Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25798
Title: ความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่หนึ่ง
Other Titles: Fundamental knowledge background in Thai language structure of first-year university students
Authors: วีรฉัตร วรรณดี
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- การใช้ภาษา
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อหาระดับความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวนและในด้านการลำดับคำและลำดับความ ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2517 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยของนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบม.ศ.5 แผนกศิลปะ และนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบ ม.ศ.5 แผนกวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวน และในด้านการลำดับคำและลำดับความ 4. เพื่อศึกษาว่าเนื้อหาด้านใดที่นิสิตนักศึกษายังมีความรู้พื้นฐานไม่ดีพอ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทย 1 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตามเนื้อหา คือตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบด้านการเขียน การใช้คำ และสำนวน ตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบด้านการลำดับคำและลำดับความ แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ มีจำนวนข้อคำถามตอนละ 35 ข้อ รวมทั้งหมด 70 ข้อ ตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2517 ของมหาวิทยาลัย 4 แห่งในส่วนกลาง จำนวนตัวอย่างประชากร 272 คน เป็นนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แผนกศิลปะ และแผนกวิทยาศาสตร์ แผนกละ 136 คน ผู้วิจัยได้นำคะแนนที่นิสิตนักศึกษาตอบแบบทดสอบมาวิเคราะห์หาคำตอบตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า z ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และหาค่าร้อยละ ผลของการวิจัย 1. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานหลักภาษาในด้านการเขียน การใช้คำสำนวน และในด้านการลำดับคำ และลำดับความ ยังไม่ดีพอ 2. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แผนกศิลปะ และนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แผนกวิทยาศาสตร์ มีความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวน และในการด้านการลำดับคำและลำดับความ ไม่แตกต่างกัน 3. คะแนนความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวน และในด้านการลำดับคำและลำดับความ ของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความสัมพันธ์กันในระดับกลางมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4.เนื้อหาหลักภาษาไทยที่นิสิตนักศึกษาตอบผิดกันมากได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับการเขียนให้ถูกต้อง เช่น การประวิสรรชนีย์ การใช้ไอ อัย ตัวการันต์ การใช้ รร ณ น การเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ ความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทย และราชาศัพท์ การใช้คำ สำนวนให้ถูกต้องตามความหมายและที่ใช้ ชนิดของคำ ลักษณะและชนิดของประโยค คำประสม ลักษณะการเรียงคำวิเศษณ์ ชนิดและหน้าที่ของวลี และการลำดับความในประโยค ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับปรุงการเรียนการสอนหลักภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยที่เกี่ยวกับหลักภาษาในระดับอุดมศึกษา ควรให้ต่อเนื่องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อหาระดับความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวนและในด้านการลำดับคำและลำดับความ ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2517 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยของนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบม.ศ.5 แผนกศิลปะ และนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบ ม.ศ.5 แผนกวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวน และในด้านการลำดับคำและลำดับความ 4. เพื่อศึกษาว่าเนื้อหาด้านใดที่นิสิตนักศึกษายังมีความรู้พื้นฐานไม่ดีพอ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทย 1 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตามเนื้อหา คือตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบด้านการเขียน การใช้คำ และสำนวน ตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบด้านการลำดับคำและลำดับความ แบบทดสอบนี้เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ มีจำนวนข้อคำถามตอนละ 35 ข้อ รวมทั้งหมด 70 ข้อ ตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2517 ของมหาวิทยาลัย 4 แห่งในส่วนกลาง จำนวนตัวอย่างประชากร 272 คน เป็นนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แผนกศิลปะ และแผนกวิทยาศาสตร์ แผนกละ 136 คน ผู้วิจัยได้นำคะแนนที่นิสิตนักศึกษาตอบแบบทดสอบมาวิเคราะห์หาคำตอบตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบ หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า z ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และหาค่าร้อยละ ผลของการวิจัย 1. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรู้พื้นฐานหลักภาษาในด้านการเขียน การใช้คำสำนวน และในด้านการลำดับคำ และลำดับความ ยังไม่ดีพอ 2. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แผนกศิลปะ และนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แผนกวิทยาศาสตร์ มีความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวน และในการด้านการลำดับคำและลำดับความ ไม่แตกต่างกัน 3. คะแนนความรู้พื้นฐานหลักภาษาไทยในด้านการเขียน การใช้คำ สำนวน และในด้านการลำดับคำและลำดับความ ของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความสัมพันธ์กันในระดับกลางมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4.เนื้อหาหลักภาษาไทยที่นิสิตนักศึกษาตอบผิดกันมากได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับการเขียนให้ถูกต้อง เช่น การประวิสรรชนีย์ การใช้ไอ อัย ตัวการันต์ การใช้ รร ณ น การเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ ความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทย และราชาศัพท์ การใช้คำ สำนวนให้ถูกต้องตามความหมายและที่ใช้ ชนิดของคำ ลักษณะและชนิดของประโยค คำประสม ลักษณะการเรียงคำวิเศษณ์ ชนิดและหน้าที่ของวลี และการลำดับความในประโยค ข้อเสนอแนะ ควรมีการปรับปรุงการเรียนการสอนหลักภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยที่เกี่ยวกับหลักภาษาในระดับอุดมศึกษา ควรให้ต่อเนื่องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Purposes The purposes of this research were : to investigate the level of fundamental knowledge background in Thai language structure of first – year university students, academic year 1974 in spellings, word and idiom usage and Thai syntax; to compare fundamental knowledge background in Thai language structure of first – year university students who finished Matayom Suksa 5 Arts to those who finished Matayom Suksa 5 Science ; to investigate the correlation of the students’ fundamental knowledge background in Thai language structure and their spellings, word and idiom usage and Thai syntax; and to investigate areas in Thai language structure which were problems for the students. Procedure A set of Thai language tests was constructed by the researcher to test the fundamental knowledge of Thai language structure. The test was divided into two parts. The first part was a test of spellings and word and idiom usage, the second part was a test of Thai syntax. Each part consisted of 35 multiple choice questions. 272 first – year students of the academic year 1974 from 4 universities in the central part of Thailand were selected at random. The number of students who finished Matayom Suksa 5 Arts and Matayom Suksa 5 Science was equal. The results from the test were calculated to fulfill the indicated purposes. These results were statistically computed by reliability, mean, standard diviation, the z – test, Pearson’s product moment correlation coefficient and percentages. Results 1. The level of fundamental knowledge background in Thai language structure in spellings and word and idiom usage and Thai syntax of first – year university students was still unsatisfactory. 2. The fundamental knowledge background in Thai language structure of the students who finished Matayom Suksa 5 Arts and those who finished Matayom Suksa 5 Science wasn’ t different. 3. The students’ fundamental knowledge background in Thai language structure in spellings and word and idiom usage and Thai syntax was moderately correlated. The level of significance was at .01. 4. The areas which were problems for the students were spellings : some vowels, consonants and words from foreign language; use of some words and idioms; register ; word classes; compound words; use of modifiers; sentence types; phrase types; and use of phrases and clauses in a sentence. Recommendation There should be an improvement in the teaching and learning of Thai language structure in Upper Secondary School; and Thai structure programs in universities should be related to the programs performed in Matayom Suksa 4 – 5.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25798
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Werachat_Wa_front.pdf446.25 kBAdobe PDFView/Open
Werachat_Wa_ch1.pdf571.61 kBAdobe PDFView/Open
Werachat_Wa_ch2.pdf933.34 kBAdobe PDFView/Open
Werachat_Wa_ch3.pdf555.58 kBAdobe PDFView/Open
Werachat_Wa_ch4.pdf403.19 kBAdobe PDFView/Open
Werachat_Wa_ch5.pdf894.8 kBAdobe PDFView/Open
Werachat_Wa_back.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.