women in King Chulalongkorn Memorial Hospital and Nopprathragathanee Hospital. The sample consisted of 106 cases. Research instrument conducted methodology was by means of a questionnaire 129 questions, which surveyed demographic data, the stress test of Smith, Jalowice Coping Scale-JCS and The Social Support test. The statistics were percentage, average, standard deviation, Chi-square, One-way a ANOVA and Pearson's product moment correlation coefficient. The results of this study revealed that the stress level of HIV infected pregnant women reported a moderate level (79.2%) and Social Support was highly (80.2%). The pregnant women with history of abortions had experience a difference in their stress levels with a statistical significance of p<0.05. Coping behaviors of HIV infected pregnant women used much were Fatalistic coping, Self-Reliant coping and Optimistic coping which had high average values. As concerns relationships, the research found that the stress level of pregnant women is reverse proportional to social support, with a statistical significance of (r = -0.136 p<0.01). Social support has a negative effect on the non-confrontational behavior, with a statistical significance of (r = -0.255, p<0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25670
ISBN: 9745320749
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tarika_mo_front.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open
Tarika_mo_ch1.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Tarika_mo_ch2.pdf13.71 MBAdobe PDFView/Open
Tarika_mo_ch3.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Tarika_mo_ch4.pdf13.4 MBAdobe PDFView/Open
Tarika_mo_ch5.pdf6.95 MBAdobe PDFView/Open
Tarika_mo_back.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.