Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2581
Title: ผลของบัวบก (Centella asiatica) ต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei)
Other Titles: Effect of Asiatic pennywort (Centella asiatica) on immune system of the white shrimp (Litopenaeus vannamei)
Authors: วรรณา ศิริมานะพงษ์, 2520-
Advisors: จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์
ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ
นนทวิทย์ อารีย์ชน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Jirasak.T@Chula.ac.th
Chaiyo.C@Chula.ac.th
Subjects: ภูมิคุ้มกัน
บัวบก
กุ้งขาวแวนนาไม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดบัวบกอย่างหยาบต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไมระยะโพสต์ลาวา 15 (PL15) และระยะตัวเต็มวัย น้ำหนัก 10-15 กรัม โดยให้กุ้งกินอาหารที่ผสมสารสกัดบัวบก (2.52 % w/w ของสาร Asiaticoside) ความเข้มข้น 0, 1, 5 และ10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดบัวบกอย่างหยาบด้านความคุ้มโรคต่อเชื้อ Vibrio vulnificus ในลูกกุ้งระยะ PL15 หลังจากให้กินอาหารผสมสารสกัดบัวบกอย่างหยาบเป็นระยะเวลา 15 และ 30 วัน พบว่าจำนวนกุ้งรอดชีวิตหลังจากจุ่มเชื้อ Vibrio vulnificus ความเข้มข้น 1.19x10[superscript 16] CFU/ml. (วันที่ 15) และ 5.4x10[superscript 21] CFU/ml. (วันที่ 30) เป็นระยะเวลา 3 นาที กุ้งที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดบัวบกอย่างหยาบความเข้มข้น 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม มีอัตรารอดชีวิตของกุ้งสูงที่สุด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารผสมสารสกัดบัวบกอย่างหยาบความเข้มข้น 0, 1 และ 10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม (P<0.05) 2. การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดบัวบกอย่างหยาบต่อระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไมระยะตัวเต็มวัย พบว่า ปริมาณเม็ดเลือดแดงรวมปริมาณเอ็นไซม์ ฟีนอลออกซิเดส ความสามารถในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียของน้ำเลือด และความสามารถในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียออกจากระบบไหลเวียนของกุ้งที่ได้รับสารสกัดบัวบกความเข้มข้นต่างๆ ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากการศึกษานี้ควรเลือกใช้สารสกัดบัวบกอย่างหยาบความเข้มข้น 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ให้ลูกกุ้งกินเพื่อช่วยควบคุมการติดเชื้อ Vibrio vulnificus ในลูกกุ้งได้ ในขณะที่กุ้งตัวเต็มวัยไม่มีผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
Other Abstract: The objective of this study was to investigate the effects of crude extract of Asiatic pennywort (Centella asiatica) in feed on the immune system of white shrimp (Litopenaeus vannamei) in postlarva15 (PL15) and adult (10-15 g. body weight) The crude extract (with 2.52 % w/w of asiaticoside) was added in feed at the concentrations of 0, 1, 5, and 10 g/kg feed. The experiment was separated into two parts. The first part was to evaluate the survival rate of shrimp fed with experimental diet for 15 and 30 days after three minutes exposure to Vibrio vulnificus at the concentrations of 1.19x10[superscript 16] CFU/ml (day 15) and 5.4x10[superscript 21] CFU/ml (day 30). Shrimp fed with Asiatic pennywort at the concentration of 5 g/kg in the diet had significantly highest survival rate compare to the shrimp fed with the extract at 0, 1 and 10 g/kg diet (P<0.05). In the second experiment, the effect of Asiatic pennywort on the immune system of adult shrimp was studied. There was no significant difference of the totalhaemocyte count, phenoloxidase activity, bactericidal activity and clearance ability of bacteria in all groups of diet (P>0.05). In conclusion, the crude extract of Asiatic pennywort at the concentration of 5 g per 1 kg feed could be benefit to control Vibrio vulnificus infection in postlarva stage of shrimp, while there was no significant difference among immune parameters in the adult shrimp.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โรคสัตว์น้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2581
ISBN: 9741766068
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanna.pdf730.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.