Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25728
Title: ผู้ดูแลบุตรของสตรีในเขตเมืองของประเทศไทย
Other Titles: Caretakers for children in urban Thailand
Authors: ชาลีมาศ น้อยสัมฤทธิ์
Advisors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบของผู้ดูแลบุตรของสตรีในเขตเมือง และศึกษาความแตกต่างของการเลือกผู้ดูแลบุตรของสตรีตามลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลการสำรวจทัศนคติเกี่ยวกับบุตร พ.ศ.2531 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือ สตรีกำลังสมรส อายุ 15-49 ปี และกำลังมีบุตรอายุระหว่าง 0-5 ปี รวมทั้งสิ้น 1,641 ราย จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีตารางแบบไขว้ แล้วทดสอบด้วยค่าไคสแควร์ โดยมีอายุบุตรเป็นตัวแปรแทรกกลาง ประกอบกับการวิเคราะห์แบบจำลองถดถอยลอจิต ผลปรากฏว่า สตรีส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.7) เป็นผู้ดูแลบุตรด้วยตนเอง นอกนั้นให้บุคคลอื่น ๆ ทั้งที่เป็นญาติและไม่ใช่ญาติ เป็นผู้ดูแล ร้อยละ 17.7 และ 8.5 ตามลำดับ ทั้งนี้สตรีที่มีบุตรอายุ 0-2 ปี มีแนวโน้มที่จะดูแลบุตรด้วยตนเองมากกว่าสตรีที่มีบุตรอายุ 3-5 ปี ในทางตรงกันข้ามการให้บุคคลอื่นทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ ในกลุ่มสตรีที่มีบุตรอายุ 0-2 ปี มีสัดส่วนต่ำกว่ากลุ่มที่บุตรอายุ 3-5 ปี เมื่อนำปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์แบบหลายตัวแปร ในแบบจำลองถดถอยลอจิตพบว่า อายุเมื่อคลอดบุตร อายุบุตร จำนวนบุตรที่มีชีวิต อาชีพของสตรี สถานการณ์ทำงานของสามีและภรรยา รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษาของสตรี และภาคที่อยู่อาศัยมีผลต่อผู้ดูแลบุตรของสตรีไทยในเขตเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ สตรีที่มีบุตรมีชีวิตจำนวนมาก สตรีที่จบการศึกษาระดับประถม สตรีที่สามีทำงานเพียงคนเดียว หรือคู่ที่ทั้งสตรีและสามีไม่ได้ทำงาน สตรีที่ครอบครัวมีรายได้ระดับสูง และสตรีที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคใต้ สตรีเหล่านี้มีแนวโน้มจะทำหน้าที่ดูแลบุตรด้วยตนเองมากกว่าให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดูแลบุตรของตน ส่วนสตีที่มีบุตรอายุ 3-5 ปี สตรีที่จบการศึกษาระดับมัธยมและสูงกว่ามัธยม สตรีที่ประกอบอาชีพวิชาชีพ และสตรีที่ครอบครัวมีรายได้ระดับปานกลาง มีแนวโน้มจะให้ญาติเป็นผู้ดูแลบุตรแทนตน และสำหรับการให้บุคคลที่ไม่ใช่ญาติเป็นผู้ดูแลบุตร มีแนวโน้มจะปรากฏในสตรีที่คลอดบุตรเมื่ออายุมาก สตรีที่จบการศึกษาระดับมัธยมและสูงกว่ามัธยม และสตรีที่ครอบครัวมีรายได้ระดับปานกลางและระดับสูง
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate the choice of child caretakers in urban Thailand and the differentials in selection child caretakers vs. demographic, socio-economic and other characteristics. The data used are from The social attitudes towards children survey conducted by the National Statistical Office in 1988. The sample for this study represents currently married women aged 15-49 who have a child aged 0-5 yrs, especially in urban Thailand. There are 1,641 women in total. This study used cross-tabulation analysis and the chi-squared test, with the child’s age as an intervening variables and multinomial logit regression analysis. The study showed that most of the women take care of their young children by themselves. The percentage of their children taken care by other relatives and non-relatives are 17.7 and 8.5, respectively. Women who have children aged 0-2 tend to take care of their children by themselves more than those who have children aged 3-5. On the contrary, the proportion of women who let relatives or non-relatives take care of their children aged 0-2 is lower than those who have children aged 3-5. The set of independent variables was found to have a strong impact on differentials in the choice of child caretakers. It was found that the age at last birth, child’s age, number of living children, wife’s occupation, couple’s work status, family income, education level and region have significant influences on the choice of caretakers. The results show that the number of living children, only primary educational attainment, only husband working or both husband and wife non-working, high family income and living in the Northeast or South have a significant positive effect on maternal care. The women who have children aged 3-5, secondary educational attainment and over, professional occupation, or moderate family income are significantly more likely to use relative care. Finally, it was found that a higher age at last birth, secondary educational attainment and over, and moderate and high family income have a strong effect effect on using non-relative care.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25728
ISBN: 9745824739
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaleemas_No_front.pdf531.64 kBAdobe PDFView/Open
Chaleemas_No_ch1.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Chaleemas_No_ch2.pdf755.34 kBAdobe PDFView/Open
Chaleemas_No_ch3.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Chaleemas_No_ch4.pdf657.1 kBAdobe PDFView/Open
Chaleemas_No_ch5.pdf863.92 kBAdobe PDFView/Open
Chaleemas_No_back.pdf521.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.