Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25777
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิจินตน์ ภาณุพงศ์ | - |
dc.contributor.author | วิไลวรรณ ดำรักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-24T04:54:35Z | - |
dc.date.available | 2012-11-24T04:54:35Z | - |
dc.date.issued | 2513 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25777 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาระบบหน่วยเสียงชนิดต่างๆ ในภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช ข้อมูลที่นำมาศึกษานี้ได้มาจากภาษาที่ผู้เขียนใช้เองเป็นส่วนใหญ่ เพราะผู้เขียนเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า หน่วยเสียงภาษานครศรีธรรมราช มี 3 ชนิด คือ หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียงพยัญชนะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงพยัญชนะเดี่ยวซึ่งมี 22 หน่วย และหน่วยเสียงพยัญชนะประสม ซึ่งมี 13 หน่วย หน่วยเสียงสระแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระเดี่ยว ซึ่งมี 18 หน่วย และหน่วยเสียงสระประสมซึ่งมี 3 หน่วย หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มีทั้งหมด 7 หน่วย ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนได้อธิบายถึงลักษณะและหน้าที่ต่างๆ ของหน่วยเสียงแต่ละชนิดไว้โดยละเอียด และได้กล่าวถึงการประกอบหน่วยเสียงชนิดต่างๆ เข้าเป็นพยางค์ ซึ่งปรากฏเป็นลักษณะโครงสร้างของพยางค์แบบต่างๆ รวม 32 แบบด้วยกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 7 ประเภทคือ ประเภท CV, CVV, CVG, CVN, CVS, CVVN และ CVVS นอกจากนี้ยังได้รวบรวมพยางค์ที่ใช้ในภาษานครศรีธรรมราชไว้ด้วย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3,030 พยางค์ ในจำนวนนี้มีอยู่ 2,952 พยางค์ ที่เป็นคำพยางค์เดียว ส่วนที่เหลืออาจจะเป็นส่วนของคำสองพยางค์ หรือหลายพยางค์ก็ได้ ผู้เขียนได้เลือกอธิบายความหมายของคำที่ปรากฏเป็นข้อมูลในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ด้วย ในการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนจะแบ่งเป็นบทต่างๆ 6 บท คือ บทที่หนึ่ง บทนำ กล่าวถึงความมุ่งหมายและของเขตของการวิจัย บทที่สอง หน่วยเสียงพยัญชนะ บทที่สาม หน่วยเสียงสระ บทที่สี่ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ บทที่ห้า ลักษณะโครงสร้างของพยางค์ และบทที่หก ตารางคำ และความหมายของคำที่ใช้ในภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช ท้ายสุดนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องภาษาถิ่นของไทย ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของหน่วยเสียงต่างกันที่ใช้แทนหน่วยเสียงเดิมในคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันในภาษานครศรีธรรมราชกับภาษากรุงเทพฯ และภาษาถิ่นอื่นๆ ศึกษาความหมายของคำในภาษาถิ่นอื่นในทำนองเดียวกับที่ศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ และศึกษาสำนวนต่างๆ ที่ใช้ในภาษาถิ่นนครศรีธรรมราชต่อไปอีกด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to analyze phonemic system of the Nakhon Si Thammarat dialect. The writer serves as her own informant, being a native speaker of the dialect under study. This study led to the conclusion that the phonemes of the Nakhon Si Thammarat dialect are classified into three categories: consonants, vowels and tones. The consonants are divided into two groups: 22 single consonant phonemes and 13 consonant clusters. The vowels are also divided into two groups: 18 single vowel phonemes and 3 diphthongs. There are altogether 7 tonal phonemes. In this thesis the writer has attempted to describe both the nature and the distribution of individual phonemes thoroughly and to describe their combinations into different syllables. Thirty-two patterns of syllabic structure have been found. They are grouped into 7 types: CV, CVV, CVG, CVN, CVS, CVVN and CVVS. Besides, the writer found 3,030 syllables in the Nakhon Si Thammarat dialect, 2,952 of which occur as monosyllabic words and the remainder occur either as part of bisyllabic words or of polysyllabic words. An attempt has been made to compare the meaning of the cited words used in the Nakhon Si Thammarat dialect and in the Bangkok dialect. Finally it is suggested to those who are interested in persuing further research into Thai dialects that they should (1) make a systematic study of the correspondence between the phonemes of Nakhon Si Thammarat words and their cognates in Bangkok dialect or in any other dialects; (2) make a semantic study of words in the other Thai dialects along the same line as that of the present thesis; and (3) make a study of idiomatic expressions in the Nakhon Si Thammarat dialect. | - |
dc.format.extent | 488924 bytes | - |
dc.format.extent | 449107 bytes | - |
dc.format.extent | 1301564 bytes | - |
dc.format.extent | 995399 bytes | - |
dc.format.extent | 763212 bytes | - |
dc.format.extent | 969529 bytes | - |
dc.format.extent | 2478377 bytes | - |
dc.format.extent | 614364 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ระบบหน่วยเสียงในภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช | en |
dc.title.alternative | The phonemic system of the Nakhon Si Thammarat dialect | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vilaiwan_Du_front.pdf | 477.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_ch1.pdf | 438.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_ch2.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_ch3.pdf | 972.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_ch4.pdf | 745.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_ch5.pdf | 946.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_ch6.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vilaiwan_Du_back.pdf | 599.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.